พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4671/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินจากการวางประกันต่อศาล
เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 ต้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ คำว่า สิทธิยึดหน่วง หมายถึง สิทธิยึดหน่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ก็ได้..." การที่ลูกหนี้นำห้องชุดมาวางและทำหนังสือประกันไว้ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการอันเป็นศาลยุติธรรมเป็นองค์กรแห่งรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่มีหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการครอบครองทรัพย์สินไว้ให้เจ้าหนี้ เจตนาของลูกหนี้ในการทำหนังสือประกันก็เพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาตามกระบวนการที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่มีข้อความใดในหนังสือประกันที่แสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ทำหนังสือประกันดังกล่าวเพื่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ หนี้ตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการที่เจ้าหนี้นำมายื่นคำขอรับชำระหนี้มีมูลหนี้มาจากสัญญาจ้างทำของที่ลูกหนี้จ้างเจ้าหนี้ผลิตงานโฆษณาโดยทำเป็นวิดีโอเพื่อเผยแพร่ภาพและเสียงทางสถานีโทรทัศน์ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับค่าจ้างตอบแทนเท่านั้น หาใช่เป็นคุณแก่เจ้าหนี้เกี่ยวด้วยห้องชุดที่ลูกหนี้นำมาวางเป็นประกันแต่อย่างใด เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงห้องชุดดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10(2) โดยแสดงการสละหลักประกัน หรือจำนวนหนี้ที่ยังขาดอยู่
ปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันได้บรรยายฟ้องถูกต้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินไว้แก่โจทก์รวม 4 แปลง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องสัญญาจำนองยังไม่ระงับ โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในทางจำนองเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 การฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) คือต้องกล่าวมาในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ล้มละลายแล้วโจทก์จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่สำหรับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อความตามมาตรา 10 (2) ดังกล่าวแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา
จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินไว้แก่โจทก์รวม 4 แปลง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องสัญญาจำนองยังไม่ระงับ โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในทางจำนองเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 การฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) คือต้องกล่าวมาในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ล้มละลายแล้วโจทก์จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่สำหรับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อความตามมาตรา 10 (2) ดังกล่าวแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7539/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันสูญเสียสิทธิจำนองก่อนฟ้อง ทำให้สถานะเจ้าหนี้เปลี่ยนไป
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ผู้รับจำนองที่ดินจำนวน 10 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์ได้ขอศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดไปแล้ว จำนวน 8 แปลง และมีการไถ่ถอนที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยอีกจำนวน 2 แปลง สัญญาจำนองจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 เมื่อโจทก์นำหนี้ดังกล่าวที่ยังค้างชำระมายื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายหลังจากสิทธิตามสัญญาจำนองของโจทก์ระงับสิ้นไปแล้ว โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนองในขณะยื่นฟ้องคดีล้มละลายที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 10 (2) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเลตเตอร์ออฟเครดิต/ทรัสต์รีซีท: ศาลแก้ไขจำนวนเงินชำระตามสิทธิเจ้าหนี้มีประกัน
มูลหนี้ตามฟ้องเป็นเรื่องเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท ไม่ใช่การจัดการงานแทนและทดรองจ่ายเงินแทน เมื่อไม่มีบมบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
สัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ระบุให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดได้เพียงตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และในสัญญาข้อ 4 ระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด แม้สัญญาข้อ 4 จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของโจทก์ ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดเท่านั้น ฉะนั้น กรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดสัญญามีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้เพียงในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศของโจทก์ มิใช่อัตราสูงสุกในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญาเพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดข้อ 3 (4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ระบุให้กรรมสิทธิ์ในสินค้าตกอยู่แก่ธนาคารโจทก์ ก็เพื่อให้โจทก์มีสิทธิอยู่ในฐานเจ้าหนี้มีประกันเหนือสินค้านั้นเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หาได้เป็นการตกลงโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์เพื่อทดแทนการชำระหนี้ไม่ จำเลยที่ จึงยังต้องผูกพันชำระหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท
บริษัท ส. ผู้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิโจทก์โดยมีเอกสารแนบท้ายคำร้องแสดงฐานะของผู้ร้อง ผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องหนังสือโอนกรรมสิทธิ์เรียกร้องระหว่างโจทก์กับผู้ร้อง แม้เอกสารแนบท้ายจะเป็นเพียงภาพถ่ายก็เป็นเพียงภาพถ่ายจากต้นฉบับ และจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารเหล่านี้ จำเลยทั้งสองเพียงแต่โต้แย้งว่า ไม่เคยได้รับแจ้งหรือให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับผู้ร้องเท่านั้น ทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ก็เป็นไปตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตรวจสอบเอกสารท้ายคำร้อง คำแถลงคัดค้านของจำเลยทั้งสองและบทบัญญัติในพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 แล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิโจทก์โดยมิได้ไต่สวนพยานหลักฐานอื่นอีก จึงเป็นการชอบแล้ว
สัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ระบุให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดได้เพียงตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และในสัญญาข้อ 4 ระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด แม้สัญญาข้อ 4 จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของโจทก์ ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดเท่านั้น ฉะนั้น กรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดสัญญามีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้เพียงในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศของโจทก์ มิใช่อัตราสูงสุกในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญาเพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดข้อ 3 (4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ระบุให้กรรมสิทธิ์ในสินค้าตกอยู่แก่ธนาคารโจทก์ ก็เพื่อให้โจทก์มีสิทธิอยู่ในฐานเจ้าหนี้มีประกันเหนือสินค้านั้นเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หาได้เป็นการตกลงโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์เพื่อทดแทนการชำระหนี้ไม่ จำเลยที่ จึงยังต้องผูกพันชำระหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท
บริษัท ส. ผู้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิโจทก์โดยมีเอกสารแนบท้ายคำร้องแสดงฐานะของผู้ร้อง ผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องหนังสือโอนกรรมสิทธิ์เรียกร้องระหว่างโจทก์กับผู้ร้อง แม้เอกสารแนบท้ายจะเป็นเพียงภาพถ่ายก็เป็นเพียงภาพถ่ายจากต้นฉบับ และจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารเหล่านี้ จำเลยทั้งสองเพียงแต่โต้แย้งว่า ไม่เคยได้รับแจ้งหรือให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับผู้ร้องเท่านั้น ทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ก็เป็นไปตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตรวจสอบเอกสารท้ายคำร้อง คำแถลงคัดค้านของจำเลยทั้งสองและบทบัญญัติในพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 แล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิโจทก์โดยมิได้ไต่สวนพยานหลักฐานอื่นอีก จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6517/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขเจ้าหนี้มีประกัน ทำให้ศาลไม่รับฟ้องและไม่อุทธรณ์ได้
คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ไม่รับคำฟ้องโจทก์เนื่องจากเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 10 (2) ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 วรรคสอง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกามาพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลล้มละลายกลางจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง โดยต้องส่งอุทธรณ์และคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณา การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว ไม่มีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดที่จะรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาตามมาตรา 26 วรรคสี่ แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันยื่นขอรับชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข พ.ศ.ร.บ.ล้มละลาย ศาลอุทธรณ์และฎีกามีคำพิพากษายืน
เจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่ไม่ได้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 เพราะตามคำขอรับชำระหนี้ระบุว่าเป็นการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) เมื่อเจ้าหนี้มีประกันใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้ากนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ และมีอำนาจหมายเรียกเจ้าหนี้มาทำการสอบสวนเกี่ยวกับหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ว่าเจ้าหนี้มีประกันและมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่จริงหรือไม่ตามมาตรา 105 เจ้าหนี้จึงมีหน้าที่นำสืบถึงข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8443/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันยื่นคำร้องชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ศาลฎีกาวินิจฉัยชอบตามกฎหมายหากที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่เห็นชอบ
ในคดีล้มละลายนั้นเจ้าหนี้มีประกันจะยื่นคำขอรับชำระหนี้หรือไม่ก็ได้ แต่ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจตราทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ซึ่งตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเท่านั้นมิได้บังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันให้แก่เจ้าหนี้มีประกันเสมอไป ซึ่งการตรวจดูทรัพย์สินตามมาตรา 95 นั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำด้วยการสอบสวนหรือขอมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามคำสั่งของอธิบดีกรมบังคับคดีก็ได้ ถ้าปรากฎว่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันมีราคามากกว่าจำนวนหนี้ ราคาส่วนที่เกินจำนวนหนี้ย่อมเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะรวบรวมจัดการตามมาตรา 22 และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขายตามวิธีการที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตามมาตรา 123 ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการยึดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันออกขายตามคำร้องของเจ้าหนี้ จะสั่งงดดำเนินการและให้เจ้าหนี้ไปดำเนินการตามกฎหมายอื่นไม่ได้ แต่ถ้าปรากฎว่าจำนวนหนี้ท่วมราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันและไม่มีกรณีต้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลหรือกระทำการใดแล้ว ประกอบกับที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน เนื่องจากเห็นว่าจำนวนหนี้ค้างชำระท่วมราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน การบังคับคดีต่อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันไม่มีประโยชน์ต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้แต่อย่างใด ที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งงดดำเนินการต่อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย การประเมินมูลค่าทรัพย์สินหลักประกัน และผลของการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
แผนซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการในอันที่จะถูกปรับลดหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการชำระหนี้ อีกทั้งเมื่อได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนและศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว มีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงซึ่งอาจจะขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ เว้นแต่หนี้ซึ่งเจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการจะได้ขอรับชำระหนี้ไว้แล้วเช่นนี้การยกเลิกการฟื้นฟูกิจการยังคงมีผลให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการโดยชำระหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ไม่ครบถ้วนตามแผนต่อไป คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนจึงมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของเจ้าหนี้โดยตรง ดังนั้น การที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเนื่องจากผู้บริหารแผนได้ดำเนินการตามแผนครบถ้วนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/70 ซึ่งเป็นคำสั่งที่สืบเนื่องจากคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงไม่ทำให้สิทธิในการอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ที่มีอยู่แล้วต้องเสียไป
การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จำนวนเท่าใด อย่างไร ย่อมเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว เช่นนี้เมื่อผู้บริหารแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ผู้บริหารแผนจึงต้องชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายตามคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและแผนฟื้นฟูกิจการนั้นจนกว่าจะครบถ้วน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้แต่ละรายต้องทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่างหากจากข้อกำหนดในแผน ข้อกำหนดดังกล่าวย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีเนื้อหาส่วนใหญ่ทำนองเดียวกับแผนฟื้นฟูกิจการและได้กำหนดรายละเอียดปลีกย่อยบางส่วนเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในอนาคตเท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่ที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลายมีอยู่ต่อกันตามแผนแต่อย่างใดไม่ และเหตุที่แผนกำหนดให้จัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพราะเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ที่เห็นชอบด้วยแผนเห็นว่า จะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหมดที่จะได้เกิดความมั่นใจในภาระผูกพันของลูกหนี้ที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ภายหลังที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว เช่นนี้ ข้อกำหนดเรื่องการจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จึงมิใช่สาระสำคัญของแผนเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย ส่วนที่แผนกำหนดเงื่อนไขบังคับก่อนว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนต่อเมื่อได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วนั้น เงื่อนไขดังกล่าวจึงขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ย่อมตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน แต่เมื่อได้ความว่ามีการปฏิบัติตามแผนครบถ้วนแล้ว จนกระทั่งศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ จึงถือได้ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแผนมิได้ถือเอาเงื่อนไขบังคับก่อนดังกล่าวเป็นข้อสำคัญ แม้ว่าข้อกำหนดในแผนจะตกไปบางส่วนแต่ข้อกำหนดในแผนส่วนที่เหลือก็ใช้บังคับได้ เมื่อเนื้อหาของแผนที่คงเหลืออยู่ยังคงมีสาระสำคัญเพียงพอในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จึงถือว่าแผนมีรายการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/42 ประกอบมาตรา 90/58 วรรคสอง
เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีรายการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/42 ข้อเสนอในการชำระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี และกรณีมติยอมรับแผนเป็นมติพิเศษตามมาตรา 90/46(2) ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนเป็นไปตามลำดับที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130 บัญญัติไว้แล้ว ทั้งเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ประกอบกับการเห็นชอบด้วยแผนจะทำให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินกิจการต่อไปได้ อันเป็นประโยชน์แก่พนักงานของลูกหนี้ เจ้าหนี้ผู้ถือหุ้น ตลอดจนประชาชนทั่วไป และเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยส่วนรวม อีกทั้งเป็นการรักษาองค์กรทางธุรกิจไว้ด้วยคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จำนวนเท่าใด อย่างไร ย่อมเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว เช่นนี้เมื่อผู้บริหารแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ผู้บริหารแผนจึงต้องชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายตามคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและแผนฟื้นฟูกิจการนั้นจนกว่าจะครบถ้วน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้แต่ละรายต้องทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่างหากจากข้อกำหนดในแผน ข้อกำหนดดังกล่าวย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีเนื้อหาส่วนใหญ่ทำนองเดียวกับแผนฟื้นฟูกิจการและได้กำหนดรายละเอียดปลีกย่อยบางส่วนเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในอนาคตเท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่ที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลายมีอยู่ต่อกันตามแผนแต่อย่างใดไม่ และเหตุที่แผนกำหนดให้จัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพราะเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ที่เห็นชอบด้วยแผนเห็นว่า จะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหมดที่จะได้เกิดความมั่นใจในภาระผูกพันของลูกหนี้ที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ภายหลังที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว เช่นนี้ ข้อกำหนดเรื่องการจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จึงมิใช่สาระสำคัญของแผนเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย ส่วนที่แผนกำหนดเงื่อนไขบังคับก่อนว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนต่อเมื่อได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วนั้น เงื่อนไขดังกล่าวจึงขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ย่อมตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน แต่เมื่อได้ความว่ามีการปฏิบัติตามแผนครบถ้วนแล้ว จนกระทั่งศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ จึงถือได้ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแผนมิได้ถือเอาเงื่อนไขบังคับก่อนดังกล่าวเป็นข้อสำคัญ แม้ว่าข้อกำหนดในแผนจะตกไปบางส่วนแต่ข้อกำหนดในแผนส่วนที่เหลือก็ใช้บังคับได้ เมื่อเนื้อหาของแผนที่คงเหลืออยู่ยังคงมีสาระสำคัญเพียงพอในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จึงถือว่าแผนมีรายการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/42 ประกอบมาตรา 90/58 วรรคสอง
เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีรายการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/42 ข้อเสนอในการชำระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี และกรณีมติยอมรับแผนเป็นมติพิเศษตามมาตรา 90/46(2) ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนเป็นไปตามลำดับที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130 บัญญัติไว้แล้ว ทั้งเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ประกอบกับการเห็นชอบด้วยแผนจะทำให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินกิจการต่อไปได้ อันเป็นประโยชน์แก่พนักงานของลูกหนี้ เจ้าหนี้ผู้ถือหุ้น ตลอดจนประชาชนทั่วไป และเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยส่วนรวม อีกทั้งเป็นการรักษาองค์กรทางธุรกิจไว้ด้วยคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันและการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินหลักประกันตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 และมาตรา 90/75 การยกเลิกการฟื้นฟูกิจการมีผลให้ลูกหนี้คงรับผิดชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการและชำระหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ไม่ครบถ้วนตามแผนต่อไป เจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องเฉพาะให้ลูกหนี้ชำระเงินดังกล่าว คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนจึงมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของเจ้าหนี้โดยตรง ดังนั้น การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหาทำให้สิทธิในการอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่แล้วต้องเสียไปไม่ เมื่อเจ้าหนี้ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้แล้วไม่ได้ถอนอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงต้องพิจารณาคดีตามอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ต่อไป
การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเนื่องจากผู้บริหารแผนได้ดำเนินการตามแผนครบถ้วนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 เป็นคำสั่งที่สืบเนื่องจากคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน ถ้าศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการก็ย่อมเป็นอันสิ้นผลไปโดยปริยาย
การที่เจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นประกันมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีจำนวนหนี้มีประกันเพียงเท่าราคาทรัพย์อันเป็นหลักประกัน ส่วนจำนวนหนี้ที่เหลือย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ธรรมดา
การพิจารณามูลค่าราคาหลักประกันศาลจะต้องพิจารณาถึงวงเงินจำนอง ราคาซื้อขายทรัพย์หลักประกันในท้องตลาด ตลอดจนวิธีการในการจัดการทรัพย์หลักประกันดังกล่าวในการฟื้นฟูกิจการประกอบกัน
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42(9) ที่บัญญัติว่า "ระยะเวลาดำเนินการตามแผนซึ่งไม่เกินห้าปี" หมายความว่า ระยะเวลาในการดำเนินการตามแผนที่การบริหารแผนจะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติและความคุ้มครองของพระราชบัญญัติล้มละลายฯ และภายใต้การควบคุมกำกับของศาลเพื่อให้ลูกหนี้มีฐานะพ้นจากภาวะวิกฤติทางการเงินเข้าสู่สภาพที่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งผู้ทำแผนสามารถกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกิน 5 ปี
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง หมายความว่า การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จำนวนเท่าใดอย่างไร ย่อมเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว เมื่อผู้บริหารแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง ผู้บริหารแผนจึงต้องชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายตามคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและแผนฟื้นฟูกิจการนั้นจนกว่าจะครบถ้วน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้แต่ละรายต้องทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่างหากจากข้อกำหนดในแผนข้อกำหนดดังกล่าวย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีเนื้อหาส่วนใหญ่ทำนองเดียวกับแผนฟื้นฟูกิจการและได้กำหนดรายละเอียดปลีกย่อยบางส่วนเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในอนาคตเท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่ที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลายมีอยู่ต่อกันตามแผน เจ้าหนี้ส่วนใหญ่ที่เห็นชอบด้วยแผนเห็นควรให้จัดทำขึ้นเพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหมดที่จะได้เกิดความมั่นใจในภาระผูกพันของลูกหนี้ที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ภายหลังที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว จึงมิใช่สาระสำคัญของแผน ส่วนที่แผนกำหนดเงื่อนไขบังคับก่อนว่า เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนต่อเมื่อได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วนั้นเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ย่อมตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อมีการปฏิบัติตามแผนครบถ้วนแล้วจนกระทั่งศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ จึงถือได้ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแผนมิได้ถือเอาเงื่อนไขดังกล่าวเป็นข้อสำคัญ แม้ว่าข้อกำหนดในแผนจะตกไปบางส่วน แต่ข้อกำหนดในแผนส่วนที่เหลือก็ใช้บังคับได้ เมื่อแผนยังคงมีสาระสำคัญเพียงพอในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงถือว่าแผนมีรายการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ประกอบมาตรา 90/58 วรรคสอง
การที่จะพิจารณาว่าเจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับเจ้าหนี้รายอื่นในกลุ่มเดียวกันเท่านั้น
ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เว้นแต่เจ้าหนี้นั้นจะให้ความยินยอมตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58(2)
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในมาตรา90/42(3)(ข) ให้มีการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ และมาตรา 90/42 ทวิ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไว้ ตามมาตรา 90/42 ทวิ(3)และมาตรา 90/42 ตรี ดังนั้น เจ้าหนี้ไม่มีประกันจึงสามารถจัดแบ่งเป็นหลายกลุ่มได้ เพียงแต่แผนฟื้นฟูกิจการต้องกำหนดให้เจ้าหนี้แต่ละรายในกลุ่มเดียวกันได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน
การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเนื่องจากผู้บริหารแผนได้ดำเนินการตามแผนครบถ้วนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 เป็นคำสั่งที่สืบเนื่องจากคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน ถ้าศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการก็ย่อมเป็นอันสิ้นผลไปโดยปริยาย
การที่เจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นประกันมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีจำนวนหนี้มีประกันเพียงเท่าราคาทรัพย์อันเป็นหลักประกัน ส่วนจำนวนหนี้ที่เหลือย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ธรรมดา
การพิจารณามูลค่าราคาหลักประกันศาลจะต้องพิจารณาถึงวงเงินจำนอง ราคาซื้อขายทรัพย์หลักประกันในท้องตลาด ตลอดจนวิธีการในการจัดการทรัพย์หลักประกันดังกล่าวในการฟื้นฟูกิจการประกอบกัน
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42(9) ที่บัญญัติว่า "ระยะเวลาดำเนินการตามแผนซึ่งไม่เกินห้าปี" หมายความว่า ระยะเวลาในการดำเนินการตามแผนที่การบริหารแผนจะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติและความคุ้มครองของพระราชบัญญัติล้มละลายฯ และภายใต้การควบคุมกำกับของศาลเพื่อให้ลูกหนี้มีฐานะพ้นจากภาวะวิกฤติทางการเงินเข้าสู่สภาพที่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งผู้ทำแผนสามารถกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกิน 5 ปี
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง หมายความว่า การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จำนวนเท่าใดอย่างไร ย่อมเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว เมื่อผู้บริหารแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง ผู้บริหารแผนจึงต้องชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายตามคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและแผนฟื้นฟูกิจการนั้นจนกว่าจะครบถ้วน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้แต่ละรายต้องทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่างหากจากข้อกำหนดในแผนข้อกำหนดดังกล่าวย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีเนื้อหาส่วนใหญ่ทำนองเดียวกับแผนฟื้นฟูกิจการและได้กำหนดรายละเอียดปลีกย่อยบางส่วนเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในอนาคตเท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่ที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลายมีอยู่ต่อกันตามแผน เจ้าหนี้ส่วนใหญ่ที่เห็นชอบด้วยแผนเห็นควรให้จัดทำขึ้นเพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหมดที่จะได้เกิดความมั่นใจในภาระผูกพันของลูกหนี้ที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ภายหลังที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว จึงมิใช่สาระสำคัญของแผน ส่วนที่แผนกำหนดเงื่อนไขบังคับก่อนว่า เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนต่อเมื่อได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วนั้นเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ย่อมตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อมีการปฏิบัติตามแผนครบถ้วนแล้วจนกระทั่งศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ จึงถือได้ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแผนมิได้ถือเอาเงื่อนไขดังกล่าวเป็นข้อสำคัญ แม้ว่าข้อกำหนดในแผนจะตกไปบางส่วน แต่ข้อกำหนดในแผนส่วนที่เหลือก็ใช้บังคับได้ เมื่อแผนยังคงมีสาระสำคัญเพียงพอในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงถือว่าแผนมีรายการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ประกอบมาตรา 90/58 วรรคสอง
การที่จะพิจารณาว่าเจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับเจ้าหนี้รายอื่นในกลุ่มเดียวกันเท่านั้น
ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เว้นแต่เจ้าหนี้นั้นจะให้ความยินยอมตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58(2)
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในมาตรา90/42(3)(ข) ให้มีการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ และมาตรา 90/42 ทวิ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไว้ ตามมาตรา 90/42 ทวิ(3)และมาตรา 90/42 ตรี ดังนั้น เจ้าหนี้ไม่มีประกันจึงสามารถจัดแบ่งเป็นหลายกลุ่มได้ เพียงแต่แผนฟื้นฟูกิจการต้องกำหนดให้เจ้าหนี้แต่ละรายในกลุ่มเดียวกันได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองติดไปกับทรัพย์ แม้โอนกรรมสิทธิ์ เจ้าหนี้มีประกันในหนี้บางส่วน หากตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น
การที่ลูกหนี้ซื้อที่ดินบางส่วนจากบริษัท อ. ในขณะที่ที่ดินแปลงดังกล่าวจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ที่บริษัท อ. และ/หรือบริษัท ส. มีต่อธนาคาร ม. ซึ่งธนาคารเจ้าหนี้ได้รับโอนกิจการมา เป็นการซื้อขายติดจำนอง สิทธิจำนองเป็น ทรัพยสิทธิย่อมติดไปกับตัวทรัพย์นั้น โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์จะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 702 วรรคสอง ลูกหนี้จึงต้องรับภาระจำนองมาด้วย เจ้าหนี้จึงยังมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินดังกล่าว การที่ธนาคาร ม. จดทะเบียนปลดจำนองเฉพาะส่วนที่ดินของบริษัท อ. ในเวลาต่อมาโดยส่วนของลูกหนี้ยังคงติดจำนองอยู่และภาระหนี้ยังคงเป็นของบริษัท ส. ตามเดิม ที่ดินส่วนของลูกหนี้จึงติดจำนองเพื่อประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่มีต่อธนาคาร ม. ต่อไป เจ้าหนี้จึงมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินส่วนของลูกหนี้ในวงเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 12 หมวด 5 มิได้ทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนอง เมื่อประสงค์จะให้จำนองประกันหนี้ของลูกหนี้ด้วยจะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ด้วย แต่มิได้จดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันในส่วนนี้
นอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย เช่นนี้หากผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ในส่วนนี้และศาลล้มละลายมิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 12 หมวด 5 มิได้ทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนอง เมื่อประสงค์จะให้จำนองประกันหนี้ของลูกหนี้ด้วยจะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ด้วย แต่มิได้จดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันในส่วนนี้
นอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย เช่นนี้หากผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ในส่วนนี้และศาลล้มละลายมิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง