คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เด็กกระทำผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3174/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งตัวเด็กกระทำผิดไปสถานพินิจฯ ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กจังหวัดจนกว่าจะอายุครบ18ปีไม่เป็นการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา18แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามมาตรา74(5)ที่เบากว่าการลงโทษจำคุกเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการเด็กกระทำผิดอาญาอายุไม่เกิน 14 ปี: พิจารณาสาเหตุและสภาพแวดล้อมรอบด้าน
ในกรณีที่เด็กอายุเกิน 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี กระทำผิดอาญานั้น กฎหมายไม่เอาโทษอาญาอยู่แล้ว และให้อำนาจศาลจัดการแก่เด็กตามสมควรแก่กรณีเป็นขั้นๆ ไปถึง 5 ข้อ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 ซึ่งเกี่ยวข้องกับบิดามารดาของเด็ก หรือผู้ปกครองเด็ก หรือบุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ ศาลจึงควรสอบถามเด็กและเรียกบุคคลดังกล่าวมาสอบถามพร้อมโจทก์ เพื่อจะได้ใช้ดุลพินิจจัดการแก่เด็กให้เหมาะสม จะพิจารณาแต่เฉพาะสภาพความผิดที่เด็กกระทำอย่างเดียวไม่ควร ไม่ว่าเด็กจะกระทำผิดร้ายแรงเพียงไรก็ชอบที่จะได้พิจารณาถึงสาเหตุแห่งการกระทำผิด สภาพความเป็นอยู่ของเด็กและครอบครัวของเด็กรวมทั้งสิ่งแวดล้อมทั้งปวง การส่งตัวเด็กไปยังสถานฝึกและอบรมเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) นั้น ควรกระทำต่อเมื่อจำเป็นต้องกระทำ หรือไม่มีวิธีอื่นใดที่จะกระทำได้ตามอนุมาตรา 1 ถึง 4 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการเด็กกระทำผิดอายุ 7-14 ปี: พิจารณาสาเหตุ, สภาพแวดล้อม, และความเหมาะสมของมาตรการ
ในกรณีที่เด็กอายุเกิน 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี กระทำผิดอาญานั้น กฎหมายไม่เอาโทษอาญาอยู่แล้ว และให้อำนาจศาลจัดการแก่เด็กตามสมควรแก่กรณีเป็นขั้นๆ ไปถึง 5 ข้อ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 ซึ่งเกี่ยวข้องกับบิดามารดาของเด็ก หรือผู้ปกครองเด็ก หรือบุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ ศาลจึงควรสอบถามเด็กและเรียกบุคคลดังกล่าวมาสอบถามพร้อมโจทก์ เพื่อจะได้ใช้ดุลพินิจจัดการแก่เด็กให้เหมาะสม จะพิจารณาแต่เฉพาะสภาพความผิดที่เด็กกระทำอย่างเดียวไม่ควร ไม่ว่าเด็กจะกระทำผิดร้ายแรงเพียงไร ก็ชอบที่จะได้พิจารณาถึงสาเหตุแห่งการกระทำผิด สภาพความเป็นอยู่ของเด็กและครอบครัวของเด็กรวมทั้งสิ่งแวดล้อมทั้งปวง การส่งตัวเด็กไปยังสถานฝึกและอบรมเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) นั้น ควรกระทำต่อเมื่อจำเป็นต้องกระทำ หรือไม่มีวิธีอื่นใดที่จะกระทำได้ตามอนุมาตรา 1 ถึง 4 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการเด็กกระทำผิดอาญา อายุเกิน 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปี ศาลต้องพิจารณาหลายปัจจัยและคำนึงถึงสภาพแวดล้อม
ในกรณีที่เด็กอายุเกิน 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี.กระทำผิดอาญานั้น. กฎหมายไม่เอาโทษอาญาอยู่แล้ว. และให้อำนาจศาลจัดการแก่เด็กตามสมควรแก่กรณีเป็นขั้นๆ ไปถึง5 ข้อ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74. ซึ่งเกี่ยวข้องกับบิดามารดาของเด็ก หรือผู้ปกครองเด็ก หรือบุคคลที่เด็กอาศัยอยู่. ศาลจึงควรสอบถามเด็กและเรียกบุคคลดังกล่าวมาสอบถามพร้อมโจทก์. เพื่อจะได้ใช้ดุลพินิจจัดการแก่เด็กให้เหมาะสม. จะพิจารณาแต่เฉพาะสภาพความผิดที่เด็กกระทำอย่างเดียวไม่ควร. ไม่ว่าเด็กจะกระทำผิดร้ายแรงเพียงไร.ก็ชอบที่จะได้พิจารณาถึงสาเหตุแห่งการกระทำผิด. สภาพความเป็นอยู่ของเด็กและครอบครัวของเด็กรวมทั้งสิ่งแวดล้อมทั้งปวง. การส่งตัวเด็กไปยังสถานฝึกและอบรมเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) นั้น. ควรกระทำต่อเมื่อจำเป็นต้องกระทำ. หรือไม่มีวิธีอื่นใดที่จะกระทำได้ตามอนุมาตรา 1 ถึง 4 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษจำคุกสำหรับเด็กกระทำผิด ลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 และ 75 ต้องพิจารณาโทษสูงสุดก่อน
จำเลยฎีกาโดยคัดลอกข้อความตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 และกล่าวไว้ในท้ายฎีกาว่า ขอให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาใหม่อีกครั้งหนึ่งและขอถือเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นส่วนหนึ่งในฎีกาของจำเลย ไม่มีข้อความระบุว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ส่วนใดมีข้อวินิจฉัยผิดพลาดคลาดเคลื่อนอย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของจำเลยก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาพิพากษาได้เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีผู้ซึ่งกระทำผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษห้าสิบปี การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ประกอบกับมาตรา 80 และ 83 ขณะกระทำผิดจำเลยอายุ 15 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 18 วรรคสอง และวรรคสาม แล้วคงจำคุก 25 ปี จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 74 คงจำคุก 12 ปี 6 เดือนนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะจะทำให้เด็กได้รับโทษเท่ากับผู้ใหญ่ ต้องเปลี่ยนโทษประหารชีวิตเป็นห้าสิบปีเสียก่อน แล้วจึงนำ ป.อ. มาตรา 80 ที่ให้ระวางโทษสองในสามของโทษห้าสิบปีมาปรับ ดังนั้นเมื่อลดมาตราส่วนโทษกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 18 วรรคสาม แล้ว โทษจำคุกที่กำหนดแก่จำเลย คือ 16 ปี 8 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุกเพียง 8 ปี 4 เดือน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225