พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดบริษัทเพื่อหลอกลวงทำสัญญา และความผิดสัญญาพัฒนาที่ดิน
ในวันที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัตนาที่ดินกับจำเลย จำเลยได้จัดการให้โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างรั้วกับบริษัท ค. โดยทำที่สำนักงานของจำเลย ซึ่งสัญญาทั้งหมดมี พ. ผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้าของจำเลยลงลายมือชื่อในฐานะผู้จะขายและผู้รับจ้างทั้งสองสัญญา นอกจากนี้จำเลยและบริษัท ค. มีกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นบุคคลชุดเดียวกัน และในการทำสัญญาจองที่ดินก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์จะต้องทำสัญญาก่อสร้างรั้วกับบริษัท ค. โจทก์เพิ่งรู้จักชื่อบริษัท ค. ในวันเดียวกับวันทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินกับจำเลย ดังนั้น โจทก์และลูกค้ารายอื่นย่อมีเหตุผลเชื่อว่า จำเลยและบริษัท ค. ได้ร่วมประกอบธุรกิจหาผลประโยชน์ในกิจการเดียวกัน ฟังได้ว่า จำเลยได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญว่าจ้างก่อสร้างรั้ว โจทก์จึงหลงผิดเข้าทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างรั้วโดยเชื่อว่าบริษัท ค. ร่วมประกอบธุรกิจกับจำเลยจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบริษัท ค. เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821
สัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ชำระค่างวดให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่พัฒนาที่ดินโดยการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกตามสัญญา ถึงแม้สัญญาจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาการพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จไว้โดยชัดเจนก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าจำเลยจะดำเนินการให้เสร็จเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ความพอใจของจำเลย โจทก์ชำระค่างวดให้จำเลยไปแล้ว 499,900 บาท และนับแต่ทำสัญญาจนถึงวันที่โจทก์มีหนังสือขอคืนเงินมัดจำเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2541 เป็นเวลา 2 ปีเศษ จำเลยยังไม่สามารถพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จ ทั้งๆ ที่จำเลยโฆษณาไว้ว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2540 ถือว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ชำระค่างวดให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่พัฒนาที่ดินโดยการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกตามสัญญา ถึงแม้สัญญาจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาการพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จไว้โดยชัดเจนก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าจำเลยจะดำเนินการให้เสร็จเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ความพอใจของจำเลย โจทก์ชำระค่างวดให้จำเลยไปแล้ว 499,900 บาท และนับแต่ทำสัญญาจนถึงวันที่โจทก์มีหนังสือขอคืนเงินมัดจำเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2541 เป็นเวลา 2 ปีเศษ จำเลยยังไม่สามารถพัฒนาที่ดินให้แล้วเสร็จ ทั้งๆ ที่จำเลยโฆษณาไว้ว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2540 ถือว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดบริษัทเพื่อทำสัญญาหลอกลวง: จำเลยต้องรับผิดเสมือนตัวแทน
เมื่อโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับบริษัทจำเลย จำเลยได้จัดการให้โจทก์ทำสัญญากับบริษัท ร. เพื่อว่าจ้างบริษัท ร. พัฒนาที่ดินและสร้างสาธารณูปโภคในโครงการของจำเลย และทำสัญญากับบริษัท ม. เพื่อตั้งบริษัท ม. เป็นตัวแทนจัดซื้อวัสดุ โดยทำที่สำนักงานของจำเลย มีกรรมการบริษัทจำเลยร่วมลงลายมือชื่อในฐานะผู้จะขายและในฐานะผู้รับจ้างทั้งสองสัญญา ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์ปรากฏว่าจำเลยและบริษัท ร. ล้วนแต่มีกรรมการชุดเดียวกันและพนักงานของบริษัทจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาทุกฉบับ โจทก์และลูกค้ารายอื่นย่อมมีเหตุผลเชื่อว่าจำเลยกับบริษัท ร. และบริษัท ม. ได้ร่วมประกอบธุรกิจหาผลประโยชน์ในกิจการเดียวกัน ทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน สัญญาว่าจ้างพัฒนาที่ดินและสร้างสาธารณูปโภค และสัญญาตั้งตัวแทนจัดซื้อวัสดุ มีข้อความระบุว่า หากโจทก์ผิดสัญญาเดียวหรือสองสัญญา ยอมให้จำเลยหรือบริษัท ร. หรือบริษัท ม. ยกเลิกสัญญาได้ทุกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวได้ พฤติกรรมของจำเลยรับฟังได้ว่า จำเลยได้เชิดบริษัท ร. และบริษัท ม. เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาว่าจ้างพัฒนาที่ดินและสร้างสาธารณูปโภคและสัญญาตั้งตัวแทนจัดซื้อวัสดุแทนทำให้โจทก์หลงผิดเข้าทำสัญญากับบริษัท ร. และบริษัท ม. โดยเชื่อว่าบริษัททั้งสองร่วมประกอบธุรกิจกับจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าบริษัททั้งสองเป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการต้องรับผิดเสมือนตัวแทนเมื่อเชิดบริษัทเพื่อกระทำการทางสัญญา และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท อ. ทำการก่อสร้างบ้าน โดยจ้างบริษัท ค. จัดซื้อและคัดเลือกวัสดุก่อสร้าง และ จ้างจำเลยที่ 1 ควบคุมการปลูกสร้างบ้านหลังดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดให้โจทก์ทำสัญญากับบริษัท อ. และ บริษัท ค. ทั้งที่โจทก์ ไม่รู้จักบริษัททั้งสอง จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการให้โจทก์ทำสัญญาดังกล่าวและเป็นผู้รับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจากโจทก์ พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดบริษัททั้งสองแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบริษัททั้งสองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่และคดีขาดอายุความหรือไม่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยทั้งสองประเด็นนี้ไว้ในคำพิพากษาและพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์และจำเลยที่ 1 ยื่นคำแก้อุทธรณ์โดยมิได้กล่าวอ้างปัญหาทั้งสองข้อนี้ไว้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ทั้งสองประเด็นจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่และคดีขาดอายุความหรือไม่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยทั้งสองประเด็นนี้ไว้ในคำพิพากษาและพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์และจำเลยที่ 1 ยื่นคำแก้อุทธรณ์โดยมิได้กล่าวอ้างปัญหาทั้งสองข้อนี้ไว้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ทั้งสองประเด็นจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย