พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3883/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่าเพื่อสร้างวัด: ความรับผิดของวัดและเจ้าอาวาส
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง พระเทพปัญญามุนีไม่ใช่ผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดและมีพรรษาอาวุโสสูงสุดของวัดจำเลยที่ 1 จึงต้องทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสคำฟ้องโจทก์ที่ระบุว่าฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 รักษาการแทนเจ้าอาวาส จึงเป็นคำฟ้องที่ถูกต้อง ทั้งการฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยโดยมิได้ระบุชื่อผู้แทนของนิติบุคคลมาด้วยหรือระบุชื่อผู้แทนนิติบุคคลผิดตัว ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยผิดตัว
ขณะที่วัดจำเลยที่ 1 บุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อสร้างกุฏิ ศาลาและสิ่งปลูกสร้าง ในเขตอุทยานแห่งชาติ อันไม่ใช่เขตพื้นที่ของวัดจำเลยที่ 1 ตามที่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีส่วนให้ความเห็นชอบหรือเป็นผู้กระทำการดังกล่าว เมื่อเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของวัดจำเลยที่ 1 และก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กรมป่าไม้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคสอง
ขณะที่วัดจำเลยที่ 1 บุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อสร้างกุฏิ ศาลาและสิ่งปลูกสร้าง ในเขตอุทยานแห่งชาติ อันไม่ใช่เขตพื้นที่ของวัดจำเลยที่ 1 ตามที่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีส่วนให้ความเห็นชอบหรือเป็นผู้กระทำการดังกล่าว เมื่อเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของวัดจำเลยที่ 1 และก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กรมป่าไม้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายร่วมหุ้นกับการรื้อถอนกำแพงวัด: สิทธิอำนาจเจ้าอาวาสและผลของการผิดสัญญา
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยว่าจำเลยจะทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตของวัดที่อยู่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของที่ดินแปลงตามสัญญาตกลงร่วมหุ้นออกไปภายใน 40 วัน นับแต่วันทำหนังสือนั้น เมื่อตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535 บัญญัติว่า วัดมีสองอย่าง (1) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา(2) สำนักสงฆ์ ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป มาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ (1) บำรุงวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี และมาตรา 40 บัญญัติว่า ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ดังนั้น เมื่อวัดเป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา กำแพงวัดเป็นเพียงศาสนสมบัติของวัด ซึ่งเจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการก่อสร้างหรือรื้อถอนเพื่อประโยชน์ของวัดได้ หากจำเลยสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสเพื่อขอรื้อถอนกำแพงวัดและทางวัดยินยอม จำเลยย่อมสามารถรื้อถอนกำแพงวัดได้ การที่จำเลยได้ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์เนื่องจากจำเลยเห็นว่าตนสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่เป็นโมฆะ
ตามหนังสือสัญญาตกลงร่วมหุ้นมีข้อความว่า "...เมื่อผู้ร่วมหุ้นที่ 2 (จำเลย) ทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดที่ดินที่จะซื้อขายภายใน 40 วัน นับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้"แม้จะไม่มีข้อความใดระบุว่าให้จำเลยรื้อถอนจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่เมื่อถ้อยคำในสัญญาระบุชัดแจ้งแล้วว่าให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนด ย่อมแสดงว่าจำเลยต้องรื้อถอนกำแพงด้านทิศตะวันออกทั้งหมด จำเลยรื้อถอนกำแพงออกไป 6 ช่องแล้วถูกดำเนินคดี จึงก่อสร้างกำแพงกลับสู่สภาพเดิม 5 ช่อง คงเหลือส่วนที่จำเลยทุบออก 1 ช่อง และส่วนที่ผู้อื่นทุบออก 1 ช่อง ถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถรื้อถอนกำแพงออกไปหมดตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามหนังสือสัญญาตกลงร่วมหุ้นมีข้อความว่า "...เมื่อผู้ร่วมหุ้นที่ 2 (จำเลย) ทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดที่ดินที่จะซื้อขายภายใน 40 วัน นับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้"แม้จะไม่มีข้อความใดระบุว่าให้จำเลยรื้อถอนจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่เมื่อถ้อยคำในสัญญาระบุชัดแจ้งแล้วว่าให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนด ย่อมแสดงว่าจำเลยต้องรื้อถอนกำแพงด้านทิศตะวันออกทั้งหมด จำเลยรื้อถอนกำแพงออกไป 6 ช่องแล้วถูกดำเนินคดี จึงก่อสร้างกำแพงกลับสู่สภาพเดิม 5 ช่อง คงเหลือส่วนที่จำเลยทุบออก 1 ช่อง และส่วนที่ผู้อื่นทุบออก 1 ช่อง ถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถรื้อถอนกำแพงออกไปหมดตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนกำแพงวัดต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าอาวาส สัญญาไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หากจำเลยไม่รื้อถอนตามสัญญาถือเป็นผิดสัญญา
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยว่าจำเลยจะทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตของวัดที่อยู่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของที่ดินแปลงตามสัญญาตกลงร่วมหุ้นออกไปภายใน 40 วัน นับแต่วันทำหนังสือนั้น เมื่อตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 บัญญัติว่า วัดมีสองอย่าง (1) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (2) สำนักสงฆ์ ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป มาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ (1) บำรุงวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี และมาตรา 40 บัญญัติว่า ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ดังนั้น เมื่อวัดเป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกันบุคคลบุคคลธรรมดา กำแพงวัดเป็นเพียงศาสนสมบัติของวัดซึ่งเจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการก่อสร้างหรือรื้อถอนเพื่อประโยชน์ของวัดได้ หากจำเลยสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสเพื่อขอรื้อถอนกำแพงวัดและทางวัดยินยอม จำเลยย่อมสามารถรื้อถอนกำแพงวัดได้ การที่จำเลยได้ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์เนื่องจากจำเลยเห็นว่าตนสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่เป็นโมฆะ
ตามหนังสือสัญญาตกลงร่วมหุ้นมีข้อความว่า "เมื่อผู้ร่วมหุ้นที่ 2(จำเลย) ทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดที่ดินที่จะซื้อขายภายใน 40 วัน นับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้" แม้จะไม่มีข้อความใดระบุว่าให้จำเลยรื้อถอนจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่เมื่อถ้อยคำในสัญญาระบุชัดแจ้งแล้วว่าให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนด ย่อมแสดงว่าจำเลยต้องรื้อถอนกำแพงด้านทิศตะวันออกทั้งหมด จำเลยรื้อถอนกำแพงออกไป6 ช่องแล้วถูกดำเนินคดี จึงก่อสร้างกำแพงกลับสู่สภาพเดิม 5 ช่อง คงเหลือส่วนที่จำเลยทุกออก 1 ช่อง และส่วนที่ผู้อื่นทุบออก 1 ช่อง ถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถรื้อถอนกำแพงออกไปหมดตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามหนังสือสัญญาตกลงร่วมหุ้นมีข้อความว่า "เมื่อผู้ร่วมหุ้นที่ 2(จำเลย) ทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดที่ดินที่จะซื้อขายภายใน 40 วัน นับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้" แม้จะไม่มีข้อความใดระบุว่าให้จำเลยรื้อถอนจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่เมื่อถ้อยคำในสัญญาระบุชัดแจ้งแล้วว่าให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนด ย่อมแสดงว่าจำเลยต้องรื้อถอนกำแพงด้านทิศตะวันออกทั้งหมด จำเลยรื้อถอนกำแพงออกไป6 ช่องแล้วถูกดำเนินคดี จึงก่อสร้างกำแพงกลับสู่สภาพเดิม 5 ช่อง คงเหลือส่วนที่จำเลยทุกออก 1 ช่อง และส่วนที่ผู้อื่นทุบออก 1 ช่อง ถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถรื้อถอนกำแพงออกไปหมดตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งกายเป็นพระภิกษุโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าอาวาส ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
คณะสงฆ์ผู้พิจารณาชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยให้จำเลยลึกจากการเป็นพระภิกษุจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยดังกล่าวต่อคณะสงฆ์การยื่นอุทธรณ์จะกระทำโดยชอบหรือไม่ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งได้ลึกจากการเป็นพระภิกษุไปแล้วกลับมาเป็นพระภิกษุใหม่อีกการที่จำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุและไม่ยอมออกไปจากวัดตามคำสั่งของเจ้าอาวาสวัดดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา208,368วรรคแรกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา38(1),45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, คุณสมบัติเจ้าอาวาส, หนังสือมอบอำนาจ, การเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจเบิกจ่าย, และการส่งมอบสมุดบัญชี
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยได้ต้องเกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบเมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงเท่ากับจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การในข้อที่เกี่ยวกับการขาดคุณสมบัติเป็นเจ้าอาวาสของพระปลัดส.คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในข้อนี้แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์โดยพระปลัดส.ในฐานะเจ้าอาวาสได้มอบอำนาจให้ล. และว.ในฐานะผู้รับมอบอำนาจร่วมกระทำการด้วยกันโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีแก่จำเลยเกี่ยวกับสมุดบัญชีเงินฝากในธนาคารมิได้ให้แต่ละคนที่รับมอบอำนาจไปแยกกระทำการต่างหากจากกันดังจะเห็นได้จากใบแต่งทนายความที่ผู้รับมอบอำนาจทั้งสองก็ได้ลงลายมือชื่อร่วมกันเพื่อแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรข้อ7(ข)กำหนดค่าอากรแสตมป์ไว้30บาท ตามสำเนาบัญชีเงินฝากและสำเนาแบบขอฝากเงินของนิติบุคคลระบุว่าการเปิดบัญชีเงินฝากรายพิพาทนี้ทำในนามวัดโจทก์จำเลยเป็นเพียงผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวแทนโจทก์ได้เท่านั้นดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขลายมือชื่อผู้มีสิทธิเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวอย่างไรโจทก์ก็ย่อมทำได้อยู่แล้วกรณีไม่มีนิติกรรมอย่างใดให้จำเลยต้องไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวบุคคลที่จะลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์จึงบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและการมอบอำนาจดำเนินคดีที่ไม่ชอบ
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2513) ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสและที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ.2521) ข้อ 4 (1)เป็นการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสในกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาส โดยเจ้าคณะตำบลเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพระครู น.ยังเป็นเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องอยู่มิได้ลาสิกขา เจ้าคณะตำบลจึงไม่มีอำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องโดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคมข้อดังกล่าว คำสั่งของเจ้าคณะตำบลที่แต่งตั้งพระภิกษุ พ.เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้องจึงไม่ชอบพระภิกษุ พ.จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้อง ที่ ว.ยื่นคำร้องคดีนี้แทนผู้ร้องโดยพระภิกษุ พ.เป็นผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจในฐานะผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผู้ร้อง เป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนผู้ร้องโดยไม่ชอบ ว.ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้แทนผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4200/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการดำเนินคดีของไวยาวัจกร: ผู้แทนวัดที่แท้จริงคือเจ้าอาวาส
วัดจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นตัวความ ดังนั้น ผู้ที่จะว่าความด้วยตนเองหรือดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของวัดจำเลยที่ 1 หรือจะตั้งแต่งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนวัดจำเลยที่ 1 ได้ก็คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 ส่วนไวยาวัจกรของวัดจำเลยที่ 1 นั้น ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 8(พ.ศ. 2506) ข้อ 3 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505มาตรา 45 เป็นคฤหัสถ์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเจ้าอาวาสของวัดให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตและมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัด หาได้เป็นผู้แทนของวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จะมีอำนาจว่าความด้วยตนเองหรือดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแทนวัดได้เพราะได้รับยกเว้นตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4977/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัด: การแต่งตั้งโดยอธิบดีสงฆ์พม่าขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์
โจทก์เป็นวัดจึงต้องอยู่ในความปกครองของคณะสงฆ์ไทยตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์ต้องปฏิบัติตามบทกฎหมายและกฎดังกล่าว ดังนั้น การที่อธิบดีสงฆ์พม่าแต่งตั้งพระ ณ.เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมิใช่เป็นการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคม พระ ณ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4153/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าอาวาสในฐานะผู้แทนวัด: ไม่ต้องรับผิดส่วนตัวต่อสัญญาที่ทำในหน้าที่
จำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ให้ปรับปรุงที่ดินของจำเลยที่ 1 และบอกเลิกสัญญากับโจทก์ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่เป็นการกระทำในหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4153/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดส่วนตัวของเจ้าอาวาสในสัญญาที่ทำแทนวัด: เจ้าอาวาสไม่ต้องรับผิดหากทำหน้าที่ผู้แทนวัด
จำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ให้ปรับปรุงที่ดินของจำเลยที่ 1 และบอกเลิกสัญญากับโจทก์ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่เป็นการกระทำในหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว.