คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าหนี้ร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วม: ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ร่วมคนใดก็ได้ตามกฎหมาย แม้จะแบ่งชำระให้คนละครึ่งในตอนแรก
เมื่อสัญญาจ้างมีสาระสำคัญว่า จำเลย "ผู้ว่าจ้าง" ตกลงจ้างโจทก์และจำเลยร่วม "ผู้รับจ้าง" ทำการก่อสร้างอาคารในราคา 10,700,000 บาท ตกลงชำระเงินล่วงหน้าร้อยละ 20 แก่ "ผู้รับจ้าง" เมื่อลงนามในสัญญา ค่าจ้างส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 6 งวด ถือได้ว่าสัญญาจ้างดังกล่าวกำหนดให้โจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็น "ผู้รับจ้าง" ทำการก่อสร้างอาคารโดยมิได้แบ่งแยกว่าจะทำการก่อสร้างอาคารส่วนใดอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และค่าจ้างก็กำหนดชำระเป็นงวด มิได้ระบุว่าจะชำระให้แก่โจทก์และจำเลยร่วมคนละเท่าใด คงชำระรวมกันไป แม้จำเลยจะชำระค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงที่ 3 ให้โจทก์และจำเลยร่วมคนละครึ่งของค่าจ้างแต่ละงวดก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกแก่โจทก์และจำเลยร่วมเท่านั้น โจทก์และจำเลยร่วมยังคงมีฐานะเป็น "ผู้รับจ้าง" และเจ้าหนี้ร่วมในหนี้ค่าจ้างอยู่เช่นเดิม จำเลยในฐานะลูกหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าหนี้คนใดก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 ดังนั้น เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 ให้แก่จำเลยร่วมแล้ว จึงเป็นการชำระหนี้โดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 จากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วม เจ้าหนี้ร่วม ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายใดก็ได้ตามกฎหมาย
เมื่อสัญญาจ้างมีสาระสำคัญว่า จำเลย "ผู้ว่าจ้าง" ตกลงจ้างโจทก์และจำเลยร่วม"ผู้รับจ้าง" ทำการก่อสร้างอาคารในราคา 10,700,000 บาท ตกลงชำระเงินล่วงหน้าร้อยละ 20 แก่ "ผู้รับจ้าง" เมื่อลงนามในสัญญา ค่าจ้างส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 6 งวดถือได้ว่าสัญญาจ้างดังกล่าวกำหนดให้โจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็น "ผู้รับจ้าง" ทำการก่อสร้างอาคารโดยมิได้แบ่งแยกว่าจะทำการก่อสร้างอาคารส่วนใดอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และค่าจ้างก็กำหนดชำระเป็นงวด มิได้ระบุว่าจะชำระให้แก่โจทก์และจำเลยร่วมคนละเท่าใด คงชำระรวมกันไป แม้จำเลยจะชำระค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงที่ 3 ให้โจทก์และจำเลยร่วมคนละครึ่งของค่าจ้างแต่ละงวดก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกแก่โจทก์และจำเลยร่วมเท่านั้น โจทก์และจำเลยร่วมยังคงมีฐานะเป็น "ผู้รับจ้าง" และเจ้าหนี้ร่วมในหนี้ค่าจ้างอยู่เช่นเดิมจำเลยในฐานะลูกหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าหนี้คนใดก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 298 ดังนั้นเมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 ให้แก่จำเลยร่วมแล้ว จึงเป็นการชำระหนี้โดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 จากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าหนี้ร่วมในสัญญาจ้างก่อสร้าง สิทธิในการชำระหนี้แก่ผู้รับจ้างรายใดรายหนึ่ง
ตามสัญญาจ้างมีสาระสำคัญของข้อความในสัญญากำหนดให้โจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็นผู้รับจ้างอย่างเดียวกัน เพราะงานที่จะกระทำต่อไปคืองานก่อสร้างอาคารที่มิได้แบ่งแยกว่าจะทำการก่อสร้างอาคารส่วนใดอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และค่าจ้างที่จำเลยจะชำระก็กำหนดชำระเป็นงวด มิได้กำหนดว่าจะชำระแก่โจทก์และจำเลยร่วมคนละเท่าใด คงชำระรวมกันไป แม้ในตอนแรกจะแบ่งชำระให้คนละครึ่งของแต่ละงวดก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกของโจทก์และจำเลยหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงฐานะไปไม่ โจทก์และจำเลยร่วมยังคงมีฐานะเป็นผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างและยังคงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ร่วมในหนี้ค่าจ้าง จำเลยในฐานะลูกหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าหนี้คนใดก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 เมื่อจำเลยได้ชำระค่าจ้างงวดที่ 4 และที่ 5 แก่จำเลยร่วมแล้ว การชำระหนี้จึงชอบหาเป็นการผิดสัญญาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6040/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ร่วม: สิทธิลูกหนี้ในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามสัญญาจ้างมีสาระสำคัญว่าสัญญาจ้างฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยซึ่งต่อไปในสัญญาเรียกว่า "ผู้ว่าจ้าง" ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยร่วมและโจทก์ซึ่งสองบริษัทต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้รับจ้าง" อีกฝ่ายหนึ่ง ข้อความในสัญญาดังกล่าวกำหนดให้โจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็นอย่างเดียวกันคือ "ผู้รับจ้าง" เพราะงานที่จะกระทำต่อไปคืองานก่อสร้างอาคารที่มิได้แบ่งแยกว่าจะทำการก่อสร้างอาคารส่วนใดอย่างไร มากน้อยแค่ไหน และค่าจ้างที่จำเลยจะชำระก็กำหนดชำระเป็นงวด มิได้กำหนดว่าจะชำระแก่โจทก์และจำเลยร่วมคนละเท่าใดอีกด้วย คงชำระรวมกันไป แม้ในตอนแรกจะแบ่งชำระให้คนละครึ่งของแต่ละงวด ก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกของโจทก์และจำเลยร่วมเท่านั้นหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงฐานะไปไม่ โจทก์และจำเลยร่วมยังคงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ร่วมในหนี้ค่าจ้าง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าหนี้คนใดก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7846/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์: ข้อตกลงเพิ่มเติมเรื่องการสมรส และสิทธิของเจ้าหนี้ร่วม
การทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญมิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เป็นกรณีมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อตามสัญญาจะซื้อจะขายมิได้มีข้อตกลงเป็นเงื่อนไขว่า โจทก์และจำเลยร่วมจะต้องสมรสกันหากฝ่ายใดไม่ยอมสมรสอีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ การที่จำเลยและจำเลยร่วมนำสืบมีเงื่อนไขการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมในสัญญาจะซื้อจะขายเป็นการนำสืบเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบ ศาลไม่อาจรับฟังพยานบุคคลของจำเลยและจำเลยร่วมดังกล่าวได้
จำเลยตกลงจะขายที่ดินและเรือนพิพาทแก่โจทก์และจำเลยร่วมโจทก์และจำเลยร่วมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ร่วม โจทก์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินและเรือนพิพาทแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ร่วมและการจำนองประกันหนี้: การไถ่ถอนจำนองไม่ทำให้หนี้ระงับ
เมื่อระหว่างปี 2522 ถึงปี 2524 เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ม.กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม 7 ครั้งคิดเป็นเงิน 2,093,300 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี 2528 เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน 2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน และต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามป.พ.พ.มาตรา 298 เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเอง หาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่ การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่เช่นเดิม เพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่มีประกันเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิม หนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่ หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้น ก็มีความหมายตรงตัวว่า นอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเอง เมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง 980,000 บาท เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ร่วมเรียกหนี้ได้เต็มจำนวน แม้มีผู้ตาย สัญญาซื้อขายไม่ต้องทำเป็นหนังสือก็ได้
เมื่อสัญญาจะซื้อขายในคดีนี้มีลักษณะเป็นหนี้อันจะแบ่งชำระมิได้และโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ร่วม โจทก์คนใดคนหนึ่งก็อาจเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ชำระโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 298 แม้ระหว่างอุทธรณ์โจทก์ที่ 2 ตาย ศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 ไปแล้วก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 จนเต็มจำนวนได้ ส่วนใครจะได้รับส่วนแบ่งของโจทก์ที่ 2 ที่โจทก์ที่ 1 ได้รับไปนั้น ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
สัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเสมอไป ถ้ามีการวางเงินมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนกันแล้ว สัญญานั้นก็บังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ร่วมเรียกหนี้ได้เต็มจำนวน แม้มีเจ้าหนี้ร่วมเสียชีวิต สัญญาซื้อขายไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
เมื่อสัญญาจะซื้อขายในคดีนี้มีลักษณะเป็นหนี้อันจะแบ่งชำระมิได้ และโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ร่วมโจทก์คนใดคนหนึ่งก็อาจเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ชำระโดยสิ้นเชิงได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 แม้ระหว่างอุทธรณ์โจทก์ที่ 2 ตายศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 ไปแล้วก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 จนเต็มจำนวนได้ ส่วนใครจะได้รับส่วนแบ่งของโจทก์ที่ 2 ที่โจทก์ที่ 1 ได้รับไปนั้น ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
สัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเสมอไป ถ้ามีการวางเงินมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนกันแล้วสัญญานั้นก็บังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1474-1475/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าทนายความ: เจ้าหนี้ร่วม ลูกหนี้เลือกชำระได้
หนี้เงินค่าทนายที่ศาลสั่งไว้ในคำพิพากษาให้ผู้แพ้คดีชำระให้แก่ผู้ชนะคดีนั้น เป็นหนี้ร่วม ลูกหนี้จะเลือกชำระให้แก่เจ้าหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีที่มีโจทก์ร่วม: สิทธิของลูกหนี้และเจ้าหนี้ร่วม
โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ร่วม หากปรากฎว่ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ก็เป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมได้ และตาม ป.ม.แพ่ง ฯมาตรา 290 บัญญัติว่า ถ้าการชำระหนี้อันอาจแบ่งชำระได้ เมื่อเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าลูกหนี้ เจ้าหนี้จะต้องรับผิดหรือชอบที่จะได้รับชำระหนี้เป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กัน ฉะนั้นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะขอเงินซึ่งอาจแบ่งแยกให้แก่โจทก์ ซึ่งมีอยู่หลายคนแต่เพียงคนเดียวโดยสิ้นเชิง โดยอ้าง ป.ม.แพ่ง ฯมาตรา 298 หาได้ไม่
of 2