คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เบิกจ่าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6390/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของเทศบาล การใช้สิทธิโดยชอบ และความสงสัยในเจตนาทุจริต
การที่จำเลยนำน้ำมันซึ่งจำเลยมีสิทธิเบิกไปใช้ได้ด้วยตนเองไปเติมใส่รถยนต์คันอื่นเพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำรถยนต์คันอื่นนั้นไปใช้ในกิจกรรมอื่นซึ่งไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ที่จำเลยจะพึงใช้ได้อันอาจถือได้ว่าจำเลยได้ประโยชน์จากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเป็นส่วนตัว เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำการเบียดบังเอาน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำเลยสั่งจ่ายไปเป็นของจำเลยหรือของผู้อื่นโดยทุจริตหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672-1674/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายค่าวิชาชีพผู้ทำแผนในคดีฟื้นฟูกิจการหลังศาลล้มละลายกลางแก้ไขคำสั่ง และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดค่าตอบแทนแล้ว
คดีนี้ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ทั้งสามและตั้งผู้ทำแผน ต่อมาผู้ทำแผนยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขออนุญาตเบิกจ่ายเงินของลูกหนี้ทั้งสามเพื่อชำระค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายของผู้ทำแผน ศาลแพ่งมีคำสั่งอนุญาต ต่อมามีการโอนสำนวนไปยังศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของศาลแพ่ง ผู้ทำแผนจึงยื่นคำร้องขอเบิกจ่ายค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายส่วนที่ค้างต่อศาลล้มละลายกลาง ศาลล้มละลายกลางสั่งยกคำร้อง ผู้ทำแผนจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งโดยขอให้ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ทำแผนเบิกจ่ายค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายจากบัญชีของลูกหนี้ทั้งสามได้ เมื่อปรากฏว่าภายหลังจากที่ผู้ทำแผนยื่นอุทธรณ์ ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ทั้งสามโดยกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้กำหนดค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายหรือคดีฟื้นฟูกิจการโดยหักจากเงินในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายให้ผู้ทำแผนแล้วโดยผู้ทำแผนมิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เท่ากับว่าผู้ทำแผนสามารถเบิกจ่ายค่าวิชาชีพและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้อยู่แล้วตามคำสั่งศาลดังกล่าว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ทำแผนอีกต่อไป ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7171/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ การอ้างเหตุผลล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีแพ่งไปแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกอ้างว่ายังคัดคำพิพากษาไม่แล้วเสร็จโดยขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน ครั้งที่สองอ้างว่า ค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนโจทก์จำเลยที่ 2 จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเบิกจ่ายจึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาต ซึ่งเท่ากับว่าศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษ และระยะเวลานับแต่จำเลยทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตเป็นเวลานานถึง 64 วัน ซึ่งเป็นเวลาอันสมควรที่จำเลยจะเบิกจ่ายเงินดังกล่าวได้แล้ว แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีกเป็นครั้งที่สามโดยมิได้อ้างเหตุพฤติการณ์พิเศษ คงอ้างแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 ยังมิได้ส่งเงินดังกล่าวมายังพนักงานอัยการทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น ซึ่งมิใช่พฤติการณ์พิเศษ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 นั้น ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6154/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกง, ปลอมแปลงเอกสาร, และเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านเท็จ
ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นหลักฐานแห่งการระงับซึ่งสิทธิของผู้ให้เช่าจึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)
จำเลยนำใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและเป็นเอกสารเท็จยื่นประกอบแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านเพื่อเบิกเงินค่าเช่าบ้าน และจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านจากคลังจังหวัดชุมพรไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร อันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่คลังจังหวัดชุมพร ก.และกรมส่งเสริมสหกรณ์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม มาตรา 268
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเอกสารและกรอกข้อความลงในเอกสารรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 162 (4)และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตามมาตรา 157 เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ปรับบทลงโทษตามมาตรา 157 อีก
การที่จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้ทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของข้าราชการและลูกจ้างในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้ทำการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินในแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านโดยรู้อยู่แล้วว่าเอกสารใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นเอกสารปลอม และมีข้อความเท็จโดยจำเลยได้ลงลายมือชื่ออนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้ จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
