พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้บัญชีเรียกเก็บเงินเป็นของกรรมการ, เช็คลงวันที่แล้วสมบูรณ์
จำเลยออกเช็คพิพาทมอบแก่บริษัทโจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนดแม้โจทก์จะนำเข้าบัญชี ส.กรรมการผู้จัดการโจทก์ โดยโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่ ส. โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน กรณีเพียงการนำเช็คพิพาทเข้าเรียกเก็บเงินโดยอาศัยบัญชีของ ส. เท่านั้น โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ และไม่ว่าโจทก์จำนะเช็คพิพาทเข้าบัญชีโจทก์เองหรือเข้าบัญชีของ ส. เพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็นเพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ไม่ใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญอันจะทำให้การเป็นผู้เสียหายของโจทก์ไม่สมบูรณ์
เดิมจำเลยออกเช็คพิพาทโดยยังไม่ลงวันที่เพื่อค้ำประกัน ในกรณีที่สะสางจำนวนเงินกับลูกค้าให้เรียบร้อยได้แล้วโจทก์จะไม่นำเช็คเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ต่อมาโจทก์ได้นำเช็คพิพาทไปให้จำเลยลงวันที่ อันเป็นการรับรองว่าจำนวนเงินที่ระบุในเช็คเป็นมูลหนี้จำนวนแน่นอนและเจตนาชำระหนี้นั้นด้วยเช็คพิพาทแล้ว จึงไม่ใช่เช็คค้ำประกัน แม้มีการชำระหนี้ไปแล้วบางส่วนก็ไม่ได้ทำให้เช็คพิพาทที่สมบูรณ์อยู่แล้วไม่สมบูรณ์
เดิมจำเลยออกเช็คพิพาทโดยยังไม่ลงวันที่เพื่อค้ำประกัน ในกรณีที่สะสางจำนวนเงินกับลูกค้าให้เรียบร้อยได้แล้วโจทก์จะไม่นำเช็คเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ต่อมาโจทก์ได้นำเช็คพิพาทไปให้จำเลยลงวันที่ อันเป็นการรับรองว่าจำนวนเงินที่ระบุในเช็คเป็นมูลหนี้จำนวนแน่นอนและเจตนาชำระหนี้นั้นด้วยเช็คพิพาทแล้ว จึงไม่ใช่เช็คค้ำประกัน แม้มีการชำระหนี้ไปแล้วบางส่วนก็ไม่ได้ทำให้เช็คพิพาทที่สมบูรณ์อยู่แล้วไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้พึงประเมินต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว เช็คลงวันที่ล่วงหน้ายังไม่ถือเป็นเงินได้ในปีที่ได้รับเช็ค
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น จะต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว ไม่ใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้า เมื่อเช็ค 16 ฉบับที่โจทก์ได้รับจาก ด. ในปี 2534 เป็นเช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้าสั่งจ่ายเงินในปี 2535 และ 2536 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ในปีภาษี 2534 ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับเงินได้พึงประเมินเป็นเงิน 2,254,000 บาท ตามเช็คที่สั่งจ่ายล่วงหน้าจำนวน 16 ฉบับนั้นในปีภาษี 2534 ซึ่งจะต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2534 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทลงวันที่หลังออกเช็ค: สิทธิเรียกร้อง, อายุความ, การสลักหลัง, และการไล่เบี้ย
ผู้ตายได้ออกเช็คพิพาทโดยเว้นรายการวันที่ออกเช็คไว้ให้ลูกแชร์ คือผู้ทรงไป โดยมีข้อตกลงว่าให้ผู้ทรงไปลงวันที่เองตามกำหนดที่เปียแชร์ได้ แต่นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย วงแชร์จึงล้มไม่มีการเปีย เวลาพึงชำระหนี้ตามเช็คที่อาศัยการเปียแชร์เป็นวิธีกำหนดจึงตกเป็นการพ้นวิสัย และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้ เจ้าหนี้คือผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน แต่ผู้ตายถูกคนร้ายฆ่าเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน2528 สิทธิของผู้ทรงที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อผู้สั่งจ่ายจึงเริ่มมีขึ้นและมีอยู่ตลอดไปถึงวันครบกำหนดอายุความที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามมูลตั๋วเงินนั้น ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ1 ปี นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ปรากฏว่าผู้ทรงได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจใช้สิทธิได้ดังกล่าว จึงเป็นการลงวันที่สั่งจ่ายโดยถูกต้องแท้จริงตามสิทธิโดยสุจริตแล้ว รายการในเช็คพิพาทจึงสมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อการลงวันที่ในเช็คพิพาทมีผลตามกฎหมาย วันที่ลงในเช็คพิพาทอันเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงินที่ปรากฏดังกล่าวคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันนั้น โจทก์ผู้ทรงฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2530 จึงไม่เกินกำหนด 1 ปี ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ จึงมีผลเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 เมื่อได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้ทรงตามที่เรียกร้องแล้ว โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินตามเช็คไปแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ตามมาตรา 940 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเพิ่มเติม, เช็คลงวันที่ล่วงหน้า, การเรียกร้องหนี้ในคดีล้มละลาย, สละสิทธิเงื่อนเวลา
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อเรือยนต์จากจำเลย โดยชำระด้วยเงินสดบางส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่ละเดือน รวม 13 ฉบับ ภายหลังจำเลยได้โอนเช็คดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอก สัญญาระหว่างจำเลยและผู้ร้องเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์เรือยนต์ให้แก่ผู้ร้องแล้ว และผู้ร้องต้องชำระหนี้ค่าเรือยนต์ให้ครบถ้วนในวันเดียวกัน การที่จำเลยและผู้ร้องตกลงกันให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นรายเดือนตามจำนวนเงินในเช็คเป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นสัญญาเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะคืนเช็คก่อนถึงกำหนด แล้วขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ทั้งหมดทันที หรือขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับเมื่อเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดไม่ได้ แม้จะถือว่ามูลหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายและต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนผิดสัญญา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ส่วนหนี้ตามเช็คฉบับที่ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลแล้วกับเช็คอีก 3ฉบับ ที่ผู้ทรงเช็คซึ่งรับโอนไปจากจำเลยได้นำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่าผู้ร้องยินยอมชำระเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับนี้ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือว่าผู้ร้องสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าก่อนล้มละลาย ไม่ถือว่าเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้
การที่เช็คลงวันที่ล่วงหน้าซึ่งลูกหนี้นำไปชำระหนี้แก่ผู้คัดค้าน ถึงกำหนดภายในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการ ขอให้ล้มละลาย คงเป็นแต่เพียงผลที่กฎหมายบัญญัติให้หนี้ ระงับไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เท่านั้น ไม่อาจถือได้ว่า วันที่เช็คถึงกำหนดเป็นวันที่ลูกหนี้กระทำ หรือยอมให้กระทำ ในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ ล้มละลาย โดยมุ่งหมาย ให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าก่อนล้มละลาย ไม่ถือเป็นการให้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
การที่เช็คลงวันที่ล่วงหน้าซึ่งลูกหนี้นำไปชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านถึงกำหนดภายในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายคงเป็นแต่เพียงผลที่กฎหมายบัญญัติให้หนี้ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เท่านั้นไม่อาจถือได้ว่าวันที่เช็คถึงกำหนดเป็นวันที่ลูกหนี้กระทำหรือยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1791/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, เช็คลงวันที่ล่วงหน้า, และผลของการไม่นำเช็คไปขึ้นเงิน: หนี้ยังไม่ระงับ
จำเลยตกลงซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ โดยให้โจทก์อาศัยอยู่ในสิ่งปลูกสร้างอีก 6 เดือน โจทก์ยอมให้จำเลยชำระราคาบางส่วน ราคาส่วนที่เหลือจำเลยจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า 6 เดือนให้โจทก์ไว้ ต่อมาโจทก์จำเลยขอให้เจ้าพนักงานที่ดินทำสัญญาซื้อขายจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลย ระบุว่าโจทก์ได้รับเงินค่าที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อโจทก์นำเช็คไปขอรับเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน อ้างว่าเช็คพ้นกำหนดการจ่ายเงิน ดังนี้ โจทก์จำเลยยังเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาซื้อขายฉบับเดิมต่อไปตามเงื่อนไขเรื่องให้โจทก์มีสิทธิอยู่อาศัยในสิ่งปลูกสร้างแลกเปลี่ยนกับการผ่อนระยะเวลา การชำระค่าที่ดินที่ยังมิได้ชำระ การทำสัญญาซื้อขายจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเพียงพิธีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น หาได้มีเจตนาจะแปลงหนี้หรือยกเลิกสัญญาฉบับเดิมไม่ เมื่อจำเลยมิได้เสียหายเนื่องจากการที่โจทก์มิได้นำเช็คไปรับเงินตามกำหนดและไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นกรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 และ 1005 จำเลยต้องรับผิดชำระราคาที่ดินที่ยังเหลืออยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คลงวันที่ล่วงหน้า ธนาคารซื้อแม้เงินในบัญชีจำเลยมีน้อย ไม่ถือเป็นการร่วมกระทำผิด
จำเลยเซ็นเช็คสั่งจ่ายเงินไว้ล่วงหน้า 1 เดือน โดยมีเงินในบัญชีเพียงเล็กน้อย ผู้ทรงนำไปขายให้แก่ธนาคารที่ถูกสั่งให้จ่ายเงินธนาคารรู้ว่าในขณะนั้นจำเลยมีเงินไม่พอแต่คงยอมรับซื้อไว้ ต่อมาถึงกำหนดชำระเงินตามเช็ค ธนาคารนำเช็คนั้นเข้าบัญชีแต่ธนาคารก็ปฏิเสธที่จะจ่ายเงิน เพราะในบัญชีของจำเลยมีเงินไม่พอ ดังนี้ ธนาคารย่อมเป็นผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์ให้ว่ากล่าวเป็นคดีได้ จะอ้างว่าธนาคารได้ร่วมรู้เห็นเป็นใจกระทำผิดกับจำเลยด้วยหาได้ไม่ เพราะในระยะ 1 เดือนก่อนถึงกำหนดนั้น จำเลยอาจนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยให้พอจ่ายได้