คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เบิกจ่ายเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7658/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อเบิกจ่ายเงินให้ผู้อื่นโดยไม่ตรวจสอบบัตรประจำตัว ถือเป็นการผิดสัญญา
ตามข้อตกลงในการเบิกถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ระหว่างโจทก์กับธนาคารจำเลยกำหนดให้โจทก์เป็นผู้ถอนเงินแต่เพียงผู้เดียว เมื่อจำเลยเบิกจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ให้แก่บุคคลอื่นไปย่อมเป็นการผิดจากข้อตกลงดังกล่าว การที่จำเลยถือเอาสมุดคู่ฝากและใบถอนเงินประกอบกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยเป็นหลักฐานให้บุคคลที่มาถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ไปย่อมไม่เป็นการใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอสมกับฐานะของผู้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ทั้งลายมือชื่อของผู้ถอนเงินในใบถอนเงินนั้นไม่มีลายมือชื่อของโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สำเร็จเมื่อเบิกจ่ายเงิน การบันทึกข้อมูลเท็จเป็นเพียงกลอุบาย
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของธนาคารโจทก์ร่วมตำแหน่งพนักงานพิธีการสินเชื่อทำบันทึกข้อมูลรายการขายลดเช็คอันเป็นเท็จ เป็นเพียงการใช้กลอุบายว่ามีลูกค้านำเช็คไปขายลดให้แก่โจทก์ร่วม แม้จะได้รับใบเสร็จรับเงินจากการขายลดเช็คแล้วนำไปเปิดบัญชีเงินฝากชื่อบัญชี ป. ซึ่งเป็นบัญชีปลอมที่ธนาคารโจทก์ร่วมเพื่อพักเงินที่จะลักไว้ แต่จำนวนเงินตามใบเสร็จรับเงินหรือในบัญชีเงินฝากปลอมยังเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม โดยเฉพาะบัญชีเงินฝากเป็นเพียงหลักฐานควบคุมการฝากและถอนเงินของเจ้าของบัญชีเท่านั้นและการถอนเงินแต่ละครั้งจำต้องทำรายการถอนเงินในแบบพิมพ์ใบถอนเงิน ตราบใดที่ยังไม่มีการถอนเงินไปจากโจทก์ร่วม การเอาทรัพย์ไปก็ยังไม่เกิดขึ้น แม้จะเปิดบัญชีเป็นเท็จไว้ก็ยังถือไม่ได้ว่าการลักเงินสดสำเร็จแล้ว เมื่อจำเลยทำรายการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวเอาเงินสดของโจทก์ร่วมไป 4 ครั้ง คนละวันต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์4 กรรม มิใช่ 2 กรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การติดตามทรัพย์สินคืนจากข้าราชการที่เบิกจ่ายเงินโดยมิชอบ ไม่ถือเป็นการละเมิด และไม่ขาดอายุความ
จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์ทำเอกสารเท็จเบิกเงินจากโจทก์ไปโดยมิชอบต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ การที่โจทก์ขอบังคับให้จำเลยคืนเงินเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินติดตามเอาทรัพย์ของตนคืน มิใช่เป็น การละเมิดที่จำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ขึ้นมาบอกปัดการชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของคณะกรรมการตรวจรับและผู้เบิกจ่ายเงิน กรณีผู้รับเหมาส่งมอบงานล่าช้าและประมาทเลินเล่อ
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 1ผิดสัญญาโดยส่งมอบสิ่งของแก่โจทก์ช้ากว่าวันเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งซื้อ ซึ่งจะต้องถูกปรับตามสัญญาข้อ 10 รวมเป็นเงิน ค่าปรับทั้งสิ้น 268,056 บาท มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดแต่เพียงอย่างเดียว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคท้ายที่บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้" นั้น หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องทราบว่ามีการผิดสัญญาเพราะจำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญาหรือใบสั่งซื้อแล้วยังยินยอมที่จะรับเอายางแอสฟัลต์นั้นไว้โดยไม่ได้บอกกล่าวสงวนสิทธิ โจทก์จึงจะหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับ จากจำเลยที่ 1 แต่โจทก์มิได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขเอกสารให้เห็นเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่ง ยางแอสฟัลต์ ให้แก่โจทก์ตามกำหนด กรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ยอมรับชำระหนี้โดยไม่ได้บอกสงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับ ตามสัญญาได้ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5กระทำโดยประมาทเลินเล่อและเป็นคดีต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในข้อเท็จจริงแล้ว ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิฎีกา ต่อมา แม้ศาลชั้นต้น จะรับฎีกาข้อเท็จจริงมาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทราบว่าจำเลยที่ 1 ส่งของล่าช้า แต่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสิ่งของล่าช้าในทันทีตามหน้าที่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองฟังว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ แม้จะไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องการส่งของล่าช้าหรือมีหน้าที่ในการบอก สงวนสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ในฐานะเป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ซึ่งมีหน้าที่ที่สำคัญที่จะต้องตรวจรับยางแอสฟัลต์ให้เป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายทุกประการ จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จะต้องบันทึกแจ้งให้โจทก์ทราบหรืออย่างน้อยก็จะต้อง บันทึกแจ้งเหตุไว้ให้ปรากฏเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบจะได้บอกสงวนสิทธิในการที่จะเรียกค่าปรับ จากจำเลยที่ 1 ได้ แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ไม่ได้บันทึก