พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.ความลับทางการค้า ต้องเป็นข้อมูลเกี่ยวกับกิจการของผู้ควบคุมความลับฯ และได้มาจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 35 ข้อมูลที่นำไปเปิดเผยอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรานี้ คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของผู้ควบคุมความลับทางการค้า ส่วนองค์ประกอบความผิดในส่วนของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 35 วรรคแรก คือผู้กระทำที่เปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของผู้ควบคุมความลับทางการค้า จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้กระทำได้มาหรือล่วงรู้เนื่องจากการปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ ซึ่งผู้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการเท่านั้น สำหรับองค์ประกอบความผิดในส่วนของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 35 วรรคสอง คือผู้กระทำที่ได้มาหรือล่วงรู้ข้อเท็จจริงใดจากผู้ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ โดยได้มาหรือล่วงรู้เนื่องในการปฏิบัติราชการหรือการสอบสวน หรือการพิจารณาคดีแล้วเปิดเผยข้อเท็จจริงนั้น ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลโรงงานของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของและผู้ควบคุมความลับทางการค้าเกี่ยวกับกิจการผลิตน้ำหมักสมุนไพรไวน์พลูคาว ตรา โพรแลค (PROLAC) และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 5 จำเลยทั้งห้าร่วมกันเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการผลิตน้ำหมักสมุนไพรไวน์พลูคาว ตรา โพรแลค (PROLAC) โดยร่วมกันนำสูตรดังกล่าวผลิตและจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทั้งสอง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ข้อมูลที่นำไปเปิดเผยเป็นความลับทางการค้า มิใช่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของผู้ควบคุมความลับทางการค้า ประกอบกับจำเลยทั้งห้ามิใช่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ ซึ่งหมายถึง พนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งอันเป็นองค์ประกอบความผิดในมาตรา 35 คดีโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดของเจ้าหน้าที่: ขยายอายุความเมื่อศาลยกฟ้องเพราะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
คดีก่อนโจทก์ได้ฟ้องสิบเอก ช. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกองทัพบกจำเลยและศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากโจทก์จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 จึงเป็นกรณีที่ศาลยกฟ้องเพราะเหตุที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด อายุความฟ้องร้องจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีก่อนจึงขยายออกไปถึงหกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด ตามมาตรา 7 วรรคสอง คือวันที่ 7 ตุลาคม 2544 การที่โจทก์ได้ฟ้องกองพลาธิการ กองพลทหารม้าที่ 2 เป็นจำเลยในคดีก่อนด้วย แต่ศาลยกฟ้องเพราะผู้ถูกฟ้องดังกล่าวไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล มิใช่เหตุที่จะไม่ขยายอายุความฟ้องร้องจำเลยซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดี โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2544 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ทำให้ผู้สมัครถูกตัดสิทธิโดยมิชอบ ศาลสั่งให้รับสมัคร
ผู้ร้องได้ยื่นหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อนายอำเภอซึ่งเป็นนายทะเบียนอำเภอและเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบุคคลรับแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการพิจารณาการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ ตามระเบียบดังกล่าวนายทะเบียนอำเภอจะต้องวินิจฉัยว่าเหตุที่ผู้ร้องอ้างนั้นเป็นเหตุอันสมควรที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่ แล้วแจ้งให้ผู้ร้องทราบ แต่เจ้าหน้าที่อำเภอไม่ได้นำหนังสือของผู้ร้องเสนอต่อนายทะเบียนอำเภอ เนื่องจากหนังสือดังกล่าวสูญหาย อันเป็นความผิดพลาดของฝ่ายนายทะเบียนอำเภอ เป็นเหตุให้ผู้ร้องมีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิตามมาตรา 68 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การจัดให้ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิดังกล่าวจึงไม่ชอบ ผู้ร้องจึงไม่เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 23 (3) แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปรียบเทียบงดฟ้องร้องทางศุลกากร: อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและขอบเขตความรับผิดของเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมศุลกากรได้มีความเห็นตามที่เจ้าหน้าที่เสนอมาว่า ม. ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารถยนต์ใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่นได้นำเข้ารถยนต์โดยสำแดงรุ่นผิดไปจากรถยนต์โตโยต้า ซอเรอร์ เป็นรถยนต์โตโยต้า มาร์คทู ต่อมา ม. ขอยกรถยนต์คันดังกล่าวให้ตกเป็นของแผ่นดินเพื่อตกลงระงับคดีตามมาตรา 27 หรือ 27 ทวิ ของ พ.ร.บ. ศุลกากร จึงให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง แม้จำเลยที่ 10 จะมีความเห็นให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมโดยมิได้มีความเห็นชี้ขาดก่อนว่าการกระทำของ ม. จะเป็นความตามมาตรา 27 หรือว่าจะเป็นความผิดตามมาตรา 27 ทวิ ฐานใดฐานหนึ่ง เพื่อพิจารณาก่อนว่าความผิดที่ ม. กระทำจะตรงหรือไม่ตรงด้วยข้อหาความผิดที่จะเปรียบเทียบได้ก็ตาม ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ เพราะอำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ม. ผู้นำเข้ารถยนต์จะมีความผิดฐานใด เป็นอำนาจของศาล
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามมาตรา 102 ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องร้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่มีผู้มีอำนาจได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ ดังนั้น การที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องได้มีมติให้รับทำความตกลงระงับคดีโดยรับรถยนต์ของกลางไว้เป็นของแผ่นดินตามข้อเสนอของผู้ต้องหา จึงย่อมเป็นการเปรียบเทียบที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ในการประชุมของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะมีแต่เลขานุการคณะกรรมการเป็นผู้รายงาน โดยจำเลยที่ 10 และที่ 11 จะทราบข้อเท็จจริงและมิได้ทักท้วงหรือชี้แจงแสดงเหตุผลในที่ประชุมเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่การประชุม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่จะถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิด เพราะที่ประชุมจะมีมติอย่างไรย่อมต้องเป็นไปตามความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมิได้มีเพียงจำเลยที่ 10 และที่ 11 เท่านั้น การมีมติจึงเป็นมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง มิใช่ความเห็นส่วนตัวของจำเลยที่ 10 และที่ 11 ดังนี้ แม้การมีมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกค่าอากรที่ขาดจากข้าราชการที่กระทำผิดวินัยได้ก็ตาม ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 รับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ได้
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามมาตรา 102 ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องร้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่มีผู้มีอำนาจได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ ดังนั้น การที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องได้มีมติให้รับทำความตกลงระงับคดีโดยรับรถยนต์ของกลางไว้เป็นของแผ่นดินตามข้อเสนอของผู้ต้องหา จึงย่อมเป็นการเปรียบเทียบที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ในการประชุมของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะมีแต่เลขานุการคณะกรรมการเป็นผู้รายงาน โดยจำเลยที่ 10 และที่ 11 จะทราบข้อเท็จจริงและมิได้ทักท้วงหรือชี้แจงแสดงเหตุผลในที่ประชุมเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่การประชุม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่จะถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิด เพราะที่ประชุมจะมีมติอย่างไรย่อมต้องเป็นไปตามความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมิได้มีเพียงจำเลยที่ 10 และที่ 11 เท่านั้น การมีมติจึงเป็นมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง มิใช่ความเห็นส่วนตัวของจำเลยที่ 10 และที่ 11 ดังนี้ แม้การมีมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกค่าอากรที่ขาดจากข้าราชการที่กระทำผิดวินัยได้ก็ตาม ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 รับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีฐานะเป็นกรม เป็นนิติบุคคลในสังกัดของกระทรวงจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ด้วย การที่จำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกระทรวงเจ้าสังกัดจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองต้องให้สิทธิคู่กรณีทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งได้ แม้เป็นงานนโยบายก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
การพิจารณาพิพากษาคดีปกครองเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในระบบไต่สวน ซึ่งมุ่งหมายให้ศาลทำหน้าที่ค้นคว้าหาความจริงและตรวจสอบการพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นมีข้อความว่าคู่ความประสงค์ให้ศาลวินิจฉัยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539มาตรา 3,4,5 และมาตรา 37 หรือไม่ โดยมิได้กล่าวถึงมาตรา 30 ที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง แต่เมื่อคำนึงถึงความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์แล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์มุ่งหมายให้ศาลตรวจสอบการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องถือว่าโจทก์ยังประสงค์ให้ศาลพิจารณาและวินิจฉัยว่าการออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 30 หรือไม่ และถือไม่ได้ว่าเป็นการสละประเด็นข้อนี้
งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหมายถึงงานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน มิใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 16 ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักร จึงมิใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรงตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 4(3) ทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรตามมาตรา 4(7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 4(3) และ (7) จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งก่อน จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนได้ตามมาตรา 50
งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหมายถึงงานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน มิใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 16 ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักร จึงมิใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรงตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 4(3) ทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรตามมาตรา 4(7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 4(3) และ (7) จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งก่อน จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนได้ตามมาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6952/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหน้าที่สถานธนานุเคราะห์: การกระทำโดยทุจริตของเจ้าหน้าที่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งมีหน้าที่จัดการและดูแลทรัพย์สินของสถานธนานุเคราะห์ได้ร่วมกันใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่จัดการดูแลทรัพย์สินที่รับจำนำไว้ และมีหน้าที่นำทรัพย์สินมาให้ผู้จำนำไถ่คืน ส่วนจำเลยที่ 2ทำหน้าที่ผู้จัดการมีหน้าที่รับจำนำและมีหน้าที่ให้การไถ่ถอนทรัพย์สินแก่ประชาชนที่นำทรัพย์สินไปจำนำ ผู้จำนำจะต้องนำทรัพย์สินที่จะจำนำมายื่นให้จำเลยที่ 2ตรวจดูสภาพทรัพย์สินและตีราคา แล้วจำเลยที่ 2 จะเขียนข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินรวมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ แล้วส่งให้พนักงานข้อมูลพิมพ์ตั๋วจำนำอันเป็นการยืนยันว่าการตรวจสภาพและตีราคาทรัพย์จำนำ เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 2 ทั้งหลังจากทราบเหตุคดีนี้แล้ว คณะกรรมการสอบสวนได้ทำรายงานสรุปว่าจำเลยที่ 2กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงกรณีทุจริตต่อหน้าที่ โดยร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 นำสืบปฏิเสธว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดคนเดียวโดยจำเลยที่ 2 อ้างข้อเท็จจริงต่างๆ เป็นข้อต่อสู้คดีได้โดยถูกต้อง ดังนั้นข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ และจำเลยที่ 2 จึงมิได้หลงต่อสู้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5824/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติหน้าที่: การควบคุมตัวผู้ต้องหา
เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเริ่มจับกุมโจทก์ ถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ครั้นเมื่อจับกุมโจทก์ได้ก็จะต้องควบคุมตัวโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจ การควบคุมตัวโจทก์ไปส่งไปที่สถานีตำรวจจึงถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน หากเจ้าพนักงานตำรวจได้ ทำร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจต้องถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมตำรวจเป็นจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า "หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิด ที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหาย อาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของเจ้าหน้าที่ในการสอบสวนทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถือเป็นการละเมิด
ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า ให้เงินและหรือทรัพย์สินอื่นจำนวน12,000,000 บาท ของโจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดินเท่ากับรับรองว่าการกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดที่สอบสวนดำเนินการแก่โจทก์ เพราะโจทก์ร่ำรวยผิดปกติ จนกระทั่งมีคำสั่งสำนักงานนายกรัฐมนตรีปลดโจทก์ออกจากราชการนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องร้องค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าหน้าที่เวนคืนไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ฟ้องคดีต่อศาล โดยไม่ได้ให้สิทธิแก่ฝ่ายเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี จำเลยทั้งสามฎีกาในทำนองไม่เห็นด้วยกับที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ หักเอาไว้อันเนื่องจากมีความเห็นว่าที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นแก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับเป็นการฎีกาโต้แย้งเพื่อที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของตนเองหรือฝ่ายตนเอง จำเลยทั้งสามหามีสิทธิฎีกาเช่นนี้ไม่