พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้และช่วยเหลือลูกหนี้
จำเลยที่ 1 และบิดาเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าเป็นการหักหนี้ที่จำเลยที่ 1 และบิดามีต่อ พ. และที่ พ. เป็นหนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งไม่สมเหตุผล เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานใดน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และบิดาเป็นหนี้ พ. ต่อมาอีกประมาณ 2 เดือน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นมารดาเลี้ยงของจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 โดยไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการชำระเงินค่าซื้อที่ดินพิพาท ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 กันจริง การรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการรู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5207/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า หากทำลงโดยรู้ว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบจากการบังคับคดี
อำนาจฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงโดยรู้ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้บัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าหนี้ ซึ่งหมายรวมถึงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วย ไม่ว่าจะมีการบังคับคดีแล้วหรือไม่ เมื่อโจทก์อ้างว่าตนเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนและจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทำนิติกรรมยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้
การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันรีบไปจดทะเบียนหย่าและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์พิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมนั้น ถือเป็นทางที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237
การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันรีบไปจดทะเบียนหย่าและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์พิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมนั้น ถือเป็นทางที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากฉ้อฉลและการเสียเปรียบของเจ้าหนี้
โจทก์มีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1ให้เสร็จเด็ดขาดไป เหตุที่ไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันนัดเกิดจากการบิดพลิ้วของจำเลยที่ 1ที่ไม่ไปตามกำหนดนัด ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งทราบดีว่าจำเลยที่ 1 จะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่เคยบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแก่โจทก์ และตั้งแต่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทมาจนกระทั่งขายให้จำเลยร่วมทั้งสอง จำเลยที่ 2 ไม่เคยมีโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองแทน ผิดปกติวิสัยผู้ที่ทำการซื้อขายที่ดินกันโดยทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่ามีการซื้อขายกันโดยสุจริตการที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ผู้ได้ลาภงอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237หมายถึงผู้ที่เป็นคู่กรณีทำนิติกรรมกับลูกหนี้โดยตรงส่วนบุคคลภายนอกในมาตรา 238 เป็นผู้ที่ได้รับโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อจากผู้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้ จำเลยร่วมทั้งสองเป็นผู้ได้รับโอนที่ดินพิพาทของลูกหนี้ต่อจากผู้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้ จึงเป็นบุคคลภายนอกตามความหมายของมาตรา 238หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 237 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยไม่สุจริตของกรรมการบริษัทที่ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบและเพิกถอนสัญญาเช่าได้
จำเลยที่ 1 ขณะเป็นกรรมการของบริษัท ส. ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมอาคารโรงงานที่พิพาทของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของบริษัท ส. โดยมีข้อตกลงว่าระหว่างอายุสัญญาจำนอง จำเลยที่ 1จะไม่นำทรัพย์จำนองไปทำให้เสื่อมสิทธิใด ๆ รวมทั้งให้บุคคลอื่นเช่า เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าโจทก์ได้เรียกให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังให้บริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการอยู่ด้วยเช่าอาคารโรงงานที่พิพาทโดยทำสัญญาเช่ากันเพียงอาคารโรงงานเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องไปจดทะเบียนการเช่าที่สำนักงานที่ดิน แต่ความจริงเป็นการเช่าทั้งที่ดินและอาคารโรงงานที่พิพาทการทำสัญญาเช่าอาคารโรงงานที่พิพาท จึงเป็นการฝ่าฝืนสัญญาจำนองและเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต การทำสัญญาเช่าอาคารโรงงานที่พิพาทโดยจดทะเบียนการเช่าไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอไว้มีกำหนด 20 ปี ย่อมทำให้เกิดภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์จำนองอันไม่อาจนำที่ดินไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้ และทำให้การขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่มีผู้เข้าสู้ราคา จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าดังกล่าวทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โดยขณะที่ทำนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งได้ลาภงอกแต่การนั้นได้รู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าดังกล่าวเสียได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายทรัพย์สินโดยเจตนาฉ้อฉล ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ สามารถขอเพิกถอนนิติกรรมได้
จำเลยที่ 2 ผู้เป็นบุตรเขยล่วงรู้ฐานะทางการเงินของจำเลยที่ 1ผู้เป็นแม่ยายที่ตกเป็นลูกหนี้โจทก์ตลอดมาเป็นอย่างดี นอกจากที่พิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 มีที่ดินอีกเพียงแปลงเดียวซึ่งติดจำนองโจทก์ในวงเงินไม่เกิน 250,000 บาทเท่านั้น ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกยากแก่โจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทพร้อมอาคารปั๊มน้ำมันจากจำเลยที่ 1 ในราคาเพียง 150,000 บาททั้งที่มีราคาถึง 500,000 บาท จึงเป็นการรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์จึงฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเมื่อเจ้าหนี้ไม่ทราบข้อเท็จจริงทำให้เสียเปรียบ และผลกระทบต่อจำเลยที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงไม่ประสงค์เข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ส่วนทนายจำเลยทั้งสามขอถอนตัวจากการเป็นทนายของจำเลยที่ 1 แต่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาทนายจำเลยกลับอุทธรณ์และฎีกาในฐานะทนายจำเลยทั้งสามและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และฎีกาตลอดจนศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะยกอุทธรณ์และฎีกาของจำเลยที่ 1กับยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2กับจำเลยที่ 3 แม้จะถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย แต่เมื่อเป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาชอบที่จะยกฟ้องโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 1 ด้วยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนประทานบัตรเนื่องจากเจ้าหนี้เสียเปรียบและการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อเท็จจริง
ขณะเกิดกรณีพิพาท ว.ดำรงตำแหน่งอธิบดีโจทก์ว. จึงเป็นผู้แทนที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อนับระยะเวลาที่ ว.ในฐานะผู้แทนโจทก์ได้รู้ถึงเหตุที่จะขอเพิกถอนการโอนถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่เกินกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความการที่เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ของโจทก์ทราบเรื่องที่จะขอให้เพิกถอนการโอนแต่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ในระดับต่าง ๆ ดังกล่าวมิใช่ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์จะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวด้วยไม่ได้ จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากประทานบัตรที่พิพาทในอันที่จะนำมาชำระหนี้โจทก์ได้ ช. รับโอน ประทานบัตรที่พิพาทโดยรู้ถึงความจริงดังกล่าว กรณีจึงเป็นการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบถือไม่ได้ว่าเป็นการรับโอนโดยสุจริต และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทของ ช. รับโอนประทานบัตรที่พิพาทมาในฐานะที่เป็นมรดกจำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิดีไปกว่า ช. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกเมื่อนิติกรรมการได้ประทานบัตรที่พิพาทของ ช. เป็นอันจะต้องถูกเพิกถอนเนื่องจากผลแห่งการกระทำของ ช. เอง จำเลยที่ 3ในฐานะทายาทจึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะที่เป็นบุคคลภายนอกได้แต่กลับมีหน้าที่ในฐานะทายาทที่จะต้องโอนประทานบัตรที่พิพาทกลับคืนตามหน้าที่ที่ ช. เจ้ามรดกมีอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5433-5434/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายและจำนองที่ดินโดยไม่สุจริต ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ศาลมีอำนาจเพิกถอนนิติกรรมได้
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่ก็ยังซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ก็รู้เช่นเดียวกันแล้วยังรับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 2 และที่ 3 แสดงว่าจำเลยทั้งสี่กระทำไปโดยไม่สุจริตเป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและจำนองได้ตามป.พ.พ. มาตรา 237
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนและไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ก็ตาม แต่ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงไว้แล้วว่า จำเลยทั้งสี่สมคบกันทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินและจำนองที่ดินโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบ และมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนดังกล่าวระหว่างจำเลยทั้งสี่ไว้ด้วย ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและจำนองที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสี่ได้.
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนและไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ก็ตาม แต่ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงไว้แล้วว่า จำเลยทั้งสี่สมคบกันทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินและจำนองที่ดินโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบ และมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนดังกล่าวระหว่างจำเลยทั้งสี่ไว้ด้วย ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและจำนองที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสี่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาจำนองที่ทำขึ้นโดยเจตนาทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบในชั้นบังคับคดี
ในชั้นบังคับคดีหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สัญญาจำนองที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมซึ่งจำเลยที่ 2 และผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบแล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนสัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้โดยไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1380/2527 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมขายฝากที่จำเลยรู้อยู่ว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้
บรรยายฟ้องว่าโจทก์เช่าซื้อที่ดินและห้องแถวจากจำเลยที่1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว ต่อมาโจทก์ทราบว่าระหว่างที่โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้ออยู่นั้น จำเลยที่ 1ได้ขายฝากที่ดินและห้องแถวดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองรู้ดีว่าที่ดินและห้องแถวนั้นโจทก์ได้เช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 อยู่ก่อนแล้ว นิติกรรมการขายฝากที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำจึงเป็นนิติกรรมอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ ขอให้พิพากษาว่านิติกรรมการขายฝากไม่ผูกพันโจทก์ ให้เพิกถอนทำลายนิติกรรมการขายฝากเสียและให้จำเลยจัดการโอนที่ดินและห้องแถวให้โจทก์. ดังนี้ เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำนิติกรรมขายฝากโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องได้
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1162-1163-1164/2497)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1162-1163-1164/2497)