พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วยังอยู่อาศัยต่อโดยไม่ยินยอม ถือเป็นการละเมิดสิทธิและต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ในชั้นชี้สองสถานจำเลยยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาท 2ประเด็นคือ1.โจทก์ให้คำมั่นจะให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก6ปีหรือไม่และ2.โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยหรือไม่แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าอีกต่อไปหรือไม่ประเด็นดังกล่าวนี้ได้ครอบคลุมรวมถึงประเด็นที่จำเลยประสงค์ให้กำหนดไว้แล้วทั้งสองประเด็นทั้งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยปัญหาทั้งสองประเด็นนี้ไว้แล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดประเด็นพิพาทเพิ่มเติมอีก คำมั่นจะให้เช่าที่ดินพิพาทต่อของโจทก์เป็นเพียงคำมั่นด้วยวาจาซึ่งอยู่นอกเหนือจาก ข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิมแม้จำเลยจะสนองรับคำมั่นนั้นก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมและเกิดสัญญาเช่าขึ้นใหม่ก็ตามแต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำหลักฐานการเช่าที่ดินพิพาทใหม่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับผิดเป็นสำคัญจำเลยย่อมไม่อาจขอบังคับให้โจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538 หนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินมีกำหนดระยะเวลา20ปีนับตั้งแต่วันที่13สิงหาคม2515ดังนั้นสัญญาเช่าจึงสิ้นสุดลงในวันที่13สิงหาคม2535โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา564ปรากฏข้อเท็จจริงว่าภายหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วเพียง4วันโจทก์ก็มา ฟ้องขับไล่จำเลยแสดงว่าโจทก์ได้ทักท้วงไม่ยอมให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำเป็นต้องมีการบอกเลิกสัญญากันอีก เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงผู้เช่ายังอยู่ในที่ดินพิพาทโดยผู้ให้เช่าไม่ได้ยินยอมจึงเป็นการอยู่ในที่พิพาทโดยมิได้อาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าการอยู่ในที่ดินพิพาทของผู้เช่าจึงเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ให้เช่าผู้เช่าต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ให้เช่าส่วนค่าเสียหายเมื่อผู้เช่าแถลงต่อศาลชั้นต้นยอมรับว่า ค่าเสียหายของโจทก์คิดเป็นเงินเดือนละ20,000บาทศาลย่อมกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ20,000บาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน เป็นโมฆะ ใช้ได้เพียง 3 ปี การอยู่ต่อถือเป็นการเช่าสิ้นสุดแล้ว
เช่าโรงแรมมีกำหนดเวลารวม 8 ปี. โดยทำสัญญาเช่ากันไว้ล่วงหน้าเป็น 3 ระยะ ระยะละ 3 ปี 3 ปี และ 2 ปี ตามลำดับโดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการหลีกเลี่ยงมาตรา 538แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปีเท่านั้น(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 768/2490)
เมื่อการเช่าบังคับกันได้เพียง 3 ปีตามสัญญาฉบับแรกและครบกำหนดเวลานั้นแล้วการที่ผู้เช่าอยู่ต่อมาในโรงแรมที่เช่าอาจถือได้ว่าเป็นการเช่าไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570ซึ่งบัญญัติว่า หากผู้เช่ายังครองทรัพย์สินนั้นอยู่และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง แต่พฤติการณ์ที่ผู้เช่าส่งค่าเช่าเดือนแรกนับแต่การเช่าสิ้นสุดลงไปให้ ผู้ให้เช่าก็ไม่ยอมรับและส่งค่าเช่าคืนนับว่าเป็นการทักท้วงแล้ว แม้ผู้เช่าจะยังครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ต่อมา ก็ไม่อาจถือได้ว่าการอยู่ต่อมาของผู้เช่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 อันจะต้องมีการบอกเลิกการเช่าให้ถูกต้องตามมาตรา 566 การเช่าระงับลงแล้ว เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าฉบับแรกตามมาตรา 564 (หมายเหตุ ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 173/2506 เปรียบเทียบ)
เมื่อการเช่าบังคับกันได้เพียง 3 ปีตามสัญญาฉบับแรกและครบกำหนดเวลานั้นแล้วการที่ผู้เช่าอยู่ต่อมาในโรงแรมที่เช่าอาจถือได้ว่าเป็นการเช่าไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570ซึ่งบัญญัติว่า หากผู้เช่ายังครองทรัพย์สินนั้นอยู่และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง แต่พฤติการณ์ที่ผู้เช่าส่งค่าเช่าเดือนแรกนับแต่การเช่าสิ้นสุดลงไปให้ ผู้ให้เช่าก็ไม่ยอมรับและส่งค่าเช่าคืนนับว่าเป็นการทักท้วงแล้ว แม้ผู้เช่าจะยังครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ต่อมา ก็ไม่อาจถือได้ว่าการอยู่ต่อมาของผู้เช่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 อันจะต้องมีการบอกเลิกการเช่าให้ถูกต้องตามมาตรา 566 การเช่าระงับลงแล้ว เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าฉบับแรกตามมาตรา 564 (หมายเหตุ ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 173/2506 เปรียบเทียบ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงในสัญญาเช่าให้สิทธิผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินและให้ผู้เช่ามีสิทธิซื้อก่อน หากไม่ซื้อถือเป็นการยินยอมให้เช่าสิ้นสุด
ในสัญญาเช่า โจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าเพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เชาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายให้แก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร ฯลฯ" ไม่ถือว่าเป็นความยินยอมไว้ล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯแต่ถือได้ว่าเป็นความยินยอมตามมาตรา 17(5) แห่งพระราชบัญญัตินี้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ตกลงจะขายที่ดินให้แก่ผู้มีชื่อ ได้บอกกล่าวให้จำเลยซื้อที่ดินก่อนตามข้อตกลงในสัญญาเช่า หรือให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและขอบอกเลิกการเช่ากับจำเลย จำเลยก็เฉยเสียไม่ตอบและไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และไม่ออกไปจากที่เช่า จึงขอให้ขับไล่ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเช่าเพื่ออยู่อาศัย จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 จำเลยไม่ได้สู้ไว้ให้ชัดเจนว่าโจทก์ไม่ได้ตกลงขายให้แก่ผู้มีชื่อและราคาไม่จริง กลับแถลงรับว่าได้รับจดหมายจากโจทก์จริงแต่ไม่ตอบไปเพราะไม่ติดใจซื้อ โดยโจทก์ขายราคาแพงมาก ดังนี้ ย่อมฟังข้อเท็จจริงได้ว่าโจทก์ได้ตกลงขายที่ดินให้แก่ผู้มีชื่อจริง และราคาจริง โจทก์ไม่จำต้องสืบอีก (อ้างฎีกาที่ 1448/2503)
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ตกลงจะขายที่ดินให้แก่ผู้มีชื่อ ได้บอกกล่าวให้จำเลยซื้อที่ดินก่อนตามข้อตกลงในสัญญาเช่า หรือให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและขอบอกเลิกการเช่ากับจำเลย จำเลยก็เฉยเสียไม่ตอบและไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และไม่ออกไปจากที่เช่า จึงขอให้ขับไล่ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเช่าเพื่ออยู่อาศัย จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 จำเลยไม่ได้สู้ไว้ให้ชัดเจนว่าโจทก์ไม่ได้ตกลงขายให้แก่ผู้มีชื่อและราคาไม่จริง กลับแถลงรับว่าได้รับจดหมายจากโจทก์จริงแต่ไม่ตอบไปเพราะไม่ติดใจซื้อ โดยโจทก์ขายราคาแพงมาก ดังนี้ ย่อมฟังข้อเท็จจริงได้ว่าโจทก์ได้ตกลงขายที่ดินให้แก่ผู้มีชื่อจริง และราคาจริง โจทก์ไม่จำต้องสืบอีก (อ้างฎีกาที่ 1448/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วจำเลยยังอยู่ต่อ ผู้ให้เช่ามีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ แม้จะคิดเป็นอัตราค่าเช่าเดิม
ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าโดยอ้างว่าสัญญาเช่าสิ้นสุดลง ได้บอกกล่าวให้ออกจากห้องเช่าแล้วจำเลยไม่ยอมออก จึงขอให้บังคับให้จำเลยออก และให้เสียค่าเช่าจนกว่าจะออกดังนี้ แม้จะถือว่าสัญญาเช่าเลิกกันแล้ว การที่จำเลยอยู่ต่อไปเป็นการละเมิด ผู้ให้เช่าต้องเรียกเป็นค่าเสียหาย ไม่ใช่ค่าเช่าก็ตาม แต่ตามฟ้องที่กล่าวก็พอถือได้ว่า ผู้ให้เช่าเรียกเอาค่าเสียหายเท่าในอัตราค่าเช่านั้นเอง ศาลย่อมพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอ