คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เบียดบัง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์กรณีซ่อมรถ: ผู้ครอบครองรถยนต์เบียดบังอะไหล่เป็นของตนเอง
ผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยยึดถือครอบครองรถยนต์เพื่อทำการซ่อมที่อู่ของจำเลย จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ การที่จำเลยถอดอะไหล่และเครื่องเสียงในรถยนต์ให้บุคคลอื่นหรือนำไปขายจึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนและบุคคลที่สามโดยทุจริต มีความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 357 เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคแรก แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงินงบประมาณแผ่นดินโดยทุจริต มีเจตนาเบียดบัง
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี มีหน้าที่เบิกเงินงบประมาณตามคำสั่งโรงพยาบาลบันนังสตา จำเลยปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีมานานถึง 14 ปี ย่อมทราบระเบียบเกี่ยวกับการรักษาเงินเป็นอย่างดี จำเลยเก็บเงินงบประมาณแผ่นดินที่โรงพยาบาลเบิกมาเพื่อจ่ายค่าเวชภัณฑ์ที่สั่งซื้อ จำเลยควรนำเก็บรักษาไว้ที่โรงพยาบาลและต้องปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงการคลัง แต่จำเลยกลับลงหลักฐานทางบัญชีเป็นเท็จว่าได้ชำระเงินทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้จ่าย และนำเงินนั้นมาเก็บไว้และเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตน นับแต่วันที่รับเงินมาจนกระทั่งเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบเป็นเวลาถึง 6 เดือน พฤติการณ์ของจำเลยฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์: ลูกจ้างเบียดบังสินค้าของผู้เสียหาย แม้รับค่าคอมมิชชั่น ไม่ใช่เหตุผิดสัญญาแพ่ง
จำเลยเป็นลูกจ้างผู้เสียหายมีหน้าที่จำหน่ายสินค้า ให้แก่ลูกค้าแล้วนำเงินมามอบให้ผู้เสียหาย จำเลยรับสินค้าไปจากผู้เสียหายแล้ว มิได้นำไปจำหน่ายแก่ลูกค้า แต่นำไปจำนำ และขายฝาก เป็นการเบียดบังทรัพย์สินของผู้อื่นที่อยู่ในความครอบครอง ของจำเลยโดยทุจริต ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะเป็นลูกจ้าง ผู้เสียหายหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์ ของผู้เสียหายแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปโดยทุจริต จำเลยย่อม มีความผิดฐานยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรกฎีกาของจำเลยที่ว่า พนักงานของผู้เสียหายไม่มีเงินเดือน แต่จะได้รับรายได้จากค่าคอมมิชชั่นของการขายและเปอร์เซ็นต์ จากการขายเป็นรายเดือน จำเลยจึงไม่ใช่ลูกจ้างผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จึงไม่เป็นสาระสำคัญ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7107/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีผิดสัญญาจ้างแรงงานและการเบียดบังยักยอกทรัพย์สิน
ตามฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ตำแหน่งพนักงานการเงิน มีหน้าที่รักษาเงินสดและทำบัญชีรับจ่าย ทุกประเภทตามคำสั่งของโจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังเอาเงินของโจทก์ไป เช่นนี้เป็นการอ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันเป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4656/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกในคดีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเบียดบังเงินของทางราชการ และความผิดพลาดในการดำเนินคดี
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ใช้ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาอันเดียวกัน ในคำฟ้องคดีเดียวที่รวมเอาความผิดหลายกระทงไว้ด้วยกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 หรือคำฟ้องหลายคดีที่พิจารณาพิพากษารวมกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 25 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมต่างกันก็ให้ศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปโดยมีข้อยกเว้นว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 วรรคท้าย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91มิได้บัญญัติห้ามว่าการนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป เมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้ ซึ่งการขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในคำพิพากษาเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใดซึ่งหากไม่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง จึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับโทษต่อหรือไม่เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน
คดีนี้และคดีก่อนเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำผิดทุจริตเบียดบังค่าธรรมเนียมและค่าคำขอในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินจากส่วนราชการของกรมที่ดิน หน่วยราชการซึ่งเป็นผู้เสียหายก็คือกรมที่ดินรายเดียวกัน สำนวนการสอบสวนของคดีนี้และคดีก่อนก็เป็นสำนวนเดียวกัน โจทก์สามารถฟ้องจำเลยสำหรับการกระทำความผิดคดีนี้และคดีดังกล่าวเป็นคดีเดียวกันได้ เพราะโจทก์จำเลยเป็นคนเดียวกัน และพยานก็เป็นชุดเดียวกัน แต่ถ้าโจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไป และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีทุกสำนวนรวมกัน ศาลก็จะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เหตุที่ต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเพราะเกิดความผิดพลาดในการดำเนินคดี และศาลชั้นต้นไม่มีโอกาสสั่งให้คดีก่อนพิจารณาพิพากษารวมกัน ประกอบกับคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยรวมเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 หากให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อนก็จะทำให้จำเลยต้องโทษจำคุกหนักขึ้น โดยเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 เพียงเพราะความผิดพลาดในการดำเนินคดี จึงไม่มีเหตุสมควรให้นับโทษจำคุกของจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อน
คดีก่อนเป็นคดีที่เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพิษณุโลกซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคดีนี้ แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีนี้ ในทางปฏิบัติไม่อาจยื่นฟ้องคดีก่อนต่อศาลชั้นต้น ทั้งไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีนี้ได้ จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจังหวัดพิษณุโลกจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยติดต่อกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานเบียดบังไปรษณีย์ภัณฑ์: การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่จัดการไปรษณีย์ภัณฑ์ย่อมเข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2519มาตรา15บัญญัติให้พนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาจำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานการสื่อสารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่บุรุษไปรษณีย์มีหน้าที่ปิดเปิดถุงไปรษณีย์ภัณฑ์และคัดเลือกไปรษณีย์ภัณฑ์เข้าด้านจ่ายได้เบียดบังเอาจดหมายต่างประเทศต้นทางเยอรมันและบราซิลเป็นของตนโดยทุจริตและตั้งใจกักหรือหน่วงเหนี่ยวไปรษณีย์ภัณฑ์ในระหว่างทางไปรษณีย์ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147และพระราชบัญญัติไปรษณีย์พ.ศ.2477มาตรา58

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบียดบังเงินที่เข้าบัญชีโดยผิดพลาดด้วยเจตนาทุจริต มีความผิดฐานยักยอก
เจ้าหน้าที่ของธนาคารผู้เสียหายได้นำเงินฝากจำนวน 60,000 บาท ของลูกค้ารายอื่นเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยโดยผิดพลาดและจำเลยรู้แล้ว การที่จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินดังกล่าวออกไปจากบัญชีของจำเลยเป็นการเบียดบังเอาเงินนั้นไปโดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 252 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7100/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในตั๋วสัญญาใช้เงินระหว่างสมรส: การใช้เงินส่วนตัวไม่ใช่การเบียดบังทรัพย์มรดก
ตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสามฉบับเป็นสินสมรสซึ่งผู้ตาย และจำเลยถือกรรมสิทธิ์คนละครึ่ง การที่จำเลยถอนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินครบกำหนดและนำเงินที่ถอนได้ครึ่งหนึ่งไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นการใช้เงินส่วนของจำเลย มิใช่ใช้ส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย จำเลยมิได้เบียดบังทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6729/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน: ไม่อยู่ในบังคับอายุความฟ้องละเมิด
โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินของโจทก์ที่จำเลยเบียดบังไปคืนมาอันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่อาจจะนำเอาอายุความฟ้องร้องมาตัดสิทธิการมีกรรมสิทธิ์ของเจ้าของได้ มิใช่เป็นกรณีฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยอาศัยมูลละเมิด จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5117/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างเบียดบังเช็คของนายจ้างเข้าบัญชีส่วนตัว การฟ้องเป็นคดีผิดสัญญาจ้างงานมีอายุความ 10 ปี
จำเลยเบิกความรับว่าได้นำเช็คของโจทก์ไปเข้าบัญชีจำเลยการที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้กระทำการดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนพยานหลักฐานในสำนวนและเมื่อจำเลยมิได้ส่งมอบเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ย่อมเป็นการเบียดบังจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ดูแลด้านบัญชีและการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์,ของบริษัท ฉ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือและของนาย ฉ. จำเลยนำเช็คของโจทก์ไปเรียกเก็บเงินแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเป็นการฝ่าฝืนสัญญาจ้างแรงงานจึงขอให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวเป็นการฟ้องเนื่องจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30
of 7