คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช็คหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คฉบับใหม่แทนเช็คที่หาย: 'เนื้อความเดียวกัน' หมายถึง สาระสำคัญใช้บังคับได้ ไม่ใช่ข้อความเหมือนเดิมทุกประการ
คำว่า "เนื้อความเดียวกัน" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1011 มิได้หมายความว่าจะต้องมีข้อความเหมือนเดิมทุกประการมิฉะนั้น วรรคสองของมาตราเดียวกันนี้คงไม่บัญญัติว่า หากผู้สั่งจ่ายรับคำขอร้องดั่งว่ามานั้นแล้ว หากบอกปัดไม่ยอมให้ตั๋วเงินคู่ฉบับเช่นนั้นอาจจะถูกบังคับให้ออกให้ก็ได้ ซึ่งการบังคับดังกล่าว เป็นกรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล หากจะต้องลงวัน เดือน ปี เหมือนเดิมทุกประการตั๋วเงินอาจขาดอายุความหรือไม่สามารถบังคับด้วยเหตุอื่น กฎหมายมิได้มีเจตนารมณ์เช่นนั้น คำว่าเนื้อความเดียวกัน จึงมีความหมายแต่เพียงว่า จะต้องมีสาระสำคัญใช้บังคับได้เช่นตั๋วเงินฉบับเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8055/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องเช็คฉบับใหม่กรณีเช็คหายก่อนกำหนดชำระ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1011
โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คของธนาคารนครหลวงไทยจำกัดสาขานครราชสีมา6295จำนวนเงิน178,500บาทโดยมีจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายก่อนเช็คถึงกำหนดโจทก์ได้นำไปเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนสุดบรรทัด เพื่อให้เรียกเก็บเงินตามเช็คปรากฏว่าเช็คดังกล่าวสูญหายไประหว่างธนาคารดำเนินการเรียกเก็บเงินโจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยออกเช็คฉบับใหม่ให้แล้วแต่จำเลยเพิกเฉยถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องย่อมเป็นกรณีที่เช็คหายไปก่อนเวลาล่วงเลยกำหนดใช้เงินโจทก์ผู้ทรงเช็คอาจร้องขอไปยังจำเลยผู้สั่งจ่ายให้ออกเช็คเป็นเนื้อความเดียวกันแก่ตนใหม่อีกฉบับหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1011ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะฟ้องเรียกร้องให้จำเลยออกเช็คฉบับใหม่ให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6708/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารและลูกจ้างจากการจ่ายเช็คปลอม และความเสียหายจากเช็คหาย
ป.เป็นเพียงลูกจ้างของโจทก์ มีหน้าที่ในการขับรถ ไม่มีหน้าที่ลงลายมือชื่อในเช็คของโจทก์แทนโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมในการปลอมลายมือชื่อในเช็คพิพาท นอกจากนี้ ป.เบิกเงินตามเช็คพิพาทไปตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2529ดังนั้นแม้ ว.และ ส.ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์จะได้ทราบว่าเช็คพิพาทหายไปจากสมุดเช็คในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2529 ก็ตาม ว.และ ส.ก็แจ้งให้ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาเมืองพานทราบเพื่อไม่ให้จ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวไม่ทันอยู่ดี การที่ว.และ ส.มิได้แจ้งให้ธนาคารจำเลยที่ 1 ทราบว่าเช็คพิพาทถูกลักจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ก่อความเสียหายขึ้นโดยตรง โจทก์จึงไม่เป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1 จ่ายเงินของจำเลยที่ 1 ไปโดยประมาทเลินเล่อไม่ตรวจดูลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเทียบกับตัวอย่างลายมือชื่อของผู้แทนโจทก์ที่ให้ไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 1ให้ดีเสียก่อนนั้น เป็นเพียงเหตุที่ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายไม่อาจหักเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคารโจทก์ได้เท่านั้น จึงเป็นกรณีจำเลยที่ 2และที่ 3 ทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำละเมิดต่อโจทก์ไม่เพราะโจทก์ยังคงมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ตามสัญญาฝากเงินตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันได้ตามกฎหมายต่อเมื่อธนาคารจำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีของโจทก์และปฏิเสธที่จะคืนเงินให้โจทก์ตามจำนวนเงินที่เหลืออยู่เดิมจึงได้ก่อข้อโต้แย้งสิทธิตามสัญญาฝากเงินขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ หาใช่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำละเมิดต่อโจทก์ขึ้นตั้งแต่ที่จ่ายเงินไปโดยประมาทเลินเล่อนั้นไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดฐานละเมิด ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกหนี้จากเช็คหาย คดีไม่เข้ามาตรา 1002 ป.พ.พ. พิจารณาจากวันออกเช็ค
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ แต่เช็คฉบับนั้นหาย ขอให้จำเลยชำระใหม่ ดังนี้ คดีปรับเข้ามาตรา 1002 ป.ม.แพ่งฯไม่ได้ และคดีนี้ดจทกืฟ้องภายหลังออกเช็ค 1 ปี 6 เดือน คดีไม่มีประเด็นว่าหนี้เดิมเป็นหนี้อะไร จะถือว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 1002 ไม่ได้