ตามเอกสารพิพาทเป็นเอกสารของจำเลยที่จำเลยนำเงินส่วนที่เบิกเกินไปคืนแก่ทางราชการและตามใบเสร็จรับเงินของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้รับเงินจากจำเลย ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และลำพังการที่จำเลยส่งเงินส่วนที่จำเลยเบิกเกินคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์รับไว้ ก็เพียงแต่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้นไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางอาญา และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันอันจะทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง และในความผิดฐานอื่น
การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 265 นั้น จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และการที่จำเลยได้นำแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวซึ่งมีข้อความเท็จเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริงและโดยการหลอกลวงทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินตามที่ขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัด-ชุมพรอันเป็นความผิดตามมาตรา 341 และมาตรา 268 และการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กรอกข้อความรับรองคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 162 (4) และการที่จำเลยในฐานะที่ดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพรได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของจำเลยในแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและมีข้อความอันเป็นเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 157 นั้นเป็นการกระทำคนละครั้งคนละคราวกัน แต่การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน นำใบเสร็จดังกล่าวไปใช้ประกอบการยื่นคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน ลงลายมือชื่อรับรองการเบิกเงินค่าเช่าบ้านรวมทั้งลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านในแต่ละเดือนดังกล่าวนั้น แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดประสงค์ในผลอันเดียวกัน คือมุ่งที่จะได้รับเงินค่าเช่าบ้าน การกระทำดังกล่าวตั้งแต่ปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านจนถึงการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจึงเป็นกระบวนการเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยประสงค์และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกันในแต่ละเดือนแต่ละคำขอ ตามมาตรา 90 เมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวรวม 12 เดือนเดือนละหนึ่งครั้งรวม 12 ครั้ง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91 และในแต่ละกรรมต้องลงโทษในบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดคือตาม ป.อ.มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการเบิกค่าเดินทาง: งานขององค์การโทรศัพท์ฯ เท่านั้น
ข้อบังคับว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ.2535 ของจำเลย เป็นข้อบังคับที่คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 31 (2) แห่ง พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวได้ให้คณะ-กรรมการมีอำนาจวางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานต่าง ๆ ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลยได้ ดังนั้น ข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ.2535 จึงเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานของจำเลยโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกและตามข้อ 9 แห่งข้อบังคับดังกล่าวซึ่งบัญญัติไว้ว่า "บุคคลภายนอกที่องค์การโทรศัพท์มีความจำเป็นขอให้ไปปฏิบัติงาน ต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการก่อน การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กำหนดได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องไม่เกินอัตราสูงสุดตามข้อบังคับนี้" คำว่า "ปฏิบัติงาน" ตามที่บัญญัติไว้ในข้อนี้ก็เหมือนกับคำว่า "ปฏิบัติงาน" ที่บัญญัติไว้ในแห่งอื่น ๆ ตลอดข้อบังคับ กล่าวคือ มิได้กล่าวไว้ให้ชัดแจ้งว่าเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยหรืองานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอก แต่การที่จำเลยจะขอให้บุคคลภายนอกไปปฏิบัติงานตามข้อนี้ ย่อมหมายถึงงานของจำเลยเท่านั้น เพราะถ้าเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกย่อมอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะมีคำสั่งให้พนักงานไปปฏิบัติโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยได้ ฉะนั้นการที่ผู้อำนวยการจำเลยอนุมัติให้พนักงานคนใดไปปฏิบัติงานโดยมีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ.2535 จึงต้องเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยเท่านั้น หากเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกพนักงานผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยตามข้อบังคับฉบับนี้ได้ การที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ขอยืมตัวโจทก์ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการจำเลยจึงอนุมัติให้ยืมตัวไป การอนุมัติให้ยืมตัวไปปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติให้ไปปฏิบัติงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลย อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยได้ตามข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ.2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, คุณสมบัติเจ้าอาวาส, หนังสือมอบอำนาจ, การเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจเบิกจ่าย, และการส่งมอบสมุดบัญชี
