คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เนื้อที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีเวนคืนที่ดิน ต้องคำนึงถึงเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนจริง และสิทธิที่โจทก์มีตามจริง
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่ 49.60 ตารางวา และมีคำขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ดังกล่าว จำเลยให้การว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่เพียง 44.60 ตารางวาเท่านั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์อีกตารางวาละ 5,000 บาท จากเนื้อที่ 49.60 ตารางวา จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่เพียง 44.60 ตารางวาเท่านั้น จึงมีปัญหาในชั้นศาลอุทธรณ์ว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่เท่าใด เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่จริงเพียง 44.60 ตารางวา แต่เห็นว่าอัตราเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลชั้นต้นเพิ่มให้แก่โจทก์เป็นตารางวาละ 30,000 บาท นั้นเหมาะสมแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสิ้นจำนวน 1,338,000 บาท เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินไปแล้วจำนวน 1,240,000 บาท โจทก์จึงยังคงมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 98,000 บาท เท่านั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเสียให้ถูกต้องได้ โดยจำเลยไม่จำต้องมีคำขอให้โจทก์คืนเงินค่าทดแทนที่ดินที่ได้รับไปแล้วหรือขอให้หักเงินค่าทดแทนที่ดินที่รับไปแล้วออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลพิพากษาเพิ่มให้ เพราะศาลอุทธรณ์ต้องพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์จากเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนจริงตามที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับเท่านั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการพิพากษาไปตามประเด็นแห่งคดีไม่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเนื้อที่ดิน: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลงของที่ดิน 10 แปลง ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไว้ด้วย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีเนื้อที่เพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ทั้งโจทก์แถลงยอมรับข้อเท็จจริงในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนรวม 10 แปลง มีจำนวนเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา เช่นเดียวกับสำเนาโฉนดที่ดินที่ถูกเวนคืนรวม 10 ฉบับ ท้ายคำแถลงของจำเลยที่ 1 ซึ่งปรากฏว่าที่ดิน 10 แปลงของโจทก์รวมกันแล้วมีจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ไม่ใช่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ดังที่โจทก์รวมเนื้อที่ดินไว้ในคำฟ้อง ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับผลรวมของจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนและคำขอให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจึงเกิดจากการคำนวณที่ผิดพลาด เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มโดยถือเอาจากจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์รวมผิดพลาดดังกล่าวในฟ้อง จึงมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่ข้อผิดพลาดในสาระสำคัญแม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทรณ์ดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เพราะการเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามบทกฎหมายดังกล่าวจะกระทำเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเนื้อที่ดิน: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้แม้คดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
ฟ้องโจทก์ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลงของที่ดินทั้งสิบแปลงของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไว้ด้วย รวมแล้วมีเนื้อที่ทั้งหมด 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา แต่โจทก์ระบุว่ารวมแล้วเป็นเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มโดยคิดจากจำนวนเนื้อที่ที่โจทก์รวมผิดพลาดดังกล่าวในฟ้อง ต่อมาในชั้นบังคับคดีทั้งโจทก์และจำเลยแถลงข้อเท็จจริงตรงกันว่า ที่ดินของโจทก์มีจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นโดยคิดจากจำนวนเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา อันเกิดจากการรวมเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนผิดพลาดไปนั้น จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่ข้อผิดพลาดในสาระสำคัญ แม้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เพราะการเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามบทกฎหมายดังกล่าวจะกระทำเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: เหตุอันสมควรจากการรังวัดที่ดินที่ยังไม่แน่นอน
แม้โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งจากจำเลยที่ 1 ก่อนวันชี้สองสถานว่า ที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น แต่โจทก์ยังโต้แย้งคัดค้านการรังวัดที่ดินดังกล่าวของเจ้าพนักงานว่าไม่ถูกต้อง ขอให้จำเลยที่ 1 ตรวจสอบรังวัดกันใหม่ ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ไปรังวัดกันใหม่ในวันที่ 25 ตุลาคม 2543 ภายหลังจากวันชี้สองสถานแล้ว ผลปรากฏว่าที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นตามจำนวนเนื้อที่ที่จำเลยที่ 1 เคยแจ้งให้โจทก์ทราบ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์เพิ่งทราบและยอมรับว่าที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2543 ภายหลังจากวันชี้สองสถานแล้ว จึงมีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับเนื้อที่ของที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นได้ก่อนวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ชอบที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับเนื้อที่ของที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีชดใช้ค่าทดแทนที่ดิน: ศาลสั่งงดบังคับคดีจนกว่าจะมีการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องเนื้อที่ดินที่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ซึ่งความจริงแล้ว ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา และโจทก์ก็แถลงรับว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ดังนั้น อาจจะมีการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามคำร้องขอแก้ไขคำพิพากษาของจำเลยดังกล่าว อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่จำเลยอีกต่อไป กรณีมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนเมื่อเนื้อที่ดินจริงเพิ่มจากที่ประมาณการ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยได้ที่ดินของโจทก์มาเพื่อสร้างทางพิเศษ อาศัยพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพียงฉบับเดียว โดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 ตกลงซื้อขายที่ดินส่วนที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ดินที่จะต้องให้ได้มาเพื่อสร้างทางพิเศษตามสัญญาซื้อขายจึงเป็นที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาส่วนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายเป็นการประมาณการของจำเลย แต่เมื่อมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนรวมกันแล้วเพิ่มขึ้นอีก 198 ตารางวา จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนเพิ่มขึ้นอีก 198 ตารางวา ให้แก่โจทก์ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง และที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 198 ตารางวา นี้รวมอยู่แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ครบ 120 วัน จากวันที่ทำสัญญาซื้อขายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินเนื่องจากประพฤติเนรคุณและการไม่วินิจฉัยเนื้อที่ดินที่ยกให้ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจย้อนสำนวน
++ เรื่อง ให้ เพิกถอนนิติกรรม ++
++ ข้อมูล MS-Word
++ คำพิพากษาสั่งออก-รอย่อ
++ แจ้งการอ่านแล้ว
++ ย่อแล้ว โปรดติดต่อส่วนนิติการ /หรืองานห้องสมุด
++ ย่อไม่เป็นทางการ
++
++ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีว่า ให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิเฉพาะส่วนของโจทก์ เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา คืนแก่โจทก์ กับขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินจำนวน 1 ไร่ กลับคืนเป็นของโจทก์ คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้คืนที่ดินตาม น.ส.3 เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งแปลง เพียงแต่เหตุแห่งการเพิกถอนต่างกันเท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และโอนที่ดินทั้งแปลงคืนแก่โจทก์ จึงไม่เกินคำขอ
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตาม ป.พ.พ มาตรา 531 แต่คดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลง คดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนี้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแต่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินทั้งแปลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตาม ป.วิ.พ มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นให้พิพากษาใหม่ตามป.วิ.พ มาตรา 243(1) อำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยกำหนดเนื้อที่จริง การส่งมอบที่ดินขาดจำนวน และการฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้
หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำระบุว่า เป็นการซื้อขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) 3 แปลง (น.ส. 3) 1 แปลง แม้ไม่ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลง แต่ก็ระบุจำนวนเนื้อที่รวมซึ่งเป็นผลบวกของ เนื้อที่ดินทั้งสี่แปลง ต่อมามีการโอนสิทธิครอบครองที่ดินตาม น.ส. 3 ก. 3 แปลง ส่วนที่ดินตาม น.ส. 3 ไม่ได้โอนสิทธิครอบครองกันเนื่องจากที่ดินไม่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน จึงมีการเปลี่ยนที่ดินโดยนำที่ดินที่ติดต่อกับที่ดิน 3 แปลงข้างต้นมาซื้อขายกัน และคิดราคาที่ดินคำนวณเป็นราคาตารางวา โดยผู้ขายต้องใช้เงินคืนแก่ผู้ซื้อเพราะที่ดินแปลงใหม่มีเนื้อที่น้อยกว่าที่ดินแปลงเดิม ซึ่งราคาที่ดินที่ใช้คืนคำนวณแล้วก็ตรงกับราคาที่ตกลงซื้อขายกันแต่แรก แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์กับจำเลยว่าการซื้อขายที่ดินดังกล่าวถือเอาจำนวนเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ มิใช่เป็นการขายเหมา เมื่อจำเลยส่งมอบที่ดินน้อยไปกว่าที่ตกลงกันไว้โดยโจทก์มิได้บอกปัด แต่รับเอาที่ดินไว้และใช้ราคาที่ดินตามส่วนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยเกินไปบางส่วนแล้วมาฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนด้วยเหตุที่จำเลยส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันและจำเลยไม่อาจอ้างกฎหมายที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยชอบ เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
จำเลยให้การเพียงว่า ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องและไม่เข้ากฎหมายลักษณะลาภมิควรได้ กับคำฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว โดยมิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความในเรื่องใด อายุความมีกำหนดเท่าใด ซึ่งเริ่มนับแต่เมื่อใด และเพราะเหตุใด คำให้การจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในเรื่องอายุความ
จำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่หายไป เมื่อมีข้อสงสัยว่าที่ดินซื้อขายกันนั้นขาดจำนวนไป 397 ตารางวา หรือ 297 ตารางวา ป.พ.พ. มาตรา 11 ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ก็คือจำเลยผู้ขายนั่นเอง เพราะมูลหนี้ที่ต้องเสียในคดีนี้เป็นการชำระเงินคืนแก่โจทก์ผู้ซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้: อายุความ 1 ปี นับจากวันที่ทราบเนื้อที่ดินที่ถูกต้อง หลังการรังวัดใหม่
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินบางส่วนที่ชำระให้จำเลย เกินไปคืน ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูล อันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นเรื่องลาภมิควรได้ ไม่ใช่เป็น การฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในฐานทรัพย์ซึ่งซื้อขายขาดตกบกพร่อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 กำหนดอายุความของลาภมิควรได้ไว้ 1 ปี นับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหาย คือ โจทก์ทั้งสองรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดให้โจทก์ทั้งสองเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2535ระบุเนื้อที่ดินขาดไปจากที่โจทก์ทั้งสองชำระราคาให้จำเลย หลังจากรังวัดตรวจสอบให้เป็นที่แน่นอนอีกครั้งแล้ว จึงแก้ไข ในโฉนดระบุเนื้อที่ดินใหม่เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536ดังนั้น อายุความ 1 ปี ย่อมเริ่มนับตั้งแต่ตรวจสอบทราบแน่นอนแล้ว คือวันที่ 22 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2537 ยังไม่เกิน 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันชำระราคาเกินไป คดีของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6259/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินยกแปลง: ราคาเหมาจ่าย ไม่ผูกพันเนื้อที่ดิน
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุว่า ผู้จะขายตกลงจะขาย และผู้จะซื้อตกลงจะซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมอาคาร ดังต่อไปนี้ ที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 2571 เนื้อที่ประมาณ 1,550 ตารางวา (3 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา)คู่สัญญาได้ตกลงราคาที่ดินหรือที่ดินพร้อมอาคาร ที่จะซื้อขายกันดังกล่าวเป็นเงิน3,400,000 บาท และตามสัญญาจะซื้อจะขายมิได้ระบุไว้ว่าที่ดินมีราคาตารางวาละเท่าไร ดังนี้ เมื่อสัญญาจะซื้อขายไม่ได้ระบุราคากันไว้ว่า ไร่ละหรือตารางวาละเท่าใด และเนื้อที่ดินที่จะขายก็เป็นแต่กะประมาณ แต่ได้กำหนดราคาไว้ 3,400,000บาท อันมีลักษณะเป็นการขายรวม ๆ กันไป เป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าไม่ถือเอาจำนวนเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ โจทก์เองได้ทำการตรวจสอบเนื้อที่ดินหลายครั้ง จึงไม่สนใจที่จะถือเอาเรื่องเนื้อที่ดินเป็นข้อสำคัญอีกต่อไป อีกทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทคงกล่าวถึงความรับผิดของผู้จะขายหรือจำเลยไว้แต่เฉพาะเรื่องปลอดจากการจำนอง การรอนสิทธิหรือภาระติดพันอื่นใดซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการรับผิดในข้อที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนอันมิได้กล่าวไว้เลย เสมือนหนึ่งคู่สัญญาต่างมุ่งประสงค์ไม่ให้ต้องรับผิดต่อกันเกี่ยวกับเนื้อที่ดินที่ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้า จึงถือได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินยกทั้งแปลงหรือขายเหมา ดังนั้น ไม่ว่าที่ดินที่ซื้อขายจะขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน โจทก์จำเลยก็จะเรียกเงินค่าซื้อที่ดินคืนหรือค่าซื้อที่ดินที่ยังขาดอยู่จากกันมิได้
of 5