พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง: การบุกรุกที่ดิน และการพิสูจน์เนื้อที่ที่บุกรุก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46ที่บัญญัติว่าในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญานั้นหมายถึงข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและศาลต้องฟังยุติมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วไม่ใช่ประเด็นปลีกย่อยเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่2ได้บุกรุกเข้าไปปลูกสร้างเรือนในที่พิพาทคดีแพ่งคดีนี้ศาลขึงต้องถือข้อเท็จจริงตามได้เพียงว่าจำเลยที่2ได้บุกรุกที่ดินพิพาทจริงส่วนที่พิพาทที่จำเลยที่2บุกรุกเนื้อที่เท่าไรเป็นไปตามคำพิพากษาคดีอาญาหรือตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องคดีนี้เป็นข้อปลีกย่อยรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันอีกในชั้นพิจารณาซึ่งโจทก์โจทก์ร่วมและจำเลยที่2จะต้องสืบพยานในประเด็นนี้กันต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีมีทุนทรัพย์เมื่อราคาที่ดินพิพาทไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า ที่ดินเฉพาะส่วนที่พิพาทเป็นของจำเลย จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้จะไม่ปรากฏราคาที่ดินพิพาท แต่ก็ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์โดยจำเลยมิได้โต้แย้งว่าที่ดินมีเนื้อที่ 5 ไร่ 1 งาน 25 ตารางวา โจทก์ซื้อมาในราคา 61,093.75 บาทแต่ที่ดินพิพาทเป็นเพียงส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ซื้อมา มีเนื้อที่เพียง 75 ตารางวาย่อมมีราคาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอบังคับห้ามบุกรุกที่ดิน: ศาลไม่เกินคำขอแม้เนื้อที่พิพาทเพิ่มขึ้นจากการทำแผนที่
โจทก์ฟ้องโดยประสงค์ขอให้ศาลบังคับมิให้จำเลยและบริวารเข้ามาทำนาหรือเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ส่วนที่ดินดังกล่าวมีเท่าไรนั้น แม้ตามคำขอท้ายฟ้องจะระบุว่า 45 ไร่ ก็เพียงแต่ประมาณเอา ครั้นเมื่อ มีการทำแผนที่พิพาท จำเลยชี้เขตเข้าไปในที่ดินของโจทก์เป็นเนื้อที่ 57 ไร่เศษ ก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยพิพาทกันในเนื้อที่ 57 ไร่เศษ และเป็นที่ดินที่โจทก์ขอให้ศาลบังคับจำเลย ทั้งปรากฏว่าโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่คำนวณภายหลังจากที่ได้มีการทำแผนที่พิพาทแล้ว ดังนั้น การที่ศาลวินิจฉัยว่าที่พิพาทมีเนื้อที่ 57 ไร่เศษ จึงไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเนื้อที่พิพาทและคำให้การที่ไม่ขัดแย้งกัน ศาลสามารถตีราคาและรับฟังพยานได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ1 งาน 50 ตารางวา ราคา 2,000 บาท แต่เมื่อไปทำแผนที่พิพาทปรากฏว่าที่ดินตรงที่โจทก์ชี้ว่าจำเลยบุกรุกนั้น คิดเป็นเนื้อที่ 1 ไร่3 งาน 64 ตารางวา โจทก์จึงขอตีราคาเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 บาทดังนี้ เมื่อที่ดินที่โจทก์นำชี้ในแผนที่พิพาทว่าจำเลยบุกรุกนั้นตรงกับที่ที่โจทก์บรรยายฟ้อง ซึ่งจำเลยก็นำชี้ด้วย แต่อ้างว่าเป็นของจำเลย ที่พิพาทจึงมิได้นอกเหนือหรือเกินไปจากฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด เป็นแต่จำนวนเนื้อที่ซึ่งประมาณไว้คลาดเคลื่อนเท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องขอเพิ่มเติมฟ้องในส่วนนี้ และศาลย่อมตีราคาเนื้อที่ที่แท้จริงและเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นตามความเป็นจริงได้ ไม่เป็นการเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้อง
เดิมจำเลยให้การว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีที่งอก แม้จะมีที่งอกก็เป็นของจำเลย จำเลยไม่ได้บุกรุกเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์จำเลยทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยซึ่งครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของโดยสงบและเปิดเผย ติดต่อมา 50-60 ปี แล้ว มี ส.ค.1 เป็นหลักฐานจำเลยมิได้ขุดบ่อบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ บ่อที่มีอยู่เป็นบ่อดั้งเดิมของจำเลย ต่อมาจำเลยให้การเพิ่มเติมว่า แม้ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ตามคำให้การเดิมจะอยู่ในโฉนดของโจทก์หรืออยู่ในที่งอก จำเลยก็ได้ครอบครองมาในฐานะเป็น เจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์และเจ้าของร่วมก็ทราบมาก่อนแล้วว่าเป็นที่ดินของจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ คำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยไม่ขัดกัน จำเลยจึงนำสืบตามประเด็นในคำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2517 ในประเด็นข้อคำให้การขัดกันหรือไม่)
เดิมจำเลยให้การว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีที่งอก แม้จะมีที่งอกก็เป็นของจำเลย จำเลยไม่ได้บุกรุกเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์จำเลยทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยซึ่งครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของโดยสงบและเปิดเผย ติดต่อมา 50-60 ปี แล้ว มี ส.ค.1 เป็นหลักฐานจำเลยมิได้ขุดบ่อบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ บ่อที่มีอยู่เป็นบ่อดั้งเดิมของจำเลย ต่อมาจำเลยให้การเพิ่มเติมว่า แม้ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ตามคำให้การเดิมจะอยู่ในโฉนดของโจทก์หรืออยู่ในที่งอก จำเลยก็ได้ครอบครองมาในฐานะเป็น เจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์และเจ้าของร่วมก็ทราบมาก่อนแล้วว่าเป็นที่ดินของจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ คำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยไม่ขัดกัน จำเลยจึงนำสืบตามประเด็นในคำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2517 ในประเด็นข้อคำให้การขัดกันหรือไม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การได้ แม้ไม่เกี่ยวกับคำให้การเดิม ศาลพิพากษาตามเนื้อที่พิพาทที่คู่ความรับรอง ไม่เกินคำขอ
การแก้ไขคำให้การนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่า ข้อความที่ขอแก้ไขใหม่จะต้องเกี่ยวกับคำให้การเดิมหรือข้ออ้างเดิมคงบัญญัติห้ามเฉพาะเรื่องคำฟ้องเท่านั้น ฉะนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่ จึงไม่สำคัญ
แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยแต่ศาลฎีกาสั่งรับหากปรากฏว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในท้องสำนวน พอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องให้ศาลชั้นต้นสืบพยานฟังข้อเท็จจริงตามคำให้การเพิ่มเติมอีก
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ครอบครอง โดยอ้างว่าเป็นของโจทก์รวม 3 ส่วน ในจำนวน 6 ส่วนหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของโฉนด แม้มิได้ขอเจาะจงว่าที่ดินส่วนใดเป็นของโจทก์ แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทภายในเส้นสีแดงตามแผนที่ซึ่งคู่ความนำชี้เนื้อที่ประมาณ 1 ใน 4 ของโฉนดเป็นของโจทก์ศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทภายในเส้นสีแดงเป็นของโจทก์ได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือเกินคำฟ้องไม่
แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยแต่ศาลฎีกาสั่งรับหากปรากฏว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในท้องสำนวน พอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องให้ศาลชั้นต้นสืบพยานฟังข้อเท็จจริงตามคำให้การเพิ่มเติมอีก
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ครอบครอง โดยอ้างว่าเป็นของโจทก์รวม 3 ส่วน ในจำนวน 6 ส่วนหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของโฉนด แม้มิได้ขอเจาะจงว่าที่ดินส่วนใดเป็นของโจทก์ แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทภายในเส้นสีแดงตามแผนที่ซึ่งคู่ความนำชี้เนื้อที่ประมาณ 1 ใน 4 ของโฉนดเป็นของโจทก์ศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทภายในเส้นสีแดงเป็นของโจทก์ได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือเกินคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องคดีที่ดิน: การจำกัดเนื้อที่พิพาทตามคำฟ้อง และผลกระทบต่อการชี้ขอบเขตที่ดิน
โจทก์ฟ้องตั้งพิพาทแต่ฉะเพาะ+ เนื้อที่ประมาณ 10 ตารางวาเท่านั้น แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ห้ามจำเลยไม่ให้เกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ ก็่ย่อมต้องหมายว่าที่ดินของโจทก์ที่พิพาทกันนั้นเท่านั้น
ในการรังวัดทำแผนที่พิพาท โจทก์จะเที่ยวนำชี้ที่ดินตอนอื่นนอกเหนือไปจากที่ดินพิพาทอย่างไรนั้น หาทำให้เป็นการแก้ฟ้องให้คลุมไปถึงที่ดินอื่นไม่
ในการรังวัดทำแผนที่พิพาท โจทก์จะเที่ยวนำชี้ที่ดินตอนอื่นนอกเหนือไปจากที่ดินพิพาทอย่างไรนั้น หาทำให้เป็นการแก้ฟ้องให้คลุมไปถึงที่ดินอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: คดีมีทุนทรัพย์/ไม่มีทุนทรัพย์ - การพิจารณาเนื้อที่พิพาทที่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแต่องค์การบริหารส่วนตำบลจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณะและกล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกที่สาธารณะ ให้โจทก์ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและรั้วกำแพงคอนกรีตออกจากที่ดินดังกล่าว และมีคำขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์สำหรับประชาชนใช่ร่วมกันและให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 4 รื้อถอนเสาไม้ชั่วคราวที่ปักอยู่ในที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณะประเด็นพิพาทจึงมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง 267,150 บาท จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐม แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 4 รื้อถอนเสาไม้ชั่วคราวที่ปักอยู่ในที่ดินของโจทก์ด้วย ก็เป็นคำขอต่อเนื่อง เมื่อศาลแขวงนครปฐมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอหลักว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่แล้ว ก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในคำขอต่อเนื่องดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ว่าอ่านคำร้องของโจทก์แล้วไม่เข้าใจว่าโจทก์ต้องการแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำฟ้องในส่วนใดของคำฟ้องเดิม จึงมีคำสั่งให้โจทก์ทำคำร้องฉบับใหม่โดยบรรยายให้ชัดว่าต้องการแก้ไขคำฟ้องเดิมในส่วนใด หรือต้องการเพิ่มเติมคำฟ้องลงไปตรงส่วนใดของคำฟ้องเดิม โดยให้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้อง โจทก์มิได้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจึงไม่มีประเด็นว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา แต่ถือว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 11 ตารางวา เท่านั้น คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ว่าอ่านคำร้องของโจทก์แล้วไม่เข้าใจว่าโจทก์ต้องการแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำฟ้องในส่วนใดของคำฟ้องเดิม จึงมีคำสั่งให้โจทก์ทำคำร้องฉบับใหม่โดยบรรยายให้ชัดว่าต้องการแก้ไขคำฟ้องเดิมในส่วนใด หรือต้องการเพิ่มเติมคำฟ้องลงไปตรงส่วนใดของคำฟ้องเดิม โดยให้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้อง โจทก์มิได้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจึงไม่มีประเด็นว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา แต่ถือว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 11 ตารางวา เท่านั้น คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)