แจ้งเหตุไว้จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อนั้นถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมา ในฟ้องแล้ว หาใช่เป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ จำเลยที่ 5 เป็นผู้อำนวยการกองการบัญชีและการเงินของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 5 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ยังส่งยางแอสฟัลต์ไม่ครบได้แจ้งกองการพัสดุให้ระงับการคืนหลักประกันของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อน จำเลยที่ 5 จึงชอบที่จะระงับหรือชะลอการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไว้ก่อน การที่จำเลยที่ 5 ปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไป ทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว หาใช่เป็นผลที่ไกลเกินกว่าเหตุ หรือมิใช่เป็นผลโดยตรงไม่ และจำเลยที่ 5 ก็ไม่อาจอ้างว่าเป็นการนัดจ่ายเงินเหลือปีงบประมาณ จะต้องจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้ เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกานั้นเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบมาตรา 247 แต่เมื่อมูลความแห่งคดีนี้เป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกมิได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นจำเลยร่วม คนหนึ่งได้นำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลครบถ้วนแล้วจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์ในการใช้สิทธิยื่นฎีกานี้อีก ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ มาวางศาลพร้อมฎีกา จึงไม่ถูกต้อง สมควรสั่งให้คืนเงิน ค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกาให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7776/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริตเบิกจ่ายเงินค่าจ้างโดยมิชอบ สร้างความเสียหายแก่สุขาภิบาล
จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งปลัดสุขาภิบาล ค. ได้รับคำสั่งแต่งตั้งจากสุขาภิบาล ค. ให้เป็นผู้ตรวจงานจ้างในการจ้างเหมาขุดลอกและล้างทางระบายน้ำในเขตสุขาภิบาล ค. และจำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าพนักงานได้รับคำสั่งแต่งตั้งจากสุขาภิบาล ค. ให้จำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการตรวจการจ้าง จำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 เป็นกรรมการตรวจการจ้างในการจ้างก่อสร้างถนนลาดยางแอสฟัลต์ในเขตสุขาภิบาล ค. แม้สัญญาจ้างขุดลอกและล้างทางระบายน้ำได้ระบุชื่อ ส.เป็นผู้รับจ้าง แต่ ส.ไม่เคยเกี่ยวข้องหรือมีส่วนรู้เห็นในการรับจ้างขุดลอกและล้างทางระบายน้ำของสุขาภิบาล ค. อีกทั้งลายมือชื่อในช่องผู้รับจ้างตามสัญญาข้อตกลงจ้างลายมือชื่อในช่องผู้รับเงินตามใบเสร็จรับเงินและลายมือชื่อในช่องผู้รับเงินตามฎีกาเบิกเงินมิใช่ลายมือชื่อของ ส. หากแต่จำเลยที่ 1 เข้าไปจัดการให้ตั้งแต่ขอตั้งฎีกาเบิกเงินและรับเงินเอาไปเองโดยไม่ปรากฏมีตัว ส.เข้าไปแสดงตนเพื่อขอเบิกเงินตามที่ได้รับจ้างขุดลอกและล้างทางระบายน้ำแต่อย่างใด เมื่อ ส.มิใช่เป็นผู้รับจ้างทำงานรายนี้ การที่จำเลยที่ 1 ได้เข้าดำเนินการขุดลอกและล้างทางระบายน้ำโดยใช้คนงานของสุขาภิบาล ค.ทำงานให้ จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นปลัดสุขาภิบาล ค.ถือว่าเป็นผู้มีหน้าที่จัดการและดูแลกิจการของสุขาภิบาล ค. เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการดังกล่าวโดยจ่ายค่าจ้างคนงานเพียง 1,750 บาท แต่เบิกเงินค่าจ้างตามสัญญาไป 2,900 บาทเป็นเหตุให้สุขาภิบาล ค.ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 152, 157 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 152 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด(ทวีชัย เจริญบัณฑิต - ดำรุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา - พิชัย เตโชพิทยากูล)ศาลจังหวัดปัตตานี นายไกรรัตน์ วีรพัฒนาสุวรรณศาลอุทธรณ์ นายประจวบ พัชนีรัตนกรณ์
นายชีพ จุลมนต์ - ตรวจ
นายบุญส่ง โพธิ์พุทธชัย - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายเจตนากร ปุญญะปัญญา - นิติกร/ย่อ
สุมาลี พิมพ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6154/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานทุจริต ปลอมเอกสารเบิกจ่ายเงินราชการหลายกระทง ศาลให้รอการลงโทษ
ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นหลักฐานแห่งการระงับซึ่งสิทธิของผู้ให้เช่าจึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9)
จำเลยนำใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและเป็นเอกสารเท็จยื่นประกอบแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านเพื่อเบิกเงินค่าเช่าบ้าน และจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านจากคลังจังหวัดชุมพรไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร อันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่คลังจังหวัดชุมพร ก. และกรมส่งเสริมสหกรณ์ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม มาตรา 268
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเอกสารและกรอกข้อความลงในเอกสารรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(4)และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตตามมาตรา 157 เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 162(4)ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ปรับบทลงโทษตามมาตรา 157 อีก
