พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างและขอบเขตความรับผิดของบริษัทในเครือ: การพิสูจน์อำนาจและการเชิดตัวแทน
บันทึกยืนยันข้อตกลงตามเอกสารหมาย ล.1 มีข้อความเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งลงนามแทนโดย ส. กับ ช. แต่ในขณะตกลงว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น ส.หรือกรรมการอื่นในบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยังมิได้เข้าไปเป็นกรรมการในบริษัทจำเลยที่ 4 แต่เพิ่งเข้ามาเป็นกรรมการในบริษัทจำเลยที่ 4 ในภายหลัง ส. จึงกระทำการในฐานะกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น แต่ตามข้อบังคับบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กำหนดให้มีกรรมการบริษัท 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัท จึงจะสามารถกระทำกิจการต่าง ๆ ผูกพันบริษัทได้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ไปทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ ดังนั้น การที่ส.ไปเจรจาตกลงว่าจ้างโจทก์ รวมทั้งทำหนังสือยืนยันข้อตกลงโดยลงลายมือชื่อร่วมกับ ช. ซึ่งขณะนั้น ช. ก็ยังไม่ได้เข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานตามสัญญาว่าจ้างและขอเบิกเงินค่าตอบแทนกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามสัญญา จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ได้เชิด ส. ให้เป็นตัวแทนของบริษัทจำเลยที่ 2 และที่ 3 สัญญาว่าจ้างตามเอกสารหมาย ล.1 จึงผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น
แม้เอกสารหมาย จ.7จะกล่าวถึงจำเลยที่ 1 และบริษัทในเครือ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะเป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ถือว่าการกระทำของบริษัทหนึ่ง ให้มีผลผูกพันบริษัทในเครือด้วย เมื่อบริษัทในเครือแต่ละบริษัทได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน การกระทำกิจการใด ๆ หรือการทำนิติกรรมใด ๆ ของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดมีผลผูกพันบริษัทหรือไม่ ก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดชอบเพียงใด ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณี เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การปฏิเสธว่า ส.หรือจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้ไปทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมายจ.7 และไม่มีข้อเท็จจริงอื่นใดที่ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์เชิด ส. หรือจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 การที่บริษัท อ. เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นของจำเลยที่ 4 จากจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 4 ถือเอาประโยชน์จากการเป็นตัวแทนของ ส. ได้ สัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 30ได้ให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางออกข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อใช้บังคับในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ โดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกา ซึ่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 31 ศาลมีอำนาจอนุญาตให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลแทนการนำผู้ให้ถ้อยคำนั้นมาเบิกความเป็นพยานต่อหน้าศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อข้อกำหนดดังกล่าวได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ค. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาแทนการนำ ค. มาเบิกความต่อศาลได้
แม้เอกสารหมาย จ.7จะกล่าวถึงจำเลยที่ 1 และบริษัทในเครือ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะเป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ถือว่าการกระทำของบริษัทหนึ่ง ให้มีผลผูกพันบริษัทในเครือด้วย เมื่อบริษัทในเครือแต่ละบริษัทได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน การกระทำกิจการใด ๆ หรือการทำนิติกรรมใด ๆ ของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดมีผลผูกพันบริษัทหรือไม่ ก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดชอบเพียงใด ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณี เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การปฏิเสธว่า ส.หรือจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้ไปทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมายจ.7 และไม่มีข้อเท็จจริงอื่นใดที่ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์เชิด ส. หรือจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 การที่บริษัท อ. เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นของจำเลยที่ 4 จากจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 4 ถือเอาประโยชน์จากการเป็นตัวแทนของ ส. ได้ สัญญาว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 30ได้ให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางออกข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อใช้บังคับในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ โดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกา ซึ่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 31 ศาลมีอำนาจอนุญาตให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลแทนการนำผู้ให้ถ้อยคำนั้นมาเบิกความเป็นพยานต่อหน้าศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้เมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อข้อกำหนดดังกล่าวได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ค. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาแทนการนำ ค. มาเบิกความต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนตามกฎหมาย: การเชิดตัวแทนและผลผูกพันสัญญา แม้ไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นตัวแทนโดยชัดแจ้ง
แม้สัญญาจ้างเหมาเรือจะไม่ระบุว่าบริษัท ค. เป็นตัวแทนหรือกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่สินค้าคือปูนซีเมนต์ที่บรรทุกมากับเรือนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 ที่สั่งซื้อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อนำมายังประเทศไทยซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ใบตราส่งก็ระบุว่าผู้รับตราส่งหรือผู้รับสินค้าคือจำเลยที่ 1 เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือเกาะสีชัง ประเทศไทยแล้ว นายเรือก็ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ไปทำการขนสินค้าตามหนังสือบอกกล่าวความพร้อมซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่า/ผู้รับสินค้า ต่อมาโจทก์ที่ 1 ได้ทำการกักสินค้า จำเลยที่ 1 ได้ติดต่อบริษัท ค. ให้ติดต่อฝ่ายโจทก์ให้ปล่อยสินค้าโดยระบุว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้โอนเงินค่าระวางเรือจำนวน 160,000 ดอลลาร์สหรัฐ มาเรียบร้อยแล้ว โดยจำเลยที่ 1 จะรับผิดชอบเรื่องค่าเรือเสียเวลาจำนวน 1,550,000 บาท โดยให้ธนาคารทำสัญญาค้ำประกัน ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นจำนวน 1,550,000 บาท ด้วย เมื่อขนถ่ายสินค้าเสร็จแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเรือเสียเวลาให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ได้ทวงถามตามหนังสือทวงถามซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าเหมาเรือ จำเลยที่ 1 ก็ไม่เคยโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้เช่าเรือเลย สัญญาที่จำเลยที่ 1 จ้างบริษัท ค. ขนถ่ายสินค้านั้นปรากฏข้อความว่าจำเลยที่ 1 ให้บริษัท ค. จัดเตรียมเรือเดินทะเลเพื่อขนถ่ายสินค้าทำนองให้กระทำการแทนเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทน
แม้คำฟ้องโจทก์ที่ 1 จะบรรยายฟ้องว่า บริษัท ค. ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เป็นการบรรยายฟ้องในเรื่องกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องตัวการตัวแทนได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
(วรรคนี้วินิจฉัยตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 8191/2538)
ตามสัญญาจ้างเหมาเรือไม่มีข้อห้ามว่ากรณีที่มิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดี นอกจากนี้ ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 ว่าด้วยวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น หมวด 3 ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ และ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ก็มิได้มีข้อห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนเช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 บัญญัติว่า "ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ก็ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย" แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นคำให้การ แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลไต่สวนก่อนตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและศาลไม่จำต้องจำหน่ายคดี
แม้คำฟ้องโจทก์ที่ 1 จะบรรยายฟ้องว่า บริษัท ค. ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เป็นการบรรยายฟ้องในเรื่องกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องตัวการตัวแทนได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
(วรรคนี้วินิจฉัยตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 8191/2538)
ตามสัญญาจ้างเหมาเรือไม่มีข้อห้ามว่ากรณีที่มิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดี นอกจากนี้ ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 ว่าด้วยวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น หมวด 3 ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ และ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ก็มิได้มีข้อห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนเช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 บัญญัติว่า "ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ก็ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย" แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นคำให้การ แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลไต่สวนก่อนตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและศาลไม่จำต้องจำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทนซื้อสินค้า: ความผูกพันชำระหนี้แม้มีการจ้างเหมาช่วง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ตกลงรับจ้างก่อสร้างโรงเรือนสุกรพันธุ์ แม้จำเลยที่ 1 จะนำสืบแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้จ้างจำเลยที่ 3 ทำงานแทนก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 4 ไปพบโจทก์ ให้โจทก์คำนวณราคาแบบติดตั้งและอุปกรณ์โดยแนะนำว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ดูแลงานก่อสร้างดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหนังสือสั่งซื้อและติดตั้งอุปกรณ์การก่อสร้างไปถึงโจทก์ แล้วจำเลยที่ 2 โอนเงินให้โจทก์บางส่วน นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังเคยติดต่อให้โจทก์ออกใบกำกับภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 อีกด้วย กรณีจึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1เชิดจำเลยที่ 4 ว่าเป็นตัวแทนของตนติดต่อซื้ออุปกรณ์ติดตั้งคอกสุกรจากโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องผูกพันชำระราคาส่วนที่ค้างแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาทางนิติกรรมโดยปริยาย (การเชิดตัวแทน) และผลผูกพันตามกฎหมาย
ทางพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ต่อมาจำเลยที่ 1แบ่งแยกที่ดินส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของทางพิพาทออกเป็น10 แปลง เนื้อที่แปลงละ 50 ตารางวา โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำนวน 1 แปลง และผ่อนชำระเงินจนครบถ้วนแล้วโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะการที่ต่อมาจำเลยที่ 2 ทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะคิดค่าตอบแทนจากโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นเป็นเงินรายละ 20,000 บาท โดยบางครั้งจำเลยที่ 2เป็นผู้รับชำระค่าที่ดินนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เก็บเงินค่าผ่อนชำระราคาที่ดินจากผู้ซื้อและรับชำระเงินค่าผ่อนที่ดินแทน และฝ่ายจำเลยที่ 1 เพิ่งจะไม่ยอมตกลงยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะหลังจากจำเลยที่ 2ตกลงทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้วถึง20 กว่าวัน เป็นการแสดงออกของจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2ออกเป็นตัวแทน หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับที่ดินของจำเลยที่ 1ตลอดมาได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยคิดค่าตอบแทนจากโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าการตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2010/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทน: การยินยอมโดยปริยายให้ผู้อื่นทำสัญญาซื้อขายแทน แม้ไม่มีหนังสือมอบอำนาจ
ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 กำลังก่อสร้างทาวน์เฮาส์ จำเลยที่ 1ได้ไปตั้งสำนักงานติดต่อซื้อขายทาวน์เฮาส์ของจำเลยที่ 2 โดยใช้ชื่อโครงการซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อร้านอาหารของจำเลยที่ 2จำเลยที่ 1 ได้เช่าบริเวณหน้าบ้านของ ท. ซึ่งอยู่คนละฟากถนนตรงกันข้ามกับสถานที่ก่อสร้างเป็นสำนักงานขายชั่วคราว มีพนักงาน2 คน คอยให้บริการ มีแผ่นใบปลิวโฆษณาแบบบ้านและราคาบ้านจำเลยที่ 1 ยังปิดประกาศขายทาวน์เฮาส์ตลอดแนวถนนที่จะเข้ามายังบริเวณก่อสร้าง จำเลยที่ 2 ขับรถไปจอดที่บริเวณก่อสร้างและพูดสั่งงานแก่คนงานก่อสร้าง และพนักงานของจำเลยที่ 1 พาลูกค้าไปพูดคุยกับจำเลยที่ 2 ที่บริเวณก่อสร้าง ภริยาจำเลยที่ 2 ได้ถ่ายเอกสารโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้นำภาพถ่ายโฉนดที่ดินดังกล่าวแสดงให้ผู้ที่มาติดต่อขอซื้อทราบว่าที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างทาวน์เฮาส์โดยถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งจำเลยที่ 1ยังมีหนังสือสัญญายินยอมซึ่งจำเลยที่ 2 ตกลงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและทำการขายทาวน์เฮาส์ที่กำลังก่อสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 2 การติดต่อซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์และบุคคลอื่นทั่ว ๆ ไป ก็กระทำกันอย่างเปิดเผยการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จำเลยที่ 2 รู้เห็นตลอดมาแต่มิได้ห้ามปราม ตามพฤติการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เชิดจำเลยที่ 1 ออกแสดงเป็นตัวแทนหรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 1เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์พิพาท ซึ่งรวมทั้งการก*ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ และรับเงินมัดจำด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 การเป็นตัวแทนเชิดดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องการตั้งตัวแทนตามปกติแต่อย่างใดไม่ จึงไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทน การให้สัตยาบัน และผลผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดิน
จำเลยที่1เป็นมารดาของจำเลยที่2จำเลยที่1ได้เคยขายบ้านซึ่งจำเลยที่2มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยแม้จำเลยที่2จะเบิกความว่าไม่ได้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่1ขายบ้านดังกล่าวแต่เมื่อจำเลยที่2ทราบเรื่องขายบ้านแล้วก็มิได้ดำเนินการใดๆถือเป็นการยอมรับการจัดการของจำเลยที่1และในการจัดการดูแลรวมทั้งการขายที่ดินพิพาทจำเลยที่2ก็ปล่อยให้เป็นภาระการจัดการของจำเลยที่1โดยลำพังพฤติการณ์ของจำเลยที่2เช่นนี้เป็นการแสดงออกที่มีผลให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องเข้าใจและรับรู้ถึงอำนาจการจัดการของจำเลยที่1เป็นการเชิดจำเลยที่1ให้กระทำการแทนจำเลยที่2โดยออกหน้าเสมือนเป็นตัวการแม้ในสัญญาซื้อขายที่ดินจะมิได้ระบุว่าจำเลยที่1ได้กระทำไปในฐานะตัวแทนจำเลยที่2ก็ตามแต่จากพฤติการณ์ที่จำเลยที่1และที่2ปฏิบัติแสดงออกดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเข้าใจว่าจำเลยที่1ทำการแทนจำเลยที่2โดยออกหน้าเป็นตัวการตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา806นอกจากนี้ยังได้ความว่าจำเลยที่2ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทที่ได้รับจากโจทก์และมอบให้จำเลยที่1รับเงินตามเช็คไปแสดงชัดว่าเป็นการยอมรับผลแห่งสัญญาซื้อขายที่ดินที่จำเลยที่1เป็นผู้กระทำการแทนโดยออกหน้าเป็นตัวการถือได้ว่าจำเลยที่2เป็นตัวการที่มิได้เปิดเผยชื่อนั้นได้กลับแสดงตนให้ปรากฎและเข้ารับเอาสัญญาที่ตัวแทนได้ทำแทนตนนั้นแล้วทั้งยังมีผลเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่1อีกด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823จำเลยที่2จึงต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าเกิน 500 บาท หนังสือรับสภาพหนี้ และการเชิดตัวแทนทางกฎหมายทำให้เกิดผลผูกพันและอายุความสะดุดหยุด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซื้อเครื่องกำจัดน้ำเสียกับพลาสติกมีเดีย จากโจทก์ โจทก์ส่งมอบสินค้าครบถ้วนแต่จำเลยที่ 1ชำระค่าสินค้าไม่ครบ ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าสินค้าที่ยังค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย โจทก์แนบสำเนาใบส่งของและสำเนาหนังสือแจ้งยอดเงินค้างชำระไว้ท้ายคำฟ้องปรากฏรายการสินค้าที่โจทก์ส่งให้จำเลยที่ 1 และราคาสินค้าทั้งหมด รวมทั้งรายการชำระเงินค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเมื่อหักกลบลบกันแล้วเหลือยอดเงินค้างชำระตามที่โจทก์ฟ้อง เช่นนี้ คำฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 ส่วนมีการซื้อขายกี่ครั้งครั้งละเท่าใด เป็นเงินเท่าใด ชำระแล้วเมื่อใด ค้างชำระการซื้อขายครั้งใด เท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การซื้อขายมีราคาเกินกว่า 500 บาท โดยมิได้ทำสัญญาหรือทำหลักฐานเป็นหนังสือหรือวางประจำไว้ แต่มีการทำหนังสือรับสภาพหนี้กันไว้ โจทก์ส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ชำระราคาบ้างแล้วถือว่าการซื้อขายรายนี้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีผู้เป็นหุ้นส่วน3 คน การที่จำเลยที่ 1 มอบให้ ส. หุ้นส่วนคนหนึ่งเสนอประมูลราคาก่อสร้างงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่นลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างตามสัญญา พนักงานของโจทก์ติดต่อกับ ส. ขายสินค้าให้จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยที่ 