พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,471 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7904/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการรอการลงโทษสำหรับเจ้าพนักงานที่กระทำผิด
ตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 15 นั้น ปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548 ได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการสื่อสารแห่งประเทศไทยฯ ออกมาใช้บังคับโดยบัญญัติให้ พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยฯ เป็นอันยกเลิกตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2546 เป็นต้นไปและกำหนดให้นำ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจฯ มาใช้บังคับแทน การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพ.ร.บ. ดังกล่าวซึ่งถูกยกเลิกไปถือเท่ากับฟ้องของโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7676/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลบหนีไม่ใช่เจตนาฆ่า: ศาลฎีกายกฟ้องฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน แม้มีการเร่งรถเข้าใกล้
แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายทั้งสองและจ่าสิบตำรวจ ส. เบิกความยืนยันว่า เมื่อผู้เสียหายที่ 2 เปิดสัญญากระบองไฟส่งสัญญาณให้จำเลยหยุดรถแต่จำเลยซึ่งชะลอความเร็วรถลงกลับเร่งความเร็วพุ่งเข้าชนผู้เสียหายทั้งสองก็ตาม แต่ขณะที่จำเลยเร่งความเร็วรถพุ่งเข้าชนผู้เสียหายทั้งสองนั้น รถจำเลยอยู่ห่างผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 5 เมตร ซึ่งในระยะดังกล่าวถือได้ว่าเป็นระยะกระชั้นชิดและการเร่งความเร็วรถเพื่อพุ่งเข้าชนก็เป็นไปโดยกะทันหัน จึงไม่เชื่อว่าผู้เสียหายทั้งสองจะทันระมัดระวังและกระโดดหลบได้ทัน โดยเฉพาะผู้เสียหายที่ 1 ยิ่งไม่น่าจะกระโดดหลบหนีได้เลย เพราะขณะนั้นผู้เสียหายที่ 1 ยืนอยู่ติดกับรถยนต์กระบะที่เจ้าพนักงานตำรวจจอดอยู่ ไม่มีพื้นที่เหลือพอที่จะกระโดดหลบหนีไปได้และรถยนต์ของจำเลยย่อมจะพุ่งเข้าชนหรือเฉี่ยวชนรถยนต์กระบะด้วย ไม่น่าจะหักหลบรถยนต์กระบะไปได้ทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยมีสิ่งของผิดกฎหมายซุกซ่อนอยู่ในรถ ตามพฤติการณ์และการกระทำดังกล่าวเชื่อว่าจำเลยเพียงแต่มีเจตนาที่จะหลบหนีให้พ้นการตรวจค้นและจับกุมของผู้เสียหายทั้งสองกับพวกเท่านั้นหาได้มีเจตนาฆ่าไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานแสดงตนเท็จกระทำอนาจารโดยใช้กำลังข่มขู่ผู้เสียหาย
การที่ผู้เสียหายทั้งสามยอมให้จำเลยกระทำก็เพราะหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจกระทำได้ เกิดจากความเบาปัญญา อ่อนต่อโลกของผู้เสียหาย มิได้เกิดจากความสมัครใจและอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ การที่จำเลยจับและลูบบริเวณแขน หัวไหล่ เต้านม และหน้าท้องของผู้เสียหายทั้งสามเป็นการใช้แรงกายภาพต่อผู้เสียหายทั้งสาม ถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย
การที่จำเลยกระทำอนาจารต่อผู้เสียหาย ขณะผู้เสียหายอยู่ด้วยกันในรถกระบะของจำเลยในลักษณะเปิดเผยถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล
จำเลยแสดงตนโดยบอกแก่ผู้เสียหายทั้งสามซึ่งเป็นนักเรียนว่าจำเลยเป็นสารวัตรนักเรียน และจำเลยได้ตรวจร่างกายผู้เสียหายทั้งสามโดยอ้างว่าเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผู้เสียหายทั้งสามติดยาเสพติดให้โทษและผ่านการร่วมเพศมาก่อนหรือไม่ ทั้งให้ผู้เสียหายทั้งสามนั่งรถไปกับจำเลยโดยอ้างว่าจะไปส่งโรงเรียนแล้วกลับพาไปกระทำอนาจาร ซึ่งตำแหน่งสารวัตรนักเรียนเป็นตำแหน่งของเจ้าพนักงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน
การที่จำเลยกระทำอนาจารต่อผู้เสียหาย ขณะผู้เสียหายอยู่ด้วยกันในรถกระบะของจำเลยในลักษณะเปิดเผยถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล
จำเลยแสดงตนโดยบอกแก่ผู้เสียหายทั้งสามซึ่งเป็นนักเรียนว่าจำเลยเป็นสารวัตรนักเรียน และจำเลยได้ตรวจร่างกายผู้เสียหายทั้งสามโดยอ้างว่าเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผู้เสียหายทั้งสามติดยาเสพติดให้โทษและผ่านการร่วมเพศมาก่อนหรือไม่ ทั้งให้ผู้เสียหายทั้งสามนั่งรถไปกับจำเลยโดยอ้างว่าจะไปส่งโรงเรียนแล้วกลับพาไปกระทำอนาจาร ซึ่งตำแหน่งสารวัตรนักเรียนเป็นตำแหน่งของเจ้าพนักงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกรรโชกทรัพย์: การกระทำเป็นกรรมต่างกัน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวก เป็นผู้คุมหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งภายในสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกได้ตั้งด่านตรวจที่ริมถนนทางเข้าสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยขอตรวจค้นรถของผู้เสียหายเป็นความผิดแล้วกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวก พบสุกรบรรทุกมาโดยไม่มีใบอนุญาตก็ขู่เข็ญว่าจะจับกุมผู้เสียหายทั้งสองส่งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อดำเนินคดีและร่วมกันเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายทั้งสองเป็นความผิดฐานกรรโชก โดยความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวก มีเจตนาและกระทำการคนละขั้นตอนกับความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวก จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานในคดีก่อสร้าง จำเป็นต้องมีบทบัญญัติรองรับโดยตรง