การที่จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้ทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของข้าราชการและลูกจ้างในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพร ได้ทำการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินในแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านโดยรู้อยู่แล้วว่าเอกสารใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านเป็นเอกสารปลอม และมีข้อความเท็จโดยจำเลยได้ลงลายมือชื่ออนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านได้จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและโดยทุจริตอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ตามเอกสารพิพาทเป็นเอกสารของจำเลยที่จำเลยนำเงินส่วนที่เบิกเกินไปคืนแก่ทางราชการและตามใบเสร็จรับเงินของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้รับเงินจากจำเลยไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกงและลำพังการที่จำเลยส่งเงินส่วนที่จำเลยเบิกเกินคืนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์รับไว้ ก็เพียงแต่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้นไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางอาญา และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันอันจะทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง และในความผิดฐานอื่น
การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 นั้น จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และการที่จำเลยได้นำแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านและใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านอันเป็นเอกสารสิทธิที่จำเลยทำปลอมขึ้นดังกล่าวซึ่งมีข้อความเท็จเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อว่าจำเลยได้เช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจริงและโดยการหลอกลวงทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเขตและเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรหลงเชื่อและทำให้จำเลยได้รับเงินตามที่ขอเบิกจ่ายไปจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคลังจังหวัดชุมพรอันเป็นความผิดตามมาตรา 341 และมาตรา 268 และการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่กรอกข้อความรับรองคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 162(4) และการที่จำเลยในฐานะที่ดำรงตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดชุมพรซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชุมพรได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในการอนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านของจำเลยในแบบคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านตามใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านที่จำเลยปลอมขึ้นและมีข้อความอันเป็นเท็จ อันเป็นความผิดตามมาตรา 157 นั้นเป็นการกระทำคนละครั้งคนละคราวกัน แต่การที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน นำใบเสร็จดังกล่าวไปใช้ประกอบการยื่นคำขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน ลงลายมือชื่อรับรองการเบิกเงินค่าเช่าบ้านรวมทั้งลงลายมือชื่ออนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านในแต่ละเดือนดังกล่าวนั้น แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดประสงค์ในผลอันเดียวกัน คือมุ่งที่จะได้รับเงินค่าเช่าบ้าน การกระทำดังกล่าวตั้งแต่ปลอมใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านจนถึงการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านจึงเป็นกระบวนการเดียวกันเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเช่าบ้านตามที่จำเลยประสงค์และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกันในแต่ละเดือนแต่ละคำขอ ตามมาตรา 90เมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวรวม 12 เดือน เดือนละหนึ่งครั้งรวม 12 ครั้ง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 และในแต่ละกรรมต้องลงโทษในบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดคือตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการเบิกจ่ายเงินโดยประมาทเลินเล่อของพนักงาน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ถือว่าวินิจฉัยนอกฟ้อง
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่1เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าม. ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่1เช่นเดียวกับจำเลยที่2และที่3การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของม.จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่1ตามคำฟ้องนั่นเองหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปลอมเอกสารสิทธิเบิกจ่ายเงินราชการโดยทุจริต
เอกสารที่ใช้ประกอบเป็นรายงานการเดินทางไปราชการได้แก่ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินที่แสดงว่าได้จ่ายเงินไปจริงโดยมีหลักฐานการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่ข้าราชการผู้นั้นเซ็นชื่อรับเงินไว้ด้วยเพื่อเบิกเงินจากส่วนราชการไปจ่ายให้และเอกสารการรับเงินที่ส่งไปล้างฎีกาเพื่อแสดงว่าได้มีการจ่ายเงินไปถูกต้องแล้วนั้นเป็นหลักฐานแห่งการก่อและระงับสิทธิในเงินค่าใช้จ่ายไปราชการซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นและรับรองในหน้าที่จึงเป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา1(8)และ(9) จำเลยที่2เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานทั่วไปและช่วยควบคุมการจ่ายเงินให้ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริตปลอมเอกสารดังกล่าวเพื่อขอเบิกเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของข้าราชการในสังกัดจำนวนหลายคนด้วยกันจึงมีความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264,266(1),268ประกอบมาตรา157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3215/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบอนุมัติเบิกจ่ายเงินเกินจริงจากโครงการสร้างงานในชนบท
