พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจผู้พิพากษาในการรับรองอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ถือเป็นอำนาจเฉพาะตัวและเด็ดขาด
การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงให้หรือไม่ตามนัย ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการใช้อำนาจเฉพาะตัวและถือว่าดุลพินิจดังกล่าวเป็นอันเด็ดขาด จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เคยวินิจฉัยแล้วเด็ดขาด แม้มีการอ้างเหตุครอบครองปรปักษ์ก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คดีก่อนมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลย คู่ความตกลงท้ากันด้วยวิธีการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นข้อแพ้ชนะคดีโดยไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทและสืบพยาน ผลการรังวัดปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน กรณีย่อมถือว่าประเด็นพิพาทแห่งคดีที่ว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลยในคดีก่อนนั้นเป็นประเด็นโดยตรงได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อนและคดีถึงที่สุดไปแล้ว การที่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอีกว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา ในคดีก่อนเป็นของโจทก์ แม้คดีนี้โจทก์จะอ้างการครอบครองปรปักษ์มาด้วย ก็หาได้แตกต่างกับคดีก่อนที่อ้างว่าโจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่อย่างใดไม่ และไม่ทำให้ประเด็นพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นกรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องแล้วขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วม: เจตนาถอนฟ้องเด็ดขาด ทำให้ฟ้องใหม่ไม่ได้
ผู้ร้องฟ้องและถอนฟ้องจำเลยไปโดยไม่ปรากฏข้อความในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ แล้วต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ในคดีนี้อีก แม้ว่าผู้ร้องอาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้โดยไม่จำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการก็ตามแต่พฤติการณ์ที่ผู้ร้องเพิ่งจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์หลังจากที่ได้ถอนฟ้องคดีเดิมไปแล้วเป็นระยะเวลานานกว่า 10 เดือน เห็นได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาที่จะถอนฟ้องจำเลยเด็ดขาดแล้วตั้งแต่ต้นตามความหมายใน ป.วิ.อ. มาตรา 36 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการเท่ากับนำคดีมาฟ้องจำเลยใหม่จึงต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยอำนาจฟ้องเป็นเด็ดขาด: เสียเพียง 200 บาทตามกฎหมาย
กรณีศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องและคำให้การแล้วสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์ เนื่องจากไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง โดยคำพิพากษาหรือคำสั่งฉบับเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์ จำเลยต่อไปจึงเป็นการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227ซึ่ง ตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท และโจทก์เสียค่าขึ้นศาล 200 บาทครบตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ศาลชั้นต้นต้องรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป โดยโจทก์ไม่จำต้องเสียค่าขึ้นศาลในการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3951/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจไม่อนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริง: คำสั่งศาลชั้นต้นเด็ดขาด ไม่ต้องพิจารณาซ้ำ
การรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ตรี กฎหมายมอบให้เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจอนุญาตให้อุทธรณ์หรือไม่ เมื่อสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาอีกหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3951/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจไม่อนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริง: คำสั่งเด็ดขาด, ไม่ต้องสู่ศาลอุทธรณ์
ดุลพินิจในการอนุญาตให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรีเป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้มีคำสั่งตามคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์นั้น คู่ความจะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3951/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจไม่อนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเป็นเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาซ้ำ
ดุลพินิจในการอนุญาตให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้มีคำสั่งตามคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์นั้นจะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจากหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เจ้าหนี้โจทก์ไม่ขอรับชำระหนี้
การฟ้องคดีล้มละลายเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ฟ้องเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้รายอื่น ๆ ด้วย การที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ไม่ขอรับชำระหนี้ก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมีหน้าที่ดำเนินการให้ได้ผลเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้รายอื่น ๆ และคดีไม่ปรากฏเหตุขัดข้องแม้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียมในเมื่อที่ประชุมของเจ้าหนี้ได้แต่งตั้งเจ้าหนี้อื่นเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แทนแล้ว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 156 ข้อขัดข้องย่อมหมดไปไม่มีเหตุที่จะต้องยกฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์แล้วยื่นใหม่มิได้ แม้ยังอยู่ในอายุอุทธรณ์ หากคู่ความอีกฝ่ายมิได้อุทธรณ์
ภายหลังยื่นอุทธรณ์แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์โดยว่าไม่ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์อีกต่อไป แต่ครั้นแล้วจำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ใหม่โดยว่าที่ถอนไปนั้นเพราะหลงเชื่อผู้แนะว่าจะมีการอภัยโทษ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์ด้วย คำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมเด็ดขาดถึงที่สุดสำหรับจำเลยแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ใหม่อีก แม้จะยังอยู่ภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ก็ตาม
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2512)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลชี้ขาดประเด็นการอยู่อาศัยในที่ดินหลังประนีประนอม คำสั่งเด็ดขาดแล้วห้ามขอแก้ไข
การที่ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ย่อมใช้บังคับได้ตลอดถึงบริวารจำเลยด้วย
โจทก์ร้องว่า ผู้ร้องกับพวกเป็นบริวารจำเลยผู้ร้องกับพวกสู้ว่าไม่ได้เป็นบริวารจำเลยเพราะเป็นผู้เช่าที่ดินจากจำเลยศาลสั่งว่าให้ผู้ร้องกับพวกอยู่ในที่ดินโจทก์ต่อไปอีก 3 เดือน คำสั่งศาลที่ว่านี้เป็นคำสั่งศาลชี้ขาดในประเด็นระหว่างผู้ร้องกับโจทก์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในข้อโต้เถียงแล้วมิได้มีฝ่ายใดอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นย่อมเด็ดขาดถึงที่สุดตามกฎหมายและบังคับคดีต่อไปตามคำสั่งนั้นได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา271)
ศาลสั่งให้ผู้ร้องกับพวกอยู่ในที่ดินโจทก์ได้เพียง 3 เดือน เพราะการเช่าจากจำเลยเป็นการอยู่โดยอาศัยอำนาจจำเลย ชื่อว่าเป็นบริวารจำเลย ผู้ร้องขอให้แก้เป็นให้ผู้ร้องอยู่ได้ต่อไป เพราะผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลยย่อมไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา144(1) เพราะมิใช่การขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามมาตรา 143
โจทก์ร้องว่า ผู้ร้องกับพวกเป็นบริวารจำเลยผู้ร้องกับพวกสู้ว่าไม่ได้เป็นบริวารจำเลยเพราะเป็นผู้เช่าที่ดินจากจำเลยศาลสั่งว่าให้ผู้ร้องกับพวกอยู่ในที่ดินโจทก์ต่อไปอีก 3 เดือน คำสั่งศาลที่ว่านี้เป็นคำสั่งศาลชี้ขาดในประเด็นระหว่างผู้ร้องกับโจทก์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในข้อโต้เถียงแล้วมิได้มีฝ่ายใดอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นย่อมเด็ดขาดถึงที่สุดตามกฎหมายและบังคับคดีต่อไปตามคำสั่งนั้นได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา271)
ศาลสั่งให้ผู้ร้องกับพวกอยู่ในที่ดินโจทก์ได้เพียง 3 เดือน เพราะการเช่าจากจำเลยเป็นการอยู่โดยอาศัยอำนาจจำเลย ชื่อว่าเป็นบริวารจำเลย ผู้ร้องขอให้แก้เป็นให้ผู้ร้องอยู่ได้ต่อไป เพราะผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลยย่อมไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา144(1) เพราะมิใช่การขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามมาตรา 143