คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช็ค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,865 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8331/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบของจำเลยผู้สลักหลังเช็ค, การรับฟังพยานสำเนาเช็คเมื่อต้นฉบับสูญหาย, การตีใช้หนี้
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค ส่วนจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 บัญญัติให้บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในเช็คย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น เมื่อจำเลยทั้งหมดให้การต่อสู้ว่าได้ชำระหนี้ตามเช็คแล้ว โดยจำเลยที่ 2 โอนสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ 2 คูหา ให้แก่โจทก์เป็นการตีใช้หนี้ อันเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดตามเช็ค หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกอยู่แก่จำเลยทั้งสอง การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 2 โอนสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ตีใช้หนี้ตามเช็คฉบับอื่น เป็นเพียงการนำสืบแก้ข้อกล่าวอ้างที่จำเลยทั้งสองยกขึ้นโต้เถียงในคำให้การเท่านั้น หน้าที่นำสืบในประเด็นข้อนี้หาได้ตกอยู่แก่โจทก์ไม่
จำเลยทั้งสองมีหน้าที่นำสืบ แต่นำสืบให้รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามเช็คให้แก่โจทก์แล้วตามข้อกล่าวอ้าง หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อความในเช็ค
แม้โจทก์จะอ้างเอกสารซึ่งเป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายเฉพาะด้านหน้าของเช็คก็ตาม แต่โจทก์อ้างว่าได้มอบต้นฉบับเช็คคืนแก่จำเลยทั้งสองไปแล้ว จำเลยทั้งสองคงคัดค้านเพียงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นสำเนา มิได้คัดค้านว่า ต้นฉบับไม่มีหรือเอกสารปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ทั้งมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ต้นฉบับเช็คอยู่ที่จำเลยทั้งสองจริงหรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลจึงรับฟังสำเนาเช็คดังกล่าวประกอบคำเบิกความของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7917/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ทรงเช็คในการฟ้องบังคับหนี้จากผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง แม้มีการฟ้องหนี้กู้ยืมเงินไปแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 สลักหลังเป็นอาวัลเช็คที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 แล้วส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินบางส่วน ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินจึงหาได้ระงับไปไม่โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้ยืมเงินย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์และโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามเนื้อความที่ปรากฏในเช็คในฐานะเป็นผู้สลักหลังและให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายด้วยการที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงินแก่โจทก์ หาได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากมูลหนี้ตามเช็คไปด้วยไม่ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์
คำฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทจำเลยที่ 1 เป็นผู้สลักหลัง ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งสองย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อความที่ปรากฏในเช็คพร้อมดอกเบี้ย โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเฉพาะมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1 นำเช็คดังกล่าวไปชำระหนี้แก่โจทก์หาได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากการที่จักต้องรับผิดชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็คไปด้วยไม่ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยจึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยว่าการรับฟังพยานหลักฐานนอกประเด็นเพื่อวินิจฉัยชำระหนี้ด้วยรถยนต์แทนเช็ค เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อปลายปี 2516 จำเลยสั่งจ่ายเช็คสองฉบับแต่มิได้ลงวันที่สั่งจ่ายแล้วนำเช็คดังกล่าวมาแลกเงินจากโจทก์ โดยตกลงชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เดือนละครั้ง จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เรื่อยมาจนถึงกลางปี 2535 จึงหยุดชำระดอกเบี้ย โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยขอผัดผ่อน โจทก์จึงลงวันที่ในเช็คพิพาทแล้วนำไปเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การรับว่า เมื่อปลายปี 2516 จำเลยนำเช็คพิพาทไปขอแลกเงินจากโจทก์จริง แต่หลังจากที่โจทก์รับเช็คพิพาททั้งสองฉบับจากจำเลยแล้ว โจทก์ปฏิเสธไม่ให้เงินแก่จำเลยและโจทก์มิได้คืนเช็คพิพาทให้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ลงวันที่ในเช็คพิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย เป็นการลงวันที่ในเช็คพิพาทหลังจากรับเช็คไว้ถึง 28 ปีเศษ จึงไม่ใช่เป็นการลงวันที่ในเช็คโดยสุจริตตามกฎหมาย โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์หรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า เมื่อปี 2525 ถึงปี 2529 จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยให้จำเลยนำรถยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 2 คัน มาโอนลอยไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกัน และจำเลยได้นำรถยนต์ทั้งสองคันมาตีใช้หนี้โจทก์จนครบถ้วนแล้ว โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีหนี้สินติดค้างกันอีก