จำเลยเป็นปลัดอำเภอได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้ทำการตรวจสอบผลงานตามโครงการสร้างวานในชนบทของสภาตำบลการแต่งตั้งดังกล่าวเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ในทางราชการจำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ต้องเดินทางไปตรวจสอบผลงานตามโครงการที่ได้รับมอบหมายแล้วรายงานให้นายอำเภอทราบการที่จำเลยทำรายงานว่าสภาตำบลได้จ้างเหมาเครื่องจักรกลขุดดินถูกต้องตามโครงการแล้วเห็นควรให้คณะกรรมการสภาตำบลดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างนั้นๆที่งานตามโครงการยังไม่แล้วเสร็จโดยจำเลยได้ร่วมออกไปดูการตรวจสอบรับมอบงานของคณะกรรมการตรวจรับการจ้างดังกล่าวด้วยอีกทั้งงานในส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จนั้นอาจตรวจสอบและพบเห็นได้โดยง่ายดังนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้นายอำเภอและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้รับความเสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบิกจ่ายเงินค่าครุภัณฑ์แล้วนำไปใช้ส่วนตัว ไม่ใช่การใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตหากขั้นตอนการจัดซื้อเสร็จสิ้นแล้ว
การกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ได้แก่การที่จำเลยซึ่งเป็นศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อเบิกเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องจากทางราชการแล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ร่วม กลับนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าการดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามฟ้องจากโจทก์ร่วมนั้น เมื่อว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์อนุมัติให้จัดซื้อแล้ว โจทก์ร่วมได้ส่งมอบครุภัณฑ์ตามฟ้องให้แก่สำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อซึ่งกรรมการตรวจรับครุภัณฑ์ได้ตรวจรับครุภัณฑ์ตามฟ้องไว้โดยดีหลังจากนั้น สำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อได้ทำเรื่องขอเบิกเงินไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งได้ทำการตรวจสอบหลักฐานและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องได้จำเลยและกรรมการรับเงินจึงได้ไปรับเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องซึ่งจ่ายเป็นเช็ค แล้วนำเข้าบัญชีของสำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อแสดงว่าในช่วงเวลาก่อนที่ขั้นตอนและหน้าที่ของจำเลยที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามฟ้องเสร็จสิ้นลง จำเลยมิได้ใช้อำนาจในตำแหน่งแสวงประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายประการใดข้อที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มอบเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องที่เบิกมาจากทางราชการให้แก่โจทก์ร่วม แม้ฟังว่าจำเลยทำเช่นนั้นจริงก็เป็นการกระทำภายหลังขั้นตอนการจัดซื้อเสร็จสิ้นไปแล้ว จึงมิใช่การใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามฟ้องโดยทุจริต การกระทำของจำเลยที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องกล่าวคือ จำเลยเบิกเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องจากทางราชการ แล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ร่วม กลับนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวนั้น แม้อาจถือได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบียดบังค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องเป็นของตนโดยทุจริตด้วยก็ตาม แต่เงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเบียดบังไปนั้น เป็นเงินที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์จ่ายให้แก่สำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ร่วมไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมมอบหมายจำเลยเป็นผู้รับมอบเงินแทน ต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวยังคงเป็นของทางราชการ โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย เมื่อไม่ปรากฏว่าส่วนราชการที่เป็นเจ้าของเงินได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเพราะเหตุที่ได้กระทำการดังกล่าวพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยข้อหายักยอกทรัพย์ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 และ มาตรา 264,268 ข้อหาละ 1 ปีศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก แต่เมื่อฎีกาของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151 ขึ้นมาสู่ การพิจารณาของศาลฎีกา และการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าเป็นความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าว คือการเอาใบเสร็จรับเงินของโจทก์ร่วมไปและกรอกข้อความในใบเสร็จรับเงินดังกล่าวบางฉบับ นำไปเป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ว่าได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ร่วมแล้วนั้นเห็นได้ชัดว่าเพื่อประโยชน์ในการเอาเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องไปอันเป็นการกระทำที่โจทก์อ้างว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151 นั่นเอง ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยในความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวได้
of 5