พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจ 191: อำนาจสืบสวนคดีอาญา แม้เป็นผู้รับแจ้งเหตุ
การที่เจ้าพนักงานตำรวจ 191 มีหน้าที่รับโทรศัพท์เป็นหน้าที่เฉพาะตามที่ทางราชการแต่งตั้งให้ปฏิบัติ แต่โดยทั่วไปแล้วเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 การที่จำเลยโทรศัพท์แจ้งเจ้าพนักงานตำรวจ 191 ว่ามีการวางระเบิดที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ และสถานที่อื่นอีกหลายแห่ง โดยรู้อยู่ว่ามิได้มีการกระทำความผิดอาญา จึงเป็นการแจ้งความแก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลบหนี vs. พยายามฆ่า: การกระทำที่ส่อแสดงถึงการขัดขวางเจ้าพนักงาน
จำเลยขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ผู้เสียหายจึงเรียกให้จอดรถข้างทางเพื่อจับกุม ขณะผู้เสียหายยืนอยู่บริเวณไฟเลี้ยวด้านขวาห่างจากรถประมาณ 1 ศอก และหันหน้าเฉียงเข้าหารถเพื่อจดหมายเลขทะเบียนรถได้ยินเสียงเร่งเครื่องยนต์และจำเลยขับรถเคลื่อนมาข้างหน้า ผู้เสียหายจึงกระโดดขึ้นไปบนฝากระโปรงหน้ารถและจับยึดที่ปัดน้ำฝนไว้ จำเลยขับรถแล่นออกไป ส่อแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยกระทำก็เพื่อจะหลบหนีผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจไม่ให้จับกุม หากจำเลยมีเจตนาฆ่าคงกระทำโดยการขับรถเบียดกระแทกหรือพุ่งเข้าชนผู้เสียหายทันทีในขณะผู้เสียหายกำลังก้มจดหมายเลขทะเบียนรถ อันเป็นช่วงโอกาสที่จำเลยจะกระทำเช่นนั้นได้เพราะเป็นระยะใกล้ชิดกันและผู้เสียหายไม่ทันได้ระวังตัว หลังจากที่ผู้เสียหายกระโดดขึ้นไปอยู่บนฝากระโปรงรถและจำเลยยังคงขับแล่นต่อไปรวมเป็นระยะทางประมาณ 6 ถึง 7 กิโลเมตร เป็นเหตุการณ์ที่ใกล้ชิดต่อเนื่องจากเหตุการณ์ตอนแรก จึงน่าเชื่อว่าจำเลยขับรถไม่เร็วมากนัก พฤติการณ์เป็นไปได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะหลบหนีให้พ้นการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจเพียงอย่างเดียว ยังไม่ถึงขั้นพยายามฆ่าเจ้าพนักงานโดยเล็งเห็นผล คดีคงฟังได้เพียงว่าจำเลยมีความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจรับเงินค่าปรับแทนศาลแล้วไม่นำชำระ เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาและจำเลยไม่มีหน้าที่รับเงินค่าปรับจากจำเลยมาชำระต่อศาล การที่ผู้ถูกกล่าวหารับเงินค่าปรับจากจำเลยแทนศาล เป็นการไม่ถูกต้องตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาไม่นำเงินไปชำระต่อศาลไม่ว่าจะทุจริตหรือไม่ เมื่อเป็นเหตุให้ศาลไม่ได้รับค่าปรับ ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและไม่มีการส่งตัว ส. จำเลยไปกักขังแทนค่าปรับที่สถานีตำรวจ จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1)
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. จำเลยไปกักขังที่สถานีตำรวจ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้นแต่มิได้เอาหมายกักขังไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลจึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. จำเลยไปกักขังที่สถานีตำรวจ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้นแต่มิได้เอาหมายกักขังไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลจึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจรับเงินค่าปรับแทนศาลและละเลยการส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยละเมิดอำนาจศาล
การที่ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาและจำเลยไม่มีหน้าที่รับเงินค่าปรับจากจำเลยมาชำระต่อศาล แต่มารับเงินค่าปรับจากจำเลยเองแทนศาลเช่นนี้ เป็นการไม่ถูกต้องตามระเบียบวิธีปฏิบัติ และจะเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้โดยง่าย เมื่อผู้ถูกกล่าวหาไม่นำเงินไปชำระต่อศาลเป็นเหตุให้ศาลไม่ได้รับค่าปรับไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและไม่มีการส่งตัว ส. ไปกักขังแทนค่าปรับที่สถานีตำรวจฯ จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) และการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อราชการและศาลชั้นต้น จึงไม่รอการลงโทษ
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. ไปกักขังที่สถานีตำรวจฯ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังดังกล่าวมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้น แต่มิได้เอาหมายกักขังดังกล่าวไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป การกระทำของผู้ถูกกล่าวหากรณี ป. ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. ไปกักขังที่สถานีตำรวจฯ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังดังกล่าวมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้น แต่มิได้เอาหมายกักขังดังกล่าวไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป การกระทำของผู้ถูกกล่าวหากรณี ป. ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนใจเรียกเงินโดยอ้างเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ไม่เข้าข่ายความผิด ม.337 หากไม่มีการขู่เข็ญหรือใช้กำลัง
วันเกิดเหตุขณะผู้เสียหายกำลังจัดของอยู่กลางร้าน จำเลยทั้งสี่เข้ามาในร้านผู้เสียหายถามว่ามาซื้ออะไร จำเลยที่ 1 บอกว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมาดูแลความเรียบร้อยในร้าน ต้องการเงิน 5,000 บาท เป็นค่าดูแล ผู้เสียหายรู้สึกไม่ปลอดภัยจึงเดินไปหลังร้านโทรศัพท์ไปที่สถานีตำรวจแต่ไม่ติด เมื่อเดินออกมาหน้าร้านก็เห็นจำเลยทั้งสี่เดินขึ้นรถยนต์กระบะไป จะเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 เพียงแต่อ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและพูดขอเงินเป็นค่าดูแลร้านเท่านั้น ซึ่งผู้เสียหายจะให้หรือไม่ก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้เสียหายหรือบุคคลที่สามแต่อย่างใด และจำเลยทั้งสี่ไม่ได้รอเอาเงินจากผู้เสียหายตามที่พูด คำพูดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกและการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจ: ศาลฎีกาวินิจฉัยการใช้ดุลพินิจโดยสุจริตและการร่วมกระทำความผิด
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุไปที่ห้องที่โจทก์เช่าเพื่อเป็นพยานรู้เห็นในการที่จำเลยที่ 1 ขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ไปฝากเก็บไว้ที่สถานีตำรวจท้องที่ อันเป็นการใช้ดุลพินิจโดยสุจริตในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน โดยสำคัญผิดคิดว่ามีอำนาจที่จะกระทำได้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีเจตนากระทำความผิดฐานบุกรุกโดยร่วมกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามมาตรา 362 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติการของเจ้าพนักงานตำรวจต้องแสดงตัวชัดเจน การต่อสู้ขัดขวางจึงจะผิด
สิบตำรวจตรี ย. และสิบตำรวจตรี ส. ไม่ได้แสดงหลักฐานหรือบอกกล่าวแก่จำเลยขณะจะเข้าตรวจค้นว่าตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจกระทำการตามหน้าที่ และมิได้แต่งเครื่องแบบตำรวจ เมื่อจำเลยไม่มีทางรู้ได้ว่าสิบตำรวจตรี ย. และ
สิบตำรวจตรี ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะปฏิบัติตามหน้าที่ พฤติการณ์ที่มีชายแปลกหน้า 2 คน เดินตรงเข้าหาจำเลยขณะจำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าจอดที่หน้าร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ จึงอาจทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าจะเข้ามาทำร้าย และเมื่อจำเลยวิ่งหนี ชายดังกล่าวก็วิ่งไล่หมายจับกุมเช่นนี้ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางไม่ให้จับกุม จำเลยก็หามีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่
ข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่า พยานโจทก์เบิกความไว้ชัดเจนว่า ขณะวิ่งไล่จับกุมจำเลยเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นตามคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ย. ตอบพนักงานอัยการผู้แทนโจทก์ถามติง แต่ในชั้นพยานเบิกความตอบคำถามซักและคำถามค้าน หาปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 118 ซึ่งต้องนำมาใช้กับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติว่า ในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะถามติงพยาน ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นใช้คำถามอื่นใดนอกจากคำถามที่เกี่ยวกับคำพยานเบิกความตอบคำถามค้าน ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจยกเอาคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ย. ที่ว่าได้แจ้งให้จำเลยทราบว่า พยานเป็นเจ้าพนักงานตำรวจแล้วมาเป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ได้
สิบตำรวจตรี ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะปฏิบัติตามหน้าที่ พฤติการณ์ที่มีชายแปลกหน้า 2 คน เดินตรงเข้าหาจำเลยขณะจำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าจอดที่หน้าร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ จึงอาจทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าจะเข้ามาทำร้าย และเมื่อจำเลยวิ่งหนี ชายดังกล่าวก็วิ่งไล่หมายจับกุมเช่นนี้ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางไม่ให้จับกุม จำเลยก็หามีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่
ข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่า พยานโจทก์เบิกความไว้ชัดเจนว่า ขณะวิ่งไล่จับกุมจำเลยเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นตามคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ย. ตอบพนักงานอัยการผู้แทนโจทก์ถามติง แต่ในชั้นพยานเบิกความตอบคำถามซักและคำถามค้าน หาปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 118 ซึ่งต้องนำมาใช้กับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติว่า ในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะถามติงพยาน ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นใช้คำถามอื่นใดนอกจากคำถามที่เกี่ยวกับคำพยานเบิกความตอบคำถามค้าน ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจยกเอาคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ย. ที่ว่าได้แจ้งให้จำเลยทราบว่า พยานเป็นเจ้าพนักงานตำรวจแล้วมาเป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6782/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสมณเพศโดยเจ้าพนักงานตำรวจและการขาดเจตนาในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ มาตรา 29 การสละสมณเพศเพราะถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญามีได้ 3 กรณี คือ เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและเจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดไม่รับมอบตัวไว้ควบคุมพนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้กรณีหนึ่งหรือเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและไม่เห็นสมควรให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้กรณีหนึ่ง หรือเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราวและพระภิกษุรูปนั้นมิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่งหรือเป็นพระจรจัด พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้สละสมณเพศได้อีกกรณีหนึ่ง ในคดีก่อนที่จำเลยถูกจับกุมในข้อหามีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไว้ในครอบครอง พนักงานสอบสวนไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว และพาจำเลยไปที่วัด บ. เพื่อให้จำเลยสึกแต่จำเลยไม่ยอมสึก และเจ้าอาวาสวัด บ. ก็ไม่ยอมสึกให้ พนักงานสอบสวนจึงพาจำเลยกลับไปที่สถานีตำรวจและจัดให้จำเลยลาสิกขาบทต่อหน้าพระพุทธรูปที่อยู่บนสถานีตำรวจ ดังนี้ จำเลยย่อมเข้าใจได้ว่าจำเลยยังไม่ขาดจากความเป็นพระภิกษุเนื่องจากจำเลยไม่สมัครใจลาสิกขาบทและการดำเนินการให้จำเลยสละสมณเพศกระทำโดยพลการของเจ้าพนักงานตำรวจ เมื่อจำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่อพ้นจากการคุมขังโดยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้ว ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5824/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายผู้ถูกควบคุม ถือเป็นการละเมิดต่อรัฐ
การที่เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจ ต้องถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ, การหน่วงเหนี่ยวกักขัง, กรรโชกทรัพย์, และขอบเขตการลงโทษ
คดีอาญา แม้ผู้เสียหายไม่ได้มาเบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยก็ตาม แต่ศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายตอบคำถามโจทก์มาประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และรับฟังลงโทษจำเลยได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเป็นเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่ทำให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่หลุดพ้นความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีหน้าที่จับผู้กระทำผิดกฎหมายวันเกิดเหตุจำเลยกลั่นแกล้งจับผู้เสียหายแล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ปล่อยผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังกับกรรโชกผู้เสียหาย และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายโดยใส่กุญแจมือเป็นเหตุให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่า ได้ให้ผู้เสียหายกระทำการใดให้แก่จำเลยกับพวกหรือบุคคลอื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 310 ทวิ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุมาตราดังกล่าวมาด้วย ก็ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษตามบทมาตรา 310 ทวิ นี้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหารวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหาเพียงกระทงเดียวการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลย รวม 2 กระทง เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเป็นเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่ทำให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่หลุดพ้นความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีหน้าที่จับผู้กระทำผิดกฎหมายวันเกิดเหตุจำเลยกลั่นแกล้งจับผู้เสียหายแล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ปล่อยผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังกับกรรโชกผู้เสียหาย และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายโดยใส่กุญแจมือเป็นเหตุให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่า ได้ให้ผู้เสียหายกระทำการใดให้แก่จำเลยกับพวกหรือบุคคลอื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 310 ทวิ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุมาตราดังกล่าวมาด้วย ก็ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษตามบทมาตรา 310 ทวิ นี้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหารวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหาเพียงกระทงเดียวการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลย รวม 2 กระทง เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225