คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช่าโรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเมื่อมีการเช่าที่ดินและโรงงานแยกกัน การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
สัญญาเช่าที่ดินที่โจทก์เช่าจากกระทรวงการคลังระบุเฉพาะการเช่าที่ดินเท่านั้นแต่ในที่ดินดังกล่าว มีโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ซึ่งโจทก์เป็นผู้ปลูกสร้างและยกให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าที่โจทก์ได้ทำไว้กับจำเลยที่ 1 อีกต่างหากแสดงว่าการเช่าโรงงานแยกออกจากการเช่าที่ดิน ที่ดินที่ตั้งโรงงานเป็นของกระทรวง-การคลัง ส่วนโรงงานเป็นของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่โจทก์จะอ้างว่ามีค่ารายปีเฉพาะค่าเช่าที่ดิน ดังนั้นการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้นำค่าเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 มาตั้งเป็นฐานในการคำนวณค่ารายปีรวมกับค่าเช่าที่ดินแล้วกำหนดให้โจทก์เสีย-ภาษีโรงเรือนและที่ดินตามค่ารายปีที่โจทก์เสียค่าเช่าทั้งที่ดินและโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย จึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 3 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ตามอำนาจหน้าที่เมื่อผู้รับประเมินไม่พอใจได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ได้พิจารณามีคำชี้ขาด อันเป็นการปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ได้กระทำการใดเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดหน้าที่ จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อได้รับแจ้งคำชี้ขาดให้เสียภาษีแล้ว แม้จะมิได้ฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด แต่ก็ได้แจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อโจทก์จะได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาที่ให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 นับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามควรแก่พฤติการณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้นำคดีไปฟ้องต่อศาลเป็นเหตุให้โจทก์ต้องฟ้องคดีเอง มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933-1949/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จลูกจ้างต่อเนื่องจากนายจ้างเดิมหลังการเช่าโรงงาน และการคิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระ
สัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับจำเลยผู้เช่ากำหนดว่าระยะเวลาทำงานอันเป็นเกณฑ์ทำงานเงินบำเหน็จทดแทนของพนักงานและคนงานเดิมของโรงงานสุรากรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ผู้เช่ารับโอนมาทำงานกับผู้เช่าต่อไปมีอยู่แล้วเพียงใด ผู้เช่ายอมให้นำมานับต่อเนื่องกับระยะเวลาทำงานของพนักงานและคนงานนั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณจ่ายเงินบำเหน็จดังนั้นจะนำเฉพาะระยะเวลาที่ลูกจ้างจะทำงานกับจำเลยมาคำนวณบำเหน็จหาได้ไม่ข้อความอื่นในสัญญาเช่าที่กำหนดว่าจำเลยต้องนำเงินจำนวนเท่ากับค่าจ้างเดือนสุดท้ายของลูกจ้างทุก ๆ ปี ฝากประจำไว้กับธนาคารพาณิชย์เป็นเพียงหลักประกันว่าจำเลยว่าจำเลยจะมีเงินจ่ายเป็นบำเหน็จให้แก่ลูกจ้าเท่านั้นหาอาจแปลว่าจำเลยคงต้องจ่ายบำเหน็จเท่าค่าจ้างปีละเดือนเฉพาะระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานกับจำเลยไม่ ส่วนที่ลูกจ้างเคยรับบำเหน็จตัดตอนไปจากรมโรงงานอุตสาหกรรมและบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด นั้น เมื่อจำเลยเข้าดำเนินการในโรงงานสุรา จำเลยได้ตกลงทำสัญญาเช่าให้นำระยะเวลาทำงานของลูกจ้างตั้งแต่เข้าทำงานในโรงงานสุรามารวมเป็นฐานคำนวณบำเหน็จ จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า ดังนั้นการคำนวณบำเหน็จของลูกจ้างจึงต้องคำนวณโดยเอาค่าจ้างเดือนสุดท้ายของลูกจ้าง คูณด้วยระยะเวลาทำงานตั้งแต่เริ่มทำงานกับโรงงานสุราบางยี่ขันตลอดมาจนออกจากงานหรือตาย ได้จำนวนเงินเท่าใดลบด้วยจำนวนเงินบำเหน็จโดยเอาค่าจ้างเดือนสุดท้ายของลูกจ้างที่ได้รับจากบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดคูณด้วยระยะเวลาทำงานตั้งแต่เริ่มทำงานในโรงงานสุราบางยี่ขันตลอดมาจนถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2522 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่บริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเช่าโรงงานสุรา ผลลัพธ์เป็นจำนวนเงินบำเหน็จที่จำเลยต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง
คำสั่งของกระทรวงอุตสาหกรรมให้นับระยะเวลาเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จเป็นอย่างเดียวกับบทบัญญัติว่าด้วยการนับเวลาราชการทวีคูณของข้าราชการตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494มีความมุ่งหมายว่าพนักงานและคนงานโรงงานสุนามีฐานะใกล้เคียงกับข้าราชการ สมควรได้นับเวลางานทวีคูณอย่างเดียวกับข้าราชการแต่ไม่มีเหตุที่พนักงานและคนงานดังกล่าวจะได้นับเวลาทำงานทวีคูณนอกเหนือไปกว่าข้าราชการพึงได้รับ ดังนั้นหากมีเหตุตามกฎหมายที่ข้าราชการไม่อาจนับเวลาราชการทวีคูณ เหตุนั้นย่อมทำให้พนักงานและคนงานไม่อาจนับเวลาทำงานเป็นทวีคูณด้วย
เมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย จำเลยต้องชำระบำเหน็จแก่ลูกจ้างหรือทายาทตามสัญญาเช่า หนี้เงินบำเหน็จจึงถึงกำหนดชำระ หลังจากลูกจ้างหรือโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคหนึ่งหนี้บำเหน็จเป็นหนี้เงินจึงต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เมื่อวันทวงถามและผิดนัดสำหรับลูกจ้างไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเป็นวันใด โจทก์จึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเช่าโรงงานสุรา: การเสนอเช่าที่ไม่ได้รับการตอบรับ ไม่สร้างสิทธิ และไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนสัญญาเช่า
โจทก์เป็นเพียงผู้เสนอขอเช่าโรงงานสุราของรัฐว่ายินดีจะให้ผลประโยชน์แก่รัฐอย่างสูง เมื่อจำเลยที่1- ที่ 4 รับหลักการแล้ว ต่อมาปฏิเสธการขอเช่าเสียโดยอ้างว่าคณะกรรมการไม่สามารถรับเรื่องของโจทก์ไว้พิจารณาได้นั้น ย่อมเป็นอำนาจเด็ดขาดของจำเลยที่ 1-ที่ 4 และคณะกรรมการซึ่งเป็นฝ่ายผู้ให้เช่าที่จะทำการตกลงกับโจทก์ด้วยหรือไม่ เมื่อไม่มีการตกลงสนองรับข้อเสนอของโจทก์ ข้อเสนอของโจทก์ก็เป็นอันตกไป โจทก์จึงไม่ได้สิทธิเป็น ผู้เช่า และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเช่าโรงงานดังกล่าวแล้วการที่จำเลยที่ 1-ที่ 4 ให้จำเลยที่ 5 โดยจำเลยที่ 6 ที่ 7 เป็นผู้เช่าจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1-ที่ 4กับจำเลยที่ 5-ที่ 7 ได้
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้แล้วในระหว่างพิจารณา ศาลมีอำนาจหยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยได้ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มี อำนาจฟ้องก่อนถึงขั้นตอนที่จะมีรายการแห่งคดี ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้