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 67 จะต้องเป็นกรณีฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 (1) และคำสั่งห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใด ๆ ของอาคารตามมาตรา 40 (2) ส่วนกรณีตามมาตรา 40 (3) เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานพิจารณาเพื่อที่จะมีคำสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 ต่อไป ภายหลังจากที่เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 (1) ไปแล้ว พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าหากฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานตามมาตรา 41 ที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องแล้วจะต้องได้รับโทษทางอาญาคงบัญญัติเป็นเงื่อนไขไว้ในมาตรา 42 ว่าถ้าเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องตามมาตรา 41 ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้น ซึ่งหากเจ้าของอาคารฝ่าฝืนคำสั่งที่ให้รื้อถอนอาคารนี้โดยมิได้รื้อถอนอาคารภายในกำหนดก็จะมีโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 66 ทวิ ดังนั้น ที่ศาลลงโทษจำเลยฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ขออนุญาตดัดแปลงอาคารให้ถูกต้องตามมาตรา 67 ประกอบมาตรา 40 (3) จึงไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับ เป็นการลงโทษโดยมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมแยกออกจากกัน คือ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของผู้ควบคุมอาคารได้ก่อสร้างดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง, 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าในอาคารที่ก่อสร้างดัดแปลงเป็นความผิดตามมาตรา 40 (2), 67 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างดัดแปลงเป็นความผิดตามมาตรา 42, 66 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ดังนั้น เมื่อความผิดทั้งสามกระทงดังกล่าวเกิดขึ้นต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมแยกออกจากกัน คือ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของผู้ควบคุมอาคารได้ก่อสร้างดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง, 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าในอาคารที่ก่อสร้างดัดแปลงเป็นความผิดตามมาตรา 40 (2), 67 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างดัดแปลงเป็นความผิดตามมาตรา 42, 66 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ดังนั้น เมื่อความผิดทั้งสามกระทงดังกล่าวเกิดขึ้นต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่โดยตรง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริต ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ เมื่อขณะที่จำเลยทั้งสองมาเอารถยนต์แท็กซี่จากโจทก์ไป จำเลยที่ 2 แต่งเครื่องแบบตำรวจเท่านั้น ทั้งตามฎีกาโจกท์ยังยอมรับด้วยว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีอำนาจหน้าที่จะต้องทำแสดงว่าการไปเอารถยนต์แท็กซี่จากโจทก์นั้น มิใช่การกระทำที่เกี่ยวกับหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยรู้ว่ากำลังถูกผู้เสียหายที่ 2 กับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจติดตามจับกุม การที่จำเลยกอดปล้ำต่อสู้และใช้มีดฟันแทงผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 138, 140 และเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติงานตามหน้าที่ด้วย
การเป็นอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) นั้น ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน แต่ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่ต้นขาซ้ายด้านหลังต้องรักษาที่โรงพยาบาล 11 วัน หลังจากนั้นให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านและต้องไปทำแผลทุกวัน ในระหว่างรักษาบาดแผลผู้เสียหายที่ 2 ยังสามารถทำงานได้ตามปกติและต้องไปล้างแผลทุกวัน แสดงว่าผู้เสียหายที่ 2 มิได้ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจไม่ได้ จึงไม่เข้าลักษณะอันตรายสาหัสตาม ป.อ. 297 (8) เพียงแต่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา295 เท่านั้น การที่จำเลยทำร้ายร่ายกายผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 296
