พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีทางปกครองและการเทียบเคียงบทบัญญัติละเมิดเมื่อไม่มีกำหนดเวลาเฉพาะ
ในคดีปกครองหากผู้ใดถูกกระทบสิทธิจากการกระทำหรือคำสั่งทางปกครอง ผู้นั้นย่อมต้องใช้สิทธิฟ้องร้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด กำหนดเวลาดังกล่าวหาใช่อายุความตามหลักแห่งกฎหมายเอกชนหรือกฎหมายแพ่งไม่ คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการเป็นคำสั่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2495 มาตรา 103 ประกอบ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2485 มาตรา 60 (2) และ 62 โดยเป็นการสั่งการฝ่ายเดียวในทางปกครองที่มุ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิหรือหน้าที่หรือสถานภาพทางกฎหมายของจำเลยจึงเป็นคำสั่งทางปกครองมิใช่นิติกรรมตาม ป.พ.พ. ต้องใช้กำหนดเวลาทางปกครองปรับแก่คดี แต่เมื่อพิจารณาตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนดังกล่าวแล้วไม่ปรากฏกำหนดเวลาในการที่จะนำคดีมาฟ้องศาล จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ ลักษณะละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคสอง ประกอบมาตรา 448 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมิได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการสอบสวนและมิได้สอบสวนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาตามกฎหมายและคำสั่งดังกล่าวกระทบสิทธิของโจทก์จนเกิดความเสียหาย โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้อง หรือภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันล่วงสิทธิ เมื่อกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้ปลดโจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2496 ซึ่งถือเป็นวันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้ที่โจทก์จะพึงใช้สิทธิฟ้องร้องแล้ว โจทก์จะต้องฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้อง แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2537 เกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้อง คดีโจทก์จึงพ้นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องร้อง
ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ถูกกระทำละเมิดในปี 2533 เพราะมิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพตาม พ.ร.ก.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2533 นั้น ในวันดังกล่าวมิใช่วันล่วงสิทธิ แต่เป็นผลกระทบมาจากคำสั่งที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2496
ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ถูกกระทำละเมิดในปี 2533 เพราะมิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพตาม พ.ร.ก.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2533 นั้น ในวันดังกล่าวมิใช่วันล่วงสิทธิ แต่เป็นผลกระทบมาจากคำสั่งที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2496
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาอันแท้จริงต้องเทียบเคียงสินค้าคุณภาพเดียวกัน การประเมินราคาที่ไม่ตรงกับคุณภาพสินค้าถือเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
การพิจารณาหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าชนิดใด ต้องนำราคาขายส่งสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันมาเทียบเคียง การหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ จึงต้องเทียบเคียงกับราคาของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพเช่นเดียวกัน การที่กรมศุลกากรนำราคาผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพสูงกว่าสินค้าที่นำเข้าแล้วลดราคาลงมาเทียบเคียง ย่อมไม่ใช่ราคาขายส่งของผ้าเส้นใยประดิษฐ์ที่มีคุณภาพอย่างเดียวกันจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่นำเข้าดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรโดยวิธีการดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาชนิดสินค้าที่เทียบเคียงได้ ราคาจึงจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
ในการพิจารณาหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือราคาสินค้านั้นราคาสิ่งของที่นำมาเทียบเคียงกันได้นอกจากจะต้องเป็นประเภทเดียวกันแล้วยังจะต้องเป็นชนิดเดียวกันอีกด้วย แซ็กคารินที่ผู้อื่นนำเข้าและโจทก์ถือเอาราคาเป็นราคาแท้จริงในท้องตลาดนั้น แม้จะเป็นสินค้าที่สั่งซื้อจากบริษัทเดียวกับที่จำเลยสั่งซื้อและนำเข้า แต่ชื่อต่างกันโดยสินค้าที่จำเลยนำเข้าระบุชื่อว่าแซ็กคาริน ส่วนสินค้าที่ผู้อื่นนำเข้าระบุชื่อว่าโซเดียมโซลูเบิลแซ็กคาริน ขนาด (MESHSIZE) ของสินค้า 2 รายนี้ก็ต่างกัน ดังนี้ ฟังไม่ได้ว่าสินค้าที่โจทก์ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินภาษีอากรเป็นสินค้าชนิดเดียวกับสินค้าของจำเลย ราคาแซ็กคารินที่ผู้อื่นนำเข้าจึงไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของแซ็กคารินที่จำเลยนำเข้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับชำระหนี้จากเงินฝากประกันหนี้ ต้องเป็นสิทธิอื่นที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิ
สิทธิอื่น ๆ ตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สิน ของลูกหนี้ และจะต้องเป็นสิทธิที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็นสิทธิประเภทแรกด้วย ผู้ร้องได้ส่งเงินตามอายัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วต่อมาผู้ร้องขอรับเงินที่ส่งตามอายัดคืนโดยอ้างว่า เงินฝากในบัญชี ของจำเลยที่ส่งให้นั้นนอกจากค้ำประกันเงินกู้ของลูกค้าจำเลยแล้ว ยังค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยอีกด้วย จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องอยู่ ผู้ร้องมีสิทธินำเงินจำนวนที่ส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามอายัดไปหักหนี้เบิกเงินเกินบัญชีได้ก่อนอยู่แล้วจึงขอให้คืนเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ดังนี้ผู้ร้องมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็นสิทธิอื่น ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอก
อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่ง มาตรา 287 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอเงินที่ส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามอายัดคืนและไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ของตนได้
อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่ง มาตรา 287 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอเงินที่ส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามอายัดคืนและไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ของตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญากู้ ศาลเทียบเคียงกับลายมือชื่อจริงในสำนวนได้
สัญญากู้ที่ส่งศาลจัดว่าเป็นพยานหลักฐานอันหนึ่ง เมื่อเถียงกันว่าลายมือชื่อผู้กู้ตามสัญญานั้นเป็นลายมือชื่อของจำเลยจริงหรือไม่ ศาลย่อมพิจารณาเทียบเคียงพิเคราะห์กับลายมือชื่อของจำเลยที่แท้จริงในท้องสำนวนซึ่งรับรองกันอยู่แล้วประกอบกับคำพยานแล้ววินิจฉัยชี้ขาดว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยตามที่เป็นข้อโต้เถียงกันได้ ไม่ผิดกระบวนพิจารณาอย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าภาษีโรงเรือนโดยเทียบเคียงกับห้องใกล้เคียง และสิทธิในการฟ้องคัดค้านคำประเมิน
การคำนวณค่าภาษีโรงเรือนโดยอาศัยคิดเทียบกับห้องที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งเป็นปัญหาว่าจะเป็นการสมควรเพียงไรนั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คำตัดสินของอธิบดีสรรพากรเป็นเด็ดขาดนำคดีสู่ศาลไม่ได้ในเรื่องทรัพย์สินวางหรือชำรุดซึ่งเจ้าของขอลดหรือปลดค่าภาษี แต่ในเรื่องตั้งเกณฑ์ประเมินค่ารายปี เจ้าของย่อมนำคดีสู่ศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: วิธีการเทียบเคียงค่าเช่าและกำหนดค่ารายปีที่เหมาะสม
ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง และวรรคสามแห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ปีภาษี 2561 สำหรับพื้นที่ให้เช่าขนาดใหญ่และพื้นที่ให้เช่าขนาดเล็กโดยไม่แสดงขนาดพื้นที่ แสดงจำนวนร้านค้าขาดไป และโจทก์นำส่งสัญญาเช่าร้านค้าที่อยู่ในพื้นที่ให้เช่าขนาดใหญ่และพื้นที่ให้เช่าขนาดเล็กไม่ครบถ้วน ค่าเช่าที่โจทก์แสดงหลักฐานสัญญาเช่าจึงมิใช่จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรจะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินค่ารายปีทรัพย์สินของโจทก์โดยเทียบเคียงกับค่ารายปีทรัพย์สินของห้างสรรพสินค้า ท. ซึ่งมีลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันได้ โดยในการนำทรัพย์สินมาเทียบเคียงกันนั้น ทรัพย์ที่มีขนาดและพื้นที่เท่ากันควรจะมีค่ารายปีและค่าภาษีที่เท่ากันหรืออย่างน้อยต้องมีความใกล้เคียงกันจึงจะตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น แต่เมื่อได้ความจากพยานจำเลยว่า จำเลยทำการประเมินภาษีโจทก์โดยการนำค่ารายปีเฉลี่ยที่เทียบเคียงได้จากห้างสรรพสินค้า ท. ให้เช่าพื้นที่ขนาดใหญ่มาเป็นฐานในการคำนวณภาษี โดยใช้วิธีการนำค่ารายปีที่ห้างสรรพสินค้า ท. ให้เช่าพื้นที่ให้เช่าขนาดใหญ่ในแต่ละร้านมาหารด้วยจำนวนเดือนที่ห้างสรรพสินค้า ท. นำออกให้เช่าแล้วหารด้วยพื้นที่ที่ได้จากการวัดจริงของร้านนั้น ๆ ในห้างสรรพสินค้า ท. จะได้ค่าเช่าเฉลี่ยต่อเดือนของร้านค้านั้น แล้วนำค่าเช่าเฉลี่ยทั้งหมดมารวมกัน ได้ค่าเช่าเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 80,561 บาท ต่อตารางเมตรต่อเดือน ต่อ 36 ร้าน จะได้ค่าเช่าเฉลี่ย 2,238 บาท ต่อตารางเมตรต่อเดือน เมื่อนำมาคำนวณกับพื้นที่ของโจทก์แล้วคิดเป็นค่าภาษี 9,685,247 บาท แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้คิดค่าเช่าเต็มทั้งปี คงคิดตามระยะเวลาที่โจทก์นำพื้นที่ออกให้เช่าจริง จึงคิดค่าภาษีจำนวน 9,581,412 บาท ส่วนพื้นที่ให้เช่าขนาดเล็กคิดคำนวณด้วยวิธีเดียวกัน ได้ค่าเช่าเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 224,757 บาท ต่อตารางเมตรต่อเดือน ต่อ 59 ร้าน จะได้ค่าเช่าเฉลี่ย 3,810 บาท ต่อตารางเมตรต่อเดือน เมื่อนำมาคำนวณกับพื้นที่ของโจทก์แล้ว คิดเป็นค่าภาษี 1,207,237 บาท แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้คิดค่าเช่าเต็มทั้งปี คงคิดตามระยะเวลาที่โจทก์นำพื้นที่ออกให้เช่าจริง จึงคิดค่าภาษีจำนวน 775,543 บาท จึงเห็นได้ว่าวิธีการที่จำเลยใช้ค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนต่อร้านมารวมคำนวณแล้วหารด้วยจำนวนร้านเป็นวิธีการคำนวณที่ไม่คำนึงถึงพื้นที่ใช้สอยของแต่ละร้านทั้งที่มีพื้นที่ใช้สอยแตกต่างกันจึงทำให้ไม่สะท้อนถึงค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรของพื้นที่รวมของทุกร้านอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากการนำค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือน ตามวิธีการคำนวณของจำเลยไปใช้คำนวณกับพื้นที่ให้เช่าขนาดใหญ่และพื้นที่ให้เช่าขนาดเล็กของห้างสรรพสินค้า ท. ซึ่งเป็นทรัพย์สินเทียบเคียง กลับได้ค่ารายปีและค่าภาษีไม่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่ห้างสรรพสินค้า ท. ได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินให้แก่จำเลย ซึ่งวิธีการคำนวณที่เหมาะสมเมื่อนำค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนไปใช้กับทรัพย์สินที่มีขนาดหรือพื้นที่เท่ากับพื้นที่ของห้างสรรพสินค้า ท. แล้ว ทรัพย์สินนั้นก็ควรจะมีค่ารายปีและค่าภาษีที่ใกล้เคียง หรือเท่ากับค่ารายปีและค่าภาษีของห้างสรรพสินค้า ท. วิธีการที่จำเลยใช้ในการหาค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนเพื่อนำมาคำนวณหาค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์จึงไม่เหมาะสม สำหรับวิธีการคำนวณของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษนั้น เป็นการนำค่ารายปีของทุกร้านที่เช่าพื้นที่ในส่วนพื้นที่ให้เช่าขนาดใหญ่ และพื้นที่ให้เช่าขนาดเล็กของห้างสรรพสินค้า ท. มาหารพื้นที่รวมของทุกร้านตามที่แบ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อหาค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนของพื้นที่ให้เช่าขนาดใหญ่และพื้นที่ให้เช่าขนาดเล็กก่อนแล้วค่อยนำไปคำนวณกับพื้นที่ของโจทก์และระยะเวลาการใช้ทรัพย์สิน ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณที่คำนึงถึงค่าเช่าพื้นที่ของแต่ละร้านประกอบกัน จึงเป็นวิธีการคำนวณหาค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรของพื้นที่รวมของทุกร้านในส่วนของพื้นที่ให้เช่าขนาดใหญ่และพื้นที่ให้เช่าขนาดเล็กแล้ว เพราะเมื่อนำกลับไปคำนวณกับพื้นที่ให้เช่าขนาดใหญ่และพื้นที่ให้เช่าขนาดเล็กของห้างสรรพสินค้า ท. แล้วจะได้ค่าภาษีที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงกับค่าภาษีของห้างสรรพสินค้า ท. วิธีการคำนวณของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษจึงเป็นวิธีการที่เหมาะสม และคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันในเขตของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้นและชอบด้วยกฎหมายแล้ว และศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2563 และ 3721/2564 ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับวิธีการกำหนดค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนสำหรับพื้นที่โรงเรือนของโจทก์สำหรับปีภาษี 2558 และปีภาษี 2560 ตามลำดับ โดยกำหนดค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนสำหรับพื้นที่ให้เช่าขนาดใหญ่เท่ากับ 676.72 บาท และสำหรับพื้นที่ให้เช่าขนาดเล็กเท่ากับ 2,673.05 บาท ต่อตารางเมตรต่อเดือน เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์แห่งคดีว่าพื้นที่โรงเรือนของโจทก์มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้แตกต่างไปจากปีภาษี 2558 และปีภาษี 2560 แต่อย่างใด จึงให้กำหนดค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนสำหรับปีภาษี 2561 พื้นที่ให้เช่าขนาดใหญ่เท่ากับ 676.72 บาท และพื้นที่ให้เช่าขนาดเล็กเท่ากับ 2,673.05 บาท