เป็นการนำสืบถึงการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยได้กู้ยืมจากโจทก์ระหว่างปี 2525 ถึงปี 2529 มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่นำไปแลกเงินกับโจทก์เมื่อปลายปี 2516 ตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การไว้ จึงนำข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้มารับฟังว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับแล้วหาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็น การที่ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ได้ยึดรถยนต์ทั้งสองคันของจำเลยแทนการชำระหนี้อันเป็นการคิดหักบัญชีชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเสร็จสิ้นแล้ว เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงไม่มีมูลหนี้กันอีก และพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความ: หลักเกณฑ์การใช้สิทธิไล่เบี้ยและผลกระทบต่อความรับผิด
การที่จะเรียกบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเข้ามาในคดีนั้นจะต้องแสดงเหตุผลว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้เรียกบริษัท ผ. เข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยทั้งสองนั้นได้ความว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่บริษัท ผ. ต่อมาบริษัท ผ. ได้สลักหลังโอนให้โจทก์ ดังนั้นหากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองในฐานะผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากบริษัท ผ. ผู้สลักหลังได้ กรณีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเรียกบริษัท ผ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม: สิทธิไล่เบี้ยจากผู้รับเช็ค (สลักหลัง) ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 57(3)
การที่จะเรียกบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเข้ามาในคดีนั้นจะต้องแสดงเหตุผลว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้เรียกบริษัท ผ. เข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยทั้งสองนั้นได้ความว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ลงลายมือชื่อจ่ายเช็คพิพาทให้แก่บริษัท ผ. ต่อมาบริษัท ผ. ได้สลักหลังโอนให้แก่โจทก์ ดังนั้น หากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองในฐานะผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากบริษัท ผ. ผู้สลักหลังได้ กรณีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเรียกบริษัท ผ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008-5010/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คชำระหนี้กู้ยืมที่มีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย ถือเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง
โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 24 ต่อปี เกินกว่าอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับตามฟ้องแยกเป็นการชำระเงินต้นเท่าใด ชำระดอกเบี้ยเท่าใด จึงถือว่าเช็คตามฟ้องทั้ง 7 ฉบับ ที่จำเลยสั่งจ่ายแก่โจทก์ได้รวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ทุกฉบับ แม้ธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 7 ฉบับจำเลยก็ไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดเช็ค: ต้องมีหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย การรับสภาพหนี้ไม่สร้างหนี้ใหม่
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 การออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นจะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วย ข้อเท็จจริงที่ว่าการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จึงเป็นองค์ประกอบการกระทำความผิดหาได้เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาไม่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้และแนบสำเนาสัญญารับสภาพหนี้มาท้ายฟ้อง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว เพราะการรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่ เพียงแต่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เท่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90-92/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อชำระหนี้ค่าหุ้น แม้สัญญาซื้อขายหุ้นไม่ติดอากรแสตมป์ ไม่กระทบความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 ที่บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉีกหรือส่วนของตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้นำตราสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ด้วย
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าหุ้นที่จำเลยซื้อจากโจทก์ร่วมโดยมีบันทึกสัญญาซื้อขายหุ้นมาแสดง ก็ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังเช็คก่อน/หลังแก้ไขวันที่ และผลต่อความรับผิดของผู้สลักหลัง
จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คก่อนที่มีการนำไปขายให้โจทก์ ไม่ใช่สลักหลังภายหลังที่มีการแก้ไขวันที่ลงในเช็คและจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยินยอมให้แก้ไข การแก้ไขดังกล่าวเป็นข้อสำคัญและเห็นประจักษ์เช็คเป็นอันเสียเฉพาะจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็คมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันที่ในเช็คโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้สลักหลัง ทำให้เช็คเสียเฉพาะผู้สลักหลัง และไม่ต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขวันที่ลงในเช็ค ซึ่งถือเป็นข้อสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น เช็คพิพาทเป็นอันเสียเฉพาะจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิด
of 187