พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยแคชเชียร์เช็คภายใต้เงื่อนไขการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์: สิทธิของเจ้าหนี้บังคับคดี
หลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยแล้วต่อมา ศ.ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่ถูกยึดกับฝ่ายจำเลย โดย ศ.ได้ขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินจากธนาคาร น. และได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว ธนาคาร น.จึงได้ออกแคชเชียร์เช็คจำนวน 6,200,945.44 บาท เพื่อให้ ศ.ใช้ชำระค่าซื้อที่ดิน ต่อมาได้มีการมอบแคชเชียร์เช็คดังกล่าวแก่โจทก์และโจทก์ได้ขอถอนการยึดทรัพย์ที่ดินของฝ่ายจำเลยเพื่อจะได้จดทะเบียนโอนขายแก่ ศ.และจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคาร น.ต่อไป และเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตแล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์ ศ. และธนาคาร น.ตกลงให้โจทก์ถือแคชเชียร์เช็คดังกล่าวไว้เป็นประกันในการที่ยอมถอนการยึดทรัพย์ที่ดินให้เท่านั้น หากต่อมาตกลงซื้อขายกันไม่ได้โจทก์ย่อมคืนแคชเชียร์เช็คให้แก่ธนาคาร น.ได้ การที่ ศ.จะชำระค่าที่ดินโดยแคชเชียร์เช็คดังกล่าวก็เพื่อให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ ศ.ในคราวเดียวภายในวันเดียวกันเพียงแต่ต้องมอบแคชเชียร์เช็คให้โจทก์ก่อน เพื่อให้ขั้นตอนการถอนการยึดทรัพย์ซึ่งต้องกระทำก่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กระทำได้สำเร็จ โดย ศ.มีเจตนาจะชำระเงินค่าที่ดินตามแคชเชียร์เช็คนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นค่าซื้อที่ดินโดยเงื่อนไขว่าต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ศ.ได้ในวันเดียวกันนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ศ.ได้ จำเลยที่ 2 จึงยังไม่มีสิทธิได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คนั้นเป็นการชำระค่าที่ดิน และการมอบแคชเชียร์เช็คให้โจทก์ยึดถือไว้ เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมจะคืนแคชเชียร์เช็คแก่ธนาคาร น. ตามข้อตกลงได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลย และโจทก์มีสิทธิบังคับคดีจำเลยต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองปรปักษ์ vs. เจ้าหนี้ที่บังคับคดี: การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยไม่จดทะเบียนและผลกระทบต่อบุคคลภายนอก
ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสองบัญญัติว่า สิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและยังมิได้จดทะเบียนสิทธิต้องห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้นำยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ โจทก์จึงมิใช่ผู้ที่ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน โดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิแล้วตามความในมาตราดังกล่าว โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินซึ่งมีชื่อ จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม 23 โฉนด เพื่อบังคับตามคำพิพากษาระหว่างบังคับคดี ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ต่อมาผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้อ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 23 โฉนด โดยการครอบครองปรปักษ์เช่นกัน ดังนี้มิใช่เรื่องฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 เพราะคำร้องขัดทรัพย์เป็นเรื่องผู้ร้องพิพาทกับโจทก์และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จะปล่อยทรัพย์ที่ยึดหรือไม่ ส่วนคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลย มิได้ฟ้องโจทก์ด้วยทั้งมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินทั้ง 23 โฉนด เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องหรือไม่ ไม่ชอบที่ศาลจะสั่งงดสืบพยานของผู้ร้องแล้วพิพากษายกคำร้องเสียสมควรฟังข้อเท็จจริงต่อไปให้สิ้นกระแสความก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14884/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งทรัพย์สินจากการหย่าโดยความยินยอมมีผลสมบูรณ์ แม้ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีกระทบสิทธิไม่ได้
ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 หย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ป.พ.พ. มาตรา 1532 (ก) บัญญัติให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า ข้อตกลงตามสำเนาบันทึกด้านหลังทะเบียนการหย่าระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยินยอมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 32498 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 6/82 ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามบทมาตราดังกล่าว มิใช่สัญญาให้ทรัพย์สินอันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 525 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนหย่าให้แล้ว ถือว่าทั้งสองฝ่ายได้จัดการแบ่งทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้ว ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นของผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว การที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนของตนให้แก่ผู้ร้อง มีผลเพียงทำให้การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของผู้ร้องยังไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แต่สิทธิของผู้ร้องตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินที่นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าให้แล้วและผู้ร้องได้ครอบครองทรัพย์เพียงผู้เดียวตลอดมา ทั้งเป็นผู้ชำระหนี้จำนองและไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร ก. ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ผู้ร้องไม่ใช่ผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและโจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งนำยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์เท่านั้น โจทก์มิใช่ผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว โจทก์จึงมิใช่บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ส่วนของจำเลยที่ 1 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับให้กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7293/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน: เจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นที่ยื่นคำร้องได้ เจ้าหนี้บังคับคดีไม่มีสิทธิ
ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สิน ส่วนผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สินคงมีสิทธิขอให้คุ้มครองสิทธิของตนในกรณีที่ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเท่านั้น
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ไว้ก่อนศาลสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน ไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินนั้น เพื่อจะได้ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ตน เพราะเท่ากับเป็นการคืนทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินให้ไปเป็นประโยชน์ในการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มุ่งสกัดมิให้ทรัพย์สินซึ่งมีที่มาไม่ชอบด้วยกฎหมายถูกนำไปใช้อย่างทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สิน ไม่ได้ทรัพย์สินไปเป็นของตนแต่อย่างใด คงมีเพียงสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินนั้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสิทธิที่ตนมีอยู่เดิม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ไว้ก่อนศาลสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน ไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินนั้น เพื่อจะได้ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ตน เพราะเท่ากับเป็นการคืนทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินให้ไปเป็นประโยชน์ในการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มุ่งสกัดมิให้ทรัพย์สินซึ่งมีที่มาไม่ชอบด้วยกฎหมายถูกนำไปใช้อย่างทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สิน ไม่ได้ทรัพย์สินไปเป็นของตนแต่อย่างใด คงมีเพียงสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินนั้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสิทธิที่ตนมีอยู่เดิม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.