พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย การโอนกรรมสิทธิ์ และอำนาจฟ้องของเจ้าหน้าที่ปกครอง
การที่เจ้าของที่ดินเดิมได้ปลูกต้นพู่ระหงไว้เป็นแนวเขตที่ของตนโดยเว้นที่นอกเขตรั้วพู่ระหงไว้ให้เป็นทางคนเดินและประชาชนได้ใช้ทางสายนี้ติดต่อกันตลอดมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว โดยเจ้าของที่ดินมิได้หวงห้ามหรือสงวนสิทธิไว้แต่ประการใดนั้น แสดงว่าได้อุทิศที่พิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แล้วโดยปริยาย และการที่จะเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือทางหลวงนั้น ก็หาจำต้องมีทะเบียนหรือมีหลักฐานของทางราชการสงวนสิทธิไว้แต่ประการใดไม่
ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา การที่จำเลยโอนที่พิพาทอันเป็นทางสาธารณประโยชน์ให้บุคคลอื่น จึงใช้บังคับไม่ได้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนกำแพงและสิ่งปลูกสร้างออกจากทางสาธารณประโยชน์ได้
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา122 กำหนดให้กรมการอำเภอมีหน้าที่คอยตรวจตรารักษาที่อันเป็นสาธารณประโยชน์มิให้ผู้ใดเกียดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์ส่วนตัว ต่อมามี พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสาม ได้ให้อำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอโอนไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ และตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ได้บัญญัติให้หัวหน้าเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายใด ๆ บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอและหัวหน้าส่วนอำเภอ โจทก์ในฐานะหัวหน้าเขตบางกอกน้อยผู้มีหน้าที่ตรวจตรารักษาทางสาธารณประโยชน์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนกำแพงและสิ่งปลูกสร้างออกจากทางสาธารณประโยชน์ได้
ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา การที่จำเลยโอนที่พิพาทอันเป็นทางสาธารณประโยชน์ให้บุคคลอื่น จึงใช้บังคับไม่ได้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนกำแพงและสิ่งปลูกสร้างออกจากทางสาธารณประโยชน์ได้
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา122 กำหนดให้กรมการอำเภอมีหน้าที่คอยตรวจตรารักษาที่อันเป็นสาธารณประโยชน์มิให้ผู้ใดเกียดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์ส่วนตัว ต่อมามี พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสาม ได้ให้อำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอโอนไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ และตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ได้บัญญัติให้หัวหน้าเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายใด ๆ บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอและหัวหน้าส่วนอำเภอ โจทก์ในฐานะหัวหน้าเขตบางกอกน้อยผู้มีหน้าที่ตรวจตรารักษาทางสาธารณประโยชน์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนกำแพงและสิ่งปลูกสร้างออกจากทางสาธารณประโยชน์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งลงโทษทางวินัยและการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ปกครอง ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงและกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากราชการเป็นคำสั่งทางปกครองของฝ่ายบริหาร การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งทางปกครองของฝ่ายบริหารได้นั้น ข้อสำคัญข้อหนึ่งคือ การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นการออกโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนและออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การลงโทษทางวินัยกับความรับผิดในทางอาญานั้นต้องแยกออกจากกัน การถูกลงโทษทางวินัยตามข้อกล่าวหานั้นอาจไม่เป็นความผิดทางอาญาก็ได้ ไม่จำเป็นว่าการลงโทษทางวินัยจะต้องเป็นความผิดทางอาญาเสมอไป คดีนี้ประการแรกโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างเลยว่ากระบวนการสอบสวนของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร เพียงแต่โต้แย้งข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะออกคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากราชการ แต่โจทก์ก็ถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาลอาญาข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์และคดีถึงที่สุดแต่คำพิพากษาดังกล่าวก็มีข้อเท็จจริงที่พัวพันกับตัวโจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจลงโทษโจทก์ตามพฤติการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่า การกระทำของโจทก์ตกอยู่ในกรณีมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนโดยมิได้ลงโทษกล่าวหาว่าโจทก์ร่วมกับพวกปล้นทรัพย์แต่อย่างใด การออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการออกคำสั่งโดยใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมาย
การลงโทษทางวินัยกับความรับผิดในทางอาญานั้นต้องแยกออกจากกัน การถูกลงโทษทางวินัยตามข้อกล่าวหานั้นอาจไม่เป็นความผิดทางอาญาก็ได้ ไม่จำเป็นว่าการลงโทษทางวินัยจะต้องเป็นความผิดทางอาญาเสมอไป คดีนี้ประการแรกโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างเลยว่ากระบวนการสอบสวนของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร เพียงแต่โต้แย้งข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะออกคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากราชการ แต่โจทก์ก็ถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาลอาญาข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์และคดีถึงที่สุดแต่คำพิพากษาดังกล่าวก็มีข้อเท็จจริงที่พัวพันกับตัวโจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจลงโทษโจทก์ตามพฤติการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่า การกระทำของโจทก์ตกอยู่ในกรณีมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนโดยมิได้ลงโทษกล่าวหาว่าโจทก์ร่วมกับพวกปล้นทรัพย์แต่อย่างใด การออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการออกคำสั่งโดยใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมาย