พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5666/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตอนุญาตขุดดินสาธารณะเอื้อประโยชน์ผู้รับเหมา เบิกจ่ายเงินโดยมิชอบ
จำเลยเป็นกำนันและประธานกรรมการสภาตำบลท้องที่ มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินของทางราชการที่เกิดจากโครงการสร้างงานในชนบท ได้อนุญาตให้ ช. ผู้รับเหมาทำถนนดินในตำบลท้องที่ขุดดินจากถนนเดิมซึ่งเป็นถนนที่สภาตำบลสร้างขึ้นตามโครงการสร้างงานในชนบทปีก่อน ๆ และอยู่ในความดูแลของสภาตำบลที่จำเลยเป็นประธานกรรมการไปถมทำถนนใหม่ และปล่อยให้ ช. ขุดดินจากข้างถนนเดิมขึ้นมาถมแทนดินที่ขุดไป ทำให้ ช. ไม่ต้องซื้อที่ดินจากที่อื่นมาถมถนนเดิมที่ขอยืมดินไปตามสัญญา แล้วจำเลยกลับเบิกจ่ายเงินค่าทำถนนให้ ช. ไปจนครบจำนวน จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และความผิดฐานสนับสนุนความผิดนั้น ศาลใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
การกระทำของจำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี 6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี 6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานทุจริต - การใช้บทกฎหมายเฉพาะ (มาตรา 147) ย่อมตัดบททั่วไป (มาตรา 157) และผลของการใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
การกระทำของจำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับ ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับ ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่, ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่, ปลอมแปลงเอกสารเพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิด
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าพนักงาน(ผู้ใหญ่บ้านกำนัน) ร่วมกันละเว้นไม่นำปืน(ของกลาง) มีทะเบียนของผู้อื่นที่ตกอยู่กับคนร้ายซึ่งถูกเจ้าทรัพย์กับพวกยิงตายส่งพนักงานสอบสวนตามหน้าที่ โดยทุจริต ก็เป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แล้ว ส่วนที่ยังร่วมกันกล่าวว่าเจ้าของปืนกระทำผิดส่งปืนนั้นให้คนร้ายให้เจ้าของปืนหาเงินมามอบให้จำเลยและจำเลยยังได้ขูดลบเลขทะเบียนปืนเดิมออก ตอกเลขใหม่ โดยว่าเพื่อจะช่วยมิให้พนักงานสอบสวนรู้ว่าปืนของกลางเป็นของเจ้าของปืน โดยความจริงจำเลยก็รู้อยู่ว่าเจ้าของปืนมิได้กระทำผิดในเรื่องคนร้ายเอาอาวุธปืนไปเลยนั้น การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เพื่อจะช่วยเจ้าของปืนมิได้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลงด้วย จึงคงเป็นผิดตามมาตรา 148 และมาตรา 265 อีกเท่านั้น และไม่เป็นผิดตามมาตรา 18+ และมาตรา+
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตออกใบสั่งจ่ายเกินจำนวนจริง และยักยอกทรัพย์ของรัฐ
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสังกัดกรมการสัตว์ทหารลก จำเลยที่ 1 เป็นผู้แก้เลขจำนวนของ(ผ้าสีกาดีนวล) ในต้นขั้วใบสั่งจ่าย (จาก 107 ผืนเป็น 307 ผืน) และจำเลยที่ 1 ได้ยักยอกผ้ากากีนวลปุนอนที่เจ้าหน้าที่กองคลังจ่ายเกิน(200 ฝืนตามจำนวนที่แก้) จากฎีกาที่ตั้งเบิกไปนั้นเสีย ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและจดบัญชีสิ่งของ( แอ๊กมี่ 2) กับเขียนต้นขั้วใบสั่งจ่ายของ ใบนำออกและใบสั่งจ่ายเป็นเงิน 5,176 บาทอันเป็นราคาของผ้าจำนวน 307 ผืนตั้งแต่แรก และเมื่อลงบัญชีแอ๊กมี่ 2 จำเลยที่ 3 ยังเอาความเท็จมาแทงจำหน่ายว่าได้จ่ายผ้าให้กรมการสัตว์ทหารบกไป 307 ผืนราคา 5,176 บาทให้ตรงกันอีกโดยไม่มีข้อแก้ตัวดังนี้จำเลยที่ 3 ได้ชื่อว่าสมคบจำเลยที่ 1 กระทำความผิด
อนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 3 รู้อยู่ว่าฎีกา(ที่ 2/2495) ของกรมการสัตว์ทหารบกได้รับอนุญาตให้เบิกผ้าสีกากีนวลปูนอนได้เพียง 107 ผืน แต่จำเลยที่ 3 กลับนำความซึ่งรู้อยู่ว่าเท็จมาจดลงในใบสั่งจ่ายของและบัญชีแอ๊กมี่ 2 ว่าได้จ่ายผ้าสีกากีนวลปูนอนให้กรมการสัตว์ทหารบก 307 ผืนเช่นนี้จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดตามมาตรา 230 ไม่ใช่ตามมาตรา 133 เพราะจำเลยที่ 3 ไม่ใช่เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด ๆ แล้วไปกระทำการเกี่ยวข้อหาผลประโยชน์หรือกำไรโดยเอาส่วนลดและกำไรในการซื้อขายหรือเข้าหุ้นส่วนกับผู้ซื้อ และไม่ใช่ตามมาตรา 317 ที่โจทก์อ้าง
ความผิดของจำเลยที่ 3 คาน ม.230 นั้นมิใช่ทำต่อทรัพย์ของรัฐบาลที่จำเลยที่ 1 เอาไป จึงไม่ต้องด้วย ม.89 พ.ร.บ.พระธรรมนูญศาลทหาร 2477 ดังนี้ศาลก็ไม่บังคับให้จำเลยที่ 3 ใช้ราคาทรัพย์ตามที่โจทก์ขอ
อนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 3 รู้อยู่ว่าฎีกา(ที่ 2/2495) ของกรมการสัตว์ทหารบกได้รับอนุญาตให้เบิกผ้าสีกากีนวลปูนอนได้เพียง 107 ผืน แต่จำเลยที่ 3 กลับนำความซึ่งรู้อยู่ว่าเท็จมาจดลงในใบสั่งจ่ายของและบัญชีแอ๊กมี่ 2 ว่าได้จ่ายผ้าสีกากีนวลปูนอนให้กรมการสัตว์ทหารบก 307 ผืนเช่นนี้จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดตามมาตรา 230 ไม่ใช่ตามมาตรา 133 เพราะจำเลยที่ 3 ไม่ใช่เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด ๆ แล้วไปกระทำการเกี่ยวข้อหาผลประโยชน์หรือกำไรโดยเอาส่วนลดและกำไรในการซื้อขายหรือเข้าหุ้นส่วนกับผู้ซื้อ และไม่ใช่ตามมาตรา 317 ที่โจทก์อ้าง
ความผิดของจำเลยที่ 3 คาน ม.230 นั้นมิใช่ทำต่อทรัพย์ของรัฐบาลที่จำเลยที่ 1 เอาไป จึงไม่ต้องด้วย ม.89 พ.ร.บ.พระธรรมนูญศาลทหาร 2477 ดังนี้ศาลก็ไม่บังคับให้จำเลยที่ 3 ใช้ราคาทรัพย์ตามที่โจทก์ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริต, ยักยอกทรัพย์, จดทะเบียนเท็จ: ความผิดตามมาตรา 230 และการสมคบกระทำผิด
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสังกัดกรมการสัตว์ทหารบก จำเลยที่ 1 เป็นผู้แก้เลขจำนวนของ(ผ้าสีกากีนวล) ในต้นขั้วใบสั่งจ่าย(จาก 107 ผืนเป็น 307 ผืน) และจำเลยที่ 1 ได้ยักยอกผ้ากากีนวลปูนอนที่เจ้าหน้าที่กองคลังจ่ายเกิน (200 ผืนตามจำนวนที่แก้) จากฎีกาที่ตั้งเบิกไปนั้นเสีย ดังนี้เมื่อจำเลยที่3 ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและจดบัญชีสิ่งของ(แอ๊กมี่2) กับเขียนต้นขั้วใบสั่งจ่ายใบสั่งจ่ายของ ใบนำออกและใบแจ้งจำนวนได้คิดราคาผ้าใส่ไว้ในต้นขั้วใบสั่งจ่ายและใบสั่งจ่ายเป็นเงิน 5076 บาทอันเป็นราคาของผ้าจำนวน 307 ผืนตั้งแต่แรก และเมื่อลงบัญชีแอ๊กมี่2จำเลยที่ 3 ยังเอาความเท็จมาแทงจำหน่ายว่าได้จ่ายผ้าให้กรมการสัตว์ทหารบกไป 307 ผืนราคา 5,176 บาท ให้ตรงกันอีกโดยไม่มีข้อแก้ตัว ดังนี้จำเลยที่ 3 ได้ชื่อว่าสมคบกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด
อนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 3 รู้อยู่ว่าฎีกา (ที่2/2495) ของกรมการสัตว์ทหารบกได้รับอนุญาตให้เบิกผ้าสีกากีนวลปูนอนได้เพียง 107 ผืน แต่จำเลยที่ 3 กลับนำความซึ่งรู้อยู่ว่าเท็จมาจดลงในใบสั่งจ่ายของและบัญชีแอ๊กมี่2ว่าได้จ่ายผ้าสีกากีนวลปูนอนให้กรมการสัตว์ทหารบก 307 ผืนเช่นนี้ จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดตามมาตรา 230 ไม่ใช่ตามมาตรา 133 เพราะจำเลยที่ 3 ไม่ใช่เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดๆ แล้วไปกระทำการเกี่ยวข้องหาผลประโยชน์หรือกำไรโดยเอาส่วนลดและกำไรในการซื้อขายหรือเข้าหุ้นส่วนกันซื้อ และไม่ใช่ตามมาตรา 317 ที่โจทก์อ้าง
ความผิดของจำเลยที่ 3 ตามมาตรา 230 นั้นมิใช่ทำต่อทรัพย์ของรัฐบาลที่จำเลยที่ 1 เอาไป จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 89 พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร 2477 ดังนี้ศาลก็ไม่บังคับให้จำเลยที่ 3 ใช้ราคาทรัพย์ตามที่โจทก์ขอ
อนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 3 รู้อยู่ว่าฎีกา (ที่2/2495) ของกรมการสัตว์ทหารบกได้รับอนุญาตให้เบิกผ้าสีกากีนวลปูนอนได้เพียง 107 ผืน แต่จำเลยที่ 3 กลับนำความซึ่งรู้อยู่ว่าเท็จมาจดลงในใบสั่งจ่ายของและบัญชีแอ๊กมี่2ว่าได้จ่ายผ้าสีกากีนวลปูนอนให้กรมการสัตว์ทหารบก 307 ผืนเช่นนี้ จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดตามมาตรา 230 ไม่ใช่ตามมาตรา 133 เพราะจำเลยที่ 3 ไม่ใช่เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดๆ แล้วไปกระทำการเกี่ยวข้องหาผลประโยชน์หรือกำไรโดยเอาส่วนลดและกำไรในการซื้อขายหรือเข้าหุ้นส่วนกันซื้อ และไม่ใช่ตามมาตรา 317 ที่โจทก์อ้าง