1 ก็ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821เมื่อ ส. ลงลายมือชื่อรับรองรายการส่งสินค้าพร้อมราคาและรายการชำระเงินค่าสินค้าบางส่วนซึ่งเมื่อหักกลบลบกันแล้วปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์ดังนี้เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และการเชิดตัวแทนทางกฎหมาย ทำให้หนี้ไม่ขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โดย ส. ได้ซื้อเครื่องกำจัดน้ำเสียกับพลาสติกมีเดียจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบสินค้าตามที่สั่งซื้อครบถ้วน แต่จำเลยที่ 1 ยังชำระค่าสินค้าไม่ครบ ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าสินค้าที่ยังค้างชำระพร้อมด้วยดอกเบี้ย โจทก์ได้แนบสำเนาใบส่งของและสำเนาหนังสือแจ้งยอดเงินค้างชำระไว้ท้ายฟ้องด้วย ซึ่งตามสำเนาเอกสารดังกล่าวปรากฏรายการสินค้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 และราคาสินค้าทั้งหมดรวมทั้งรายการชำระเงินค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเมื่อหักกลบลบกันแล้วคงเหลือยอดเงินที่ค้างชำระตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นคำฟ้องที่ได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172แล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่า มีการซื้อขายกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใด เป็นเงินเท่าใด ชำระแล้วเมื่อใด ค้างชำระการซื้อขายครั้งใดเท่าใด เพราะรายละเอียดดังกล่าวเป็นเรื่องที่อาจนำสืบพยานกันได้ในชั้นพิจารณา การซื้อขายทรัพย์ที่มีราคาเกินกว่าห้าร้อยบาทแม้จะมิได้มีการทำสัญญาหรือทำหลักฐานเป็นหนังสือหรือได้วางประจำไว้แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าการซื้อขายดังกล่าวได้มีการทำหนังสือรับสภาพหนี้กันไว้และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ชำระราคาบ้างแล้ว จึงถือว่าการซื้อขายรายนี้ได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องขอให้บังคับคดีได้ตามความในมาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยที่ 1 ได้เชิดให้ ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 การที่ ส.ลงลายมือชื่อในเอกสารซึ่งมีลักษณะเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และเป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการและความรับผิดในสัญญาซื้อขาย: การเชิดตัวแทนเพื่อซื้อวัสดุ
จำเลยที่ 1 รับจ้างก่อสร้างโรงงานฆ่าสัตว์ให้แก่เทศบาลเมืองระยอง โดยมอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ทำสัญญาจ้างและเป็นผู้รับเงินค่าจ้างและมอบหมายให้ ส.เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างส.สั่งซื้อและรับมอบวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างจากโจทก์นำไปใช้ในการก่อสร้างโรงงานฆ่าสัตว์ดังกล่าว พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนในการติดต่อซื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างไปจากโจทก์ ดังนี้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระค่าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่โจทก์ในฐานะเป็นตัวการ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันจำนอง-ค้ำประกัน: เจตนาแก้ไขวัตถุประสงค์-การเชิดตัวแทนต่อบุคคลภายนอก
แม้วัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองอันเป็นข้อความซึ่งบังคับให้จดทะเบียนนั้นยังไม่ได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาก็ตามแต่ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็อาจถือเอาประโยชน์จากการขดจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในข้อกิจการจำนองของจำเลยดังกล่าวได้แล้วตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1023 สัญญาจำนองจึงผูกพันจำเลย หลังจากจำเลยที่ 3 เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสืบต่อจากจำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 3 ยังคงยอมให้จำเลยที่ 4 ครอบครองตราของห้างอยู่และเมื่อจะทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ก็ยินยอมให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการเสมือนยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตามเดิมโดยจำเลยที่ 3 มิได้ทักท้วงว่ากล่าวหรือแจ้งให้โจทก์ทราบแต่ประการใดพฤติการณ์บ่งชัดว่าจำเลยที่ 3 ตั้งใจเชิดจำเลยที่ 4 ให้ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาค้ำประกันในนามของห้างจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ก็มิได้ล่วงรู้ข้อความจริงเช่นว่านั้น ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 821และจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างด้วย.