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยได้ต้องเกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบเมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงเท่ากับจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การในข้อที่เกี่ยวกับการขาดคุณสมบัติเป็นเจ้าอาวาสของพระปลัดส.คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในข้อนี้แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์โดยพระปลัดส.ในฐานะเจ้าอาวาสได้มอบอำนาจให้ล. และว.ในฐานะผู้รับมอบอำนาจร่วมกระทำการด้วยกันโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีแก่จำเลยเกี่ยวกับสมุดบัญชีเงินฝากในธนาคารมิได้ให้แต่ละคนที่รับมอบอำนาจไปแยกกระทำการต่างหากจากกันดังจะเห็นได้จากใบแต่งทนายความที่ผู้รับมอบอำนาจทั้งสองก็ได้ลงลายมือชื่อร่วมกันเพื่อแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรข้อ7(ข)กำหนดค่าอากรแสตมป์ไว้30บาท ตามสำเนาบัญชีเงินฝากและสำเนาแบบขอฝากเงินของนิติบุคคลระบุว่าการเปิดบัญชีเงินฝากรายพิพาทนี้ทำในนามวัดโจทก์จำเลยเป็นเพียงผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวแทนโจทก์ได้เท่านั้นดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขลายมือชื่อผู้มีสิทธิเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวอย่างไรโจทก์ก็ย่อมทำได้อยู่แล้วกรณีไม่มีนิติกรรมอย่างใดให้จำเลยต้องไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวบุคคลที่จะลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์จึงบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกเงินจากบัญชีผู้อื่นโดยทุจริต แม้เงินเข้าผิดพลาด แต่จำเลยรู้และเบิกจ่ายเอง
เจ้าหน้าที่ของธนาคารผู้เสียหายได้นำเงินฝากจำนวน60,000บาทของลูกค้ารายอื่นเข้าบัญชีของจำเลยโดย ผิดพลาด ปรากฏว่าจำเลยประกอบกิจการตัดเย็บเสื้อผ้าซึ่งเป็นกิจการเล็กๆมีเงินทุนหมุนเวียนเข้าออกบัญชีจำนวนเล็กน้อยสามารถตรวจสอบและรู้ถึงการนำเงินเข้าออกบัญชีได้โดยง่ายจึงฟังได้ว่าจำเลยรู้ว่ามีการนำเงินของผู้อื่นเข้าบัญชีของจำเลยโดยผิดพลาดการที่จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินดังกล่าวออกไปจากบัญชีของจำเลยเป็นการเบียดบังเอาเงินนั้นไป โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6700/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต พนักงานขับรถเบิกน้ำมันผิดวัตถุประสงค์ ความผิดตาม พ.ร.บ.พนักงานในหน่วยงานของรัฐ
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถขององค์การสวนยาง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับใบรับ-จ่ายน้ำมันมาแล้วมอบให้ ว.ไปเบิกน้ำมันใส่รถยนต์ส่วนตัวของว.ทั้ง ๆ ที่จำเลยได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้นำใบรับ-จ่ายน้ำมันไปเบิกน้ำมันใส่รถของผู้เสียหายเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในกิจการของผู้เสียหาย ย่อมเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตจึงมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 แต่หามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 4 ไม่ เพราะจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายในมาตรา 147 และจำเลยเป็นพนักงานขับรถเพียงแต่มอบใบรับ-จ่ายน้ำมันที่จำเลยได้รับมามอบให้ ว. ไปเบิกน้ำมันใช้เป็นส่วนตัวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 เมื่อจำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11เท่านั้น พนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย เพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องชัดเจน ไม่เคลือบคลุม แม้รายละเอียดการเบิกจ่ายจะนำสืบภายหลังได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของว.ลูกจ้างโจทก์ไว้กับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำของ ว. โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ว.ได้เบิกอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในงานใด และไม่ส่งคืนคลังพัสดุจำนวนกี่รายการเป็นจำนวนเงินเท่าใด และได้เบิกอุปกรณ์ก่อสร้างเกินประมาณการไปในงานใด ตามหมายเลขงานที่เท่าใดบ้าง ว.มิได้ส่งคืนและไม่มีให้ตรวจนับกี่รายการ เป็นจำนวนเงินเท่าใด อันเป็นคำฟ้องที่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วส่วนรายละเอียดว่า ว. ได้เบิกอุปกรณ์ไฟฟ้าไปปฏิบัติหน้าที่วันเวลาใดแต่ละครั้งเบิกไปเท่าใด เหลือที่จะต้องส่งคืนแต่ละครั้งเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่จะนำไปสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่จำต้องกล่าวมาในฟ้องด้วย คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเดินทางข้าราชการครู: การช่วยราชการชั่วคราวและข้อยกเว้นการสละสิทธิ
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่งนับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13 (4) แห่ง พ.ร.ฎ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆทำนองเดียวกัน และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามมาตรา 14 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน
กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.ฎ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2527 มาตรา 3 บัญญัติให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้าย พ.ร.ฎ.ดังกล่าว เป็นเวลา120 วัน เท่านั้น สำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลาที่ไปช่วยราชการส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครูที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็นการที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้ การแจ้งสละสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง
of 5