การเป็นอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) นั้น ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน แต่ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่ต้นขาซ้ายด้านหลังต้องรักษาที่โรงพยาบาล 11 วัน หลังจากนั้นให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านและต้องไปทำแผลทุกวัน ในระหว่างรักษาบาดแผลผู้เสียหายที่ 2 ยังสามารถทำงานได้ตามปกติและต้องไปล้างแผลทุกวัน แสดงว่าผู้เสียหายที่ 2 มิได้ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจไม่ได้ จึงไม่เข้าลักษณะอันตรายสาหัสตาม ป.อ. 297 (8) เพียงแต่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา295 เท่านั้น การที่จำเลยทำร้ายร่ายกายผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 296
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด, ความผิดของเจ้าพนักงาน, และการสนับสนุนความผิด – การพิพากษาโทษและขอบเขตความรับผิด
ความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.มาตราการในการปราบปรามผุ้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ที่ปรากฏตามหมายเหตุท้าย พ.ร.บ. นี้ว่า เพื่อให้การปราบปรามผู้กระทำความผิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการปราบปรามผู้กระทำความผิดตามกฎหมายดังกล่าวนั้นโดยเฉพาะมาตราส่วนโทษสำหรับผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นการเพิ่มในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลตามมาตรา 10 เป็นมาตรการที่จะกำราบปราบปรามผู้กระทำผิดที่มีหน้าที่ต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นในสังคม จากความมุ่งหมายดังกล่าว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะอยู่ในระหว่างพักราชการแต่จำเลยที่ 2 ก็ยังมีฐานะเป็นราชการ จึงยังเป็นบุคคลตามมาตรา 10 ที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานอัยการดำเนินคดีแทนเจ้าพนักงานต้องมีการแต่งตั้งทนายความถูกต้องตามกฎหมาย
ในการดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล หรือในการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาแทนเจ้าพนักงานผู้ซึ่งถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งพนักงานอัยการรับแก้ต่างตาม พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) (3) พนักงานอัยการมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการตั้งทนายความให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ, เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และทุจริตต่อหน้าที่เพื่อประโยชน์ตนเอง
การที่จำเลยนำสมุดบันทึกการประชุมในวันที่ 15 และ 19 สิงหาคม 2538 ไปให้ จ. และ ส. ลงลายมือชื่อในบันทึกการประชุม ทั้งที่ไม่ได้มีการประชุม และบันทึกรายงานการประชุมดังกล่าวระบุว่า ร. เป็นผู้จดรายงานการประชุมการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ร. ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมแต่มีชื่อเข้าร่วมประชุมและประชาชนทั่วไปในตำบลท่าเรือ ทั้งเอกสารที่ทำปลอมขึ้นนั้นเป็นบันทึกรายงานการประชุมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในราชการส่วนท้องถิ่น จึงเป็นการปลอมเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 265 เมื่อจำเลยซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือมีหน้าที่ขออนุมัติข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2538 จากสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือเพื่อนำเสนอนายอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชอนุมัติ จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้นตาม ป.อ. มาตรา 161 และการที่จำเลยลงลายมือชื่อรับรองสำเนารายงานการประชุมทั้งสองครั้งดังกล่าวในสำเนาข้อบังคับเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2538 ว่ามีการประชุมจริง จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเอกสารรับรองเป็นหลักฐานว่าการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 162 (1) และจำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ และประชาชนในตำบลท่าเรือ โดยการนำงบประมาณมาจัดประมูลให้ผู้รับเหมาทำงานตามที่ตนเองต้องการ อันเป็นการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 157
จำเลยปลอมบันทึกการประชุม 2 ฉบับ อันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ เจ้าพนักงานปลอมเอกสาร ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก็เพื่อให้นายอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชอนุมัติข้อบังคับเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2538 ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
จำเลยปลอมบันทึกการประชุม 2 ฉบับ อันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ เจ้าพนักงานปลอมเอกสาร ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก็เพื่อให้นายอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชอนุมัติข้อบังคับเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2538 ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท