พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4691/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเพื่อผลประโยชน์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายตามกฎหมายอาญา
การที่จำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมโดยกล่าวเท็จชักชวนโจทก์ร่วมให้นำเงินไปซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารรายละ 2,000 บาท ในระยะเวลา 1 เดือน จะได้กำไรรายละ 600 บาท แบ่งให้เจ้าหน้าที่การเงินของทหารรายละ 50 บาท เหลือกำไรซึ่งจะทำให้โจทก์ได้ผลประโยชน์ตอบแทนรายละ 550 บาท ไม่ใช่กิจการที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้าม แต่เป็นเพียงข้ออ้างของจำเลยเพื่อจูงใจให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและยินยอมมอบเงินให้จำเลย โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8926/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าล่วงเวลาพนักงานรัฐวิสาหกิจขนส่ง: ต้องมีข้อตกลง จ่ายเบี้ยเลี้ยง/ส่วนแบ่ง ไม่ถือเป็นค่าล่วงเวลา
แม้ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ข้อ 25 และข้อ 26 จะกำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติหรือทำงานในวันหยุดเกินเวลาปกติของวันทำงานก็ตาม แต่ข้อ 28 ก็กำหนดว่าพนักงานที่ทำงานขนส่งไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25 และข้อ 26 เว้นแต่รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายประกอบกิจการงานขนส่งเดินรถโดยสารประจำทาง โจทก์เป็นพนักงานประจำรายเดือนตำแหน่งพนักงานขับรถ จึงเป็นพนักงานซึ่งทำงานขนส่ง และแม้จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยงพิเศษและอัตราเงินส่วนแบ่งให้พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารได้รับเบี้ยเลี้ยงพิเศษเนื่องจากทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง อันเป็นเวลาทำงานปกติและได้รับเงินส่วนแบ่งจากจำนวนตั๋วที่จำหน่ายได้ก็ตาม แต่คำสั่งดังกล่าวมิใช่ข้อตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายประกอบกิจการงานขนส่งเดินรถโดยสารประจำทาง โจทก์เป็นพนักงานประจำรายเดือนตำแหน่งพนักงานขับรถ จึงเป็นพนักงานซึ่งทำงานขนส่ง และแม้จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยงพิเศษและอัตราเงินส่วนแบ่งให้พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารได้รับเบี้ยเลี้ยงพิเศษเนื่องจากทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง อันเป็นเวลาทำงานปกติและได้รับเงินส่วนแบ่งจากจำนวนตั๋วที่จำหน่ายได้ก็ตาม แต่คำสั่งดังกล่าวมิใช่ข้อตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8912-8923/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง: เบี้ยเลี้ยงรายวันถือเป็นค่าจ้าง คำนวณจากจำนวนวันทำงาน
++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ที่จำเลยทั้งสิบเอ็ดสำนวนอุทธรณ์ว่า จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป็นเงินเดือนกับจ่ายเป็นเบี้ยเลี้ยงเฉพาะวันที่มาทำงาน มิได้มีเจตนาที่จะกำหนดค่าจ้างเป็นอัตราที่แน่นอนเป็นรายวัน อัตราค่าจ้างรายวันจะเปลี่ยนไปตามผลของการที่โจทก์แต่ละคนมาทำงาน ค่าจ้างส่วนที่เป็นเบี้ยเลี้ยงจึงเป็นการคำนวณค่าจ้างตามผลงานเป็นหน่วย โจทก์แต่ละคนจึงได้รับค่าชดเชยส่วนที่คิดจากเบี้ยเลี้ยงนี้ตามค่าจ้างของการทำงานที่ได้รับจริง 90 วัน หรือ 180 วันตามอายุงานของโจทก์แต่ละคนมิใช่คำนวณแบบเป็นรายวัน ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์แต่ละคน โดยคำนวณอัตราค่าจ้างที่โจทก์ดังกล่าวแต่ละคนได้รับ คือค่าจ้างที่ตกลงกันเดือนละ 3,000 บาทเว้นแต่โจทก์ที่ 7 ได้รับเดือนละ 3,500 บาท บวกด้วยเบี้ยเลี้ยงวันละ200 บาท โดยมิได้คำนึงว่าโจทก์แต่ละคนจะมาทำงานหรือไม่ ซึ่งโจทก์ทั้งสิบเอ็ดดังกล่าวมีวันหยุดสัปดาห์ละหนึ่งวัน เดือนหนึ่งจะมาทำงานอย่างมากไม่เกิน 26 วัน เงินส่วนเบี้ยเลี้ยงที่จะได้รับไม่เกินเดือนละ5,200 บาท ที่ศาลแรงงานกลางให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานมีผลให้โจทก์แต่ละคนได้รับค่าชดเชยเกินกว่าที่จะมีสิทธิได้รับ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยตกลงจ่ายเงินเดือนให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5โจทก์ที่ 8 ถึงที่ 12 เดือนละ 3,000 บาท และโจทก์ที่ 7 เดือนละ3,500 บาท กับเบี้ยเลี้ยงเฉพาะวันที่มาทำงานอีกวันละ 200 บาท นั้น การจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์แต่ละคนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเป็นรายวัน มิใช่เป็นการจ่ายค่าจ้างโดยคำนวณตามผลงานเป็นหน่วยดังที่จำเลยอ้าง ซึ่งการคำนวณจำนวนค่าชดเชยนั้นต้องคิดจากค่าจ้างรายวัน โดยไม่ต้องคำนึงถึงวันหยุดที่โจทก์แต่ละคนไม่มาทำงานในแต่ละเดือนดังที่จำเลยอ้าง
++ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์แต่ละคนได้รับเบี้ยเลี้ยงอัตราสุดท้ายขณะเลิกจ้างวันละ 200 บาท โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และโจทก์ที่ 7ถึงที่ 11 ทำงานกับจำเลยติดต่อมาครบสามปีแต่ไม่ครบหกปี จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ดังกล่าวไม่น้อยกว่าค่าจ้าง (เบี้ยเลี้ยง) อัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน คิดเป็นค่าชดเชยในส่วนนี้คนละ 36,000 บาท ส่วนโจทก์ที่ 12 ทำงานกับจำเลยมาครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบสามปี จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 12 ไม่น้อยกว่าค่าจ้าง (เบี้ยเลี้ยง) อัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน คิดเป็นค่าชดเชยที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์ที่ 12 ในส่วนนี้จำนวน 18,000 บาท จำเลยจ่ายค่าชดเชยส่วนที่คิดจากเบี้ยเลี้ยงที่เป็นค่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และโจทก์ที่ 7 ถึงที่ 11 ไม่ครบเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายคนละหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และโจทก์ที่ 12 ไม่ครบเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยส่วนที่ยังจ่ายไม่ครบให้แก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ที่จำเลยทั้งสิบเอ็ดสำนวนอุทธรณ์ว่า จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป็นเงินเดือนกับจ่ายเป็นเบี้ยเลี้ยงเฉพาะวันที่มาทำงาน มิได้มีเจตนาที่จะกำหนดค่าจ้างเป็นอัตราที่แน่นอนเป็นรายวัน อัตราค่าจ้างรายวันจะเปลี่ยนไปตามผลของการที่โจทก์แต่ละคนมาทำงาน ค่าจ้างส่วนที่เป็นเบี้ยเลี้ยงจึงเป็นการคำนวณค่าจ้างตามผลงานเป็นหน่วย โจทก์แต่ละคนจึงได้รับค่าชดเชยส่วนที่คิดจากเบี้ยเลี้ยงนี้ตามค่าจ้างของการทำงานที่ได้รับจริง 90 วัน หรือ 180 วันตามอายุงานของโจทก์แต่ละคนมิใช่คำนวณแบบเป็นรายวัน ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์แต่ละคน โดยคำนวณอัตราค่าจ้างที่โจทก์ดังกล่าวแต่ละคนได้รับ คือค่าจ้างที่ตกลงกันเดือนละ 3,000 บาทเว้นแต่โจทก์ที่ 7 ได้รับเดือนละ 3,500 บาท บวกด้วยเบี้ยเลี้ยงวันละ200 บาท โดยมิได้คำนึงว่าโจทก์แต่ละคนจะมาทำงานหรือไม่ ซึ่งโจทก์ทั้งสิบเอ็ดดังกล่าวมีวันหยุดสัปดาห์ละหนึ่งวัน เดือนหนึ่งจะมาทำงานอย่างมากไม่เกิน 26 วัน เงินส่วนเบี้ยเลี้ยงที่จะได้รับไม่เกินเดือนละ5,200 บาท ที่ศาลแรงงานกลางให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานมีผลให้โจทก์แต่ละคนได้รับค่าชดเชยเกินกว่าที่จะมีสิทธิได้รับ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยตกลงจ่ายเงินเดือนให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5โจทก์ที่ 8 ถึงที่ 12 เดือนละ 3,000 บาท และโจทก์ที่ 7 เดือนละ3,500 บาท กับเบี้ยเลี้ยงเฉพาะวันที่มาทำงานอีกวันละ 200 บาท นั้น การจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์แต่ละคนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเป็นรายวัน มิใช่เป็นการจ่ายค่าจ้างโดยคำนวณตามผลงานเป็นหน่วยดังที่จำเลยอ้าง ซึ่งการคำนวณจำนวนค่าชดเชยนั้นต้องคิดจากค่าจ้างรายวัน โดยไม่ต้องคำนึงถึงวันหยุดที่โจทก์แต่ละคนไม่มาทำงานในแต่ละเดือนดังที่จำเลยอ้าง
++ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์แต่ละคนได้รับเบี้ยเลี้ยงอัตราสุดท้ายขณะเลิกจ้างวันละ 200 บาท โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และโจทก์ที่ 7ถึงที่ 11 ทำงานกับจำเลยติดต่อมาครบสามปีแต่ไม่ครบหกปี จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ดังกล่าวไม่น้อยกว่าค่าจ้าง (เบี้ยเลี้ยง) อัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน คิดเป็นค่าชดเชยในส่วนนี้คนละ 36,000 บาท ส่วนโจทก์ที่ 12 ทำงานกับจำเลยมาครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบสามปี จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 12 ไม่น้อยกว่าค่าจ้าง (เบี้ยเลี้ยง) อัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน คิดเป็นค่าชดเชยที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์ที่ 12 ในส่วนนี้จำนวน 18,000 บาท จำเลยจ่ายค่าชดเชยส่วนที่คิดจากเบี้ยเลี้ยงที่เป็นค่าจ้างให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และโจทก์ที่ 7 ถึงที่ 11 ไม่ครบเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายคนละหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และโจทก์ที่ 12 ไม่ครบเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยส่วนที่ยังจ่ายไม่ครบให้แก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง และสิทธิวันหยุดพักผ่อนของลูกจ้างรถไฟ: การตีความสัญญาจ้างและข้อกำหนดกฎหมายแรงงาน
โจทก์ทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนขบวนรถไฟดีเซลราง เริ่มเข้าทำงานก่อนที่ขบวนรถจะออก 1 ชั่วโมง และทำงานอยู่บนขบวนรถตลอดทางจนถึงสถานีปลายทาง ส่วนในเที่ยวกลับก็เข้าทำงานในลักษณะเดียวกัน การทำงานของโจทก์ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการเดินทางของขบวนรถไฟดีเซลรางแต่ละครั้ง จึงเป็นการทำงานตามปกติของโจทก์ เบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายให้โจทก์แต่ละเที่ยวของการเดินทางจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติด้วย เพราะนอกจากงานต้อนรับบนขบวนรถแล้วโจทก์ไม่มีหน้าที่อื่นอีก แม้เวลาทำงานบนขบวนรถจะเกินกำหนดเวลาตามที่กำหนดในข้อ 3แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ก็ตาม โจทก์ก็ได้ทำงานกับจำเลยโดยได้รับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงรวมกันตลอดมา แสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างกันในลักษณะดังกล่าว เบี้ยเลี้ยงจึงเป็นค่าจ้าง เมื่อนำเบี้ยเลี้ยงไปคิดรวมกับเงินเดือนแล้ว ถือได้ว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
งานที่จำเลยให้โจทก์ทำเป็นงานขนส่ง แม้จำเลยจะให้โจทก์ทำงานเกินเวลาที่กำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดในการกระทำของตนเป็นอีกกรณีหนึ่ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 36
การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเกือบหนึ่งเท่า เมื่อพิจารณาตามลักษณะงานกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกือบ 4 ปี และโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการจ่ายค่าจ้างในลักษณะดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้ส่วนที่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเป็นค่าทำงานเกินเวลา ทั้งกรณีไม่ใช่การใช้แรงงานไม่เหมาะสม จึงใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยจ่ายเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินส่วนนี้อีก
ลักษณะงานของโจทก์จะต้องทำต่อเนื่องคาบเกี่ยวกันในวันที่ติดต่อกัน ไม่อาจหยุดเต็มวันในวันเดียวกันได้ จำเลยมีเวลาให้โจทก์หยุดทำงานติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้งกรณีถือได้ว่าในแต่ละสัปดาห์จำเลยได้ให้โจทก์หยุดทำงานเกินกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวง-มหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 7 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์
จำเลยไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปี ไม่มีข้อตกลงล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปหยุดปีอื่น ทั้งจำเลยไม่ได้ให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปี แม้ขณะฟ้องโจทก์ยังเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือให้จำเลยกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีในทางใดทางหนึ่งได้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายให้
งานที่จำเลยให้โจทก์ทำเป็นงานขนส่ง แม้จำเลยจะให้โจทก์ทำงานเกินเวลาที่กำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดในการกระทำของตนเป็นอีกกรณีหนึ่ง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 36
การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เกินกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเกือบหนึ่งเท่า เมื่อพิจารณาตามลักษณะงานกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกือบ 4 ปี และโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการจ่ายค่าจ้างในลักษณะดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้ส่วนที่เกินอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเป็นค่าทำงานเกินเวลา ทั้งกรณีไม่ใช่การใช้แรงงานไม่เหมาะสม จึงใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยจ่ายเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินส่วนนี้อีก
ลักษณะงานของโจทก์จะต้องทำต่อเนื่องคาบเกี่ยวกันในวันที่ติดต่อกัน ไม่อาจหยุดเต็มวันในวันเดียวกันได้ จำเลยมีเวลาให้โจทก์หยุดทำงานติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้งกรณีถือได้ว่าในแต่ละสัปดาห์จำเลยได้ให้โจทก์หยุดทำงานเกินกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวง-มหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 7 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์
จำเลยไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปี ไม่มีข้อตกลงล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปหยุดปีอื่น ทั้งจำเลยไม่ได้ให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปี แม้ขณะฟ้องโจทก์ยังเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือให้จำเลยกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีในทางใดทางหนึ่งได้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำวินิจฉัยศาลแรงงานกลาง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เงินเบี้ยเลี้ยงที่โจทก์ได้รับคือเงินประจำตำแหน่ง มิใช่เงินเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อจำเลยย้ายโจทก์ไปอยู่แผนกอื่นจึงมีอำนาจตัดไม่จ่ายให้ได้ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเงินส่วนนี้เป็นเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ เพื่อให้เห็นว่าการตัดเบี้ยเลี้ยงของโจทก์เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมาดังกล่าว เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีเแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197-1206/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงไม่ใช่ค่าจ้างเมื่อลูกจ้างกลับประจำบริษัท เลิกจ้างไม่รวมเบี้ยเลี้ยงคำนวณค่าชดเชย
เมื่อการก่อสร้างอาคารในต่างจังหวัดเสร็จลง โจทก์ต้องเดินทางกลับมาประจำบริษัทจำเลยเพื่อรอฟังคำสั่งให้ไปควบคุมงานในโครงการอื่นต่อไประหว่างรองานที่บริษัทจำเลย โจทก์คงได้รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียวไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยง เบี้ยเลี้ยงจึงเป็นเงินตอบแทนในการทำงานเฉพาะในเวลาที่โจทก์ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเท่านั้น มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ระหว่างรองานอยู่ที่บริษัทจำเลย จึงไม่ต้องนำเบี้ยเลี้ยงมารวมคำนวณค่าชดเชยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197-1206/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงไม่ใช่ค่าจ้างเมื่อลูกจ้างกลับประจำบริษัทรอคำสั่ง ค่าชดเชยคำนวณจากเงินเดือน
เมื่อการก่อสร้างอาคารในต่างจังหวัดเสร็จลง โจทก์ต้องเดินทางกลับมาประจำบริษัทจำเลยเพื่อรอฟังคำสั่งให้ไปควบคุมงานในโครงการอื่นต่อไประหว่างรองานที่บริษัทจำเลย โจทก์คงได้รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียวไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงเบี้ยเลี้ยงจึงเป็นเงินตอบแทนในการทำงานเฉพาะในเวลาที่โจทก์ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเท่านั้น มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ระหว่างรองานอยู่ที่บริษัทจำเลย จึงไม่ต้องนำเบี้ยเลี้ยงมารวมคำนวณค่าชดเชยด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4213-4214/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงพนักงานส่งเสริมการขายถือเป็นค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชยและดอกเบี้ย
โจทก์เป็นพนักงานส่งเสริมการขาย ต้องออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดทุกเดือน เดือนละประมาณ 19 วันในการออกปฏิบัติหน้าที่ในต่างจังหวัดจำเลยจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงอันได้แก่ค่าโรงแรมและค่าอาหารให้แก่โจทก์ วันละ 240 บาท ซึ่งเป็นจำนวนแน่นอนและเป็นการเหมาจ่าย ดังนี้ เบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ดังกล่าวถือว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2530 ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินที่ค้างชำระแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2525 ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 5 ปี จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 แล้ว
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2530 ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินที่ค้างชำระแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2525 ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 5 ปี จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักของข้าราชการ/ลูกจ้าง ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2)
โจทก์ยื่นคำขอฝ่ายเดียวขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดทรัพย์ซึ่งจำเลยจะได้รับจากนายจ้างของจำเลยหากศาลเห็นว่าสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของจำเลยดังกล่าวไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามป.วิ.พ.มาตรา286ศาลย่อมมีอำนาจปฏิเสธไม่ออกหมายบังคับคดีให้แก่โจทก์ได้ สิทธิเรียกร้องเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักเป็นค่าจ้างซึ่งทางราชการจ่ายให้เป็นพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนและค่าจ้างจากงบประมาณรายจ่ายให้แก่ข้าราชการหรือลูกจ้างที่เดินทางไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามป.วิ.พ.มาตรา286(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดไม่ถือเป็นค่าทำงานวันหยุด หากจำเลยไม่ได้สั่งให้ทำงานในวันหยุด
การที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์ตามจำนวนวันที่ออกไปปฏิบัติงานที่ต่างจังหวัด เป็นการให้เงินตอบแทนการทำงานในช่วงเวลาที่ทำงานในต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นวันทำงานปกติหรือวันหยุดประจำสัปดาห์มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน และจำเลยก็มิได้มีคำสั่งหรือระบุเจาะจงว่า โจทก์จะต้องทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ แต่เป็นดุลพินิจของโจทก์ที่จะเลือกปฏิบัติงานในวันใดเวลาใดก็ได้ในระหว่างช่วงเวลานั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันหยุด โจทก์ไม่มีสิทธิได้ค่าทำงานในวันหยุดในช