ความผิดของจำเลยที่ 3 ตามมาตรา 230 นั้นมิใช่ทำต่อทรัพย์ของรัฐบาลที่จำเลยที่ 1 เอาไป จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 89 พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร 2477 ดังนี้ศาลก็ไม่บังคับให้จำเลยที่ 3 ใช้ราคาทรัพย์ตามที่โจทก์ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8823/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานใช้อำนาจโดยทุจริต และมีส่วนได้เสียในหน้าที่ โครงการสาธิตในที่ดินภริยา
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 152 ไม่มีองค์ประกอบของความผิดหรือมูลเหตุชักจูงใจว่า อันเป็นการเสียหายแก่รัฐหรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกส้มเขียวหวานปลอดโรค "การจัดทำแปลงสาธิตระบบการให้น้ำเหนือผิวดิน" โดยดำเนินการตามขั้นตอนของทางราชการตั้งแต่เริ่มจนแล้วเสร็จ ไม่ปรากฏว่ามีขั้นตอนใดที่กระทำโดยฝ่าฝืนระเบียบหรือมีระเบียบห้ามไว้ ในขั้นตอนของการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการตรวจรับและการติดตั้งก็ไม่ปรากฏว่ามีการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกิดขึ้น แต่พื้นที่แปลงสาธิตเป็นของ ส. ภริยาของจำเลย แม้การจัดหาที่ดินแปลงสาธิตจะเป็นดังที่จำเลยอ้างว่าเกษตรอำเภอแม่วงก์เป็นผู้จัดหาที่ดินและเกษตรกรได้รับประโยชน์จากแปลงสาธิตก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบของตนได้ เพราะเกิดมีความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผู้มีตำแหน่งหน้าที่และมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิด การนำที่ดินของ ส. มาดำเนินการโดยมีการนำวัสดุอุปกรณ์และกิ่งพันธุ์ส้มเขียวหวานปลอดโรคมาลงในที่ดิน ที่ดินของ ส. ย่อมได้รับประโยชน์อยู่ในตัวโดยปริยาย เมื่อจำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กำกับดูแลกิจการโครงการดังกล่าว ถือว่าจำเลยเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับภริยาตนเนื่องด้วยกิจการนั้น จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 152
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20586-20591/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสนับสนุนเจ้าพนักงานทุจริต: เหตุเกิดก่อน พ.ร.บ. ป.ป.ช. และจำเลยไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ
แม้จำเลยจะเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต แต่จำเลยก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อีกทั้งคดีนี้เกิดก่อนที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ใช้บังคับ แม้พนักงานสอบสวนจะพบการกระทำความผิดและแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแก่จำเลย หลังจากที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ใช้บังคับแล้ว และพนักงานสอบสวนมิได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษก็ตาม ก็หาทำให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนซึ่งมีอำนาจหน้าที่สอบสวนโดยชอบในขณะที่ความผิดเกิดขึ้นต้องเสียไป และมีผลทำให้การสอบสวนดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5234-5238/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของอัยการพิเศษ, การปรับบทลงโทษ, และความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ตาม พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 (2) ระบุว่าในคดีอาญาพนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ตาม ป.วิ.อ. และตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ ประกอบกับการมีคำสั่งมอบหมายของอัยการสูงสุดให้พนักงานอัยการ ซึ่งเป็นพนักงานแห่งท้องที่ตามเขตอำนาจศาลที่รับผิดชอบดำเนินคดีอาญาฟ้องจำเลย หาต้องมอบอำนาจให้กระทำการแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องตัวแทน ดังนั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขและเพิ่มเติมฟ้องในคดีที่จำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 โดยระบุว่า อัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 รับผิดชอบฟ้องคดีและดำเนินคดีแทนอัยการสูงสุด จึงมิใช่เป็นการขอแก้ไขและเพิ่มเติมฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ให้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 163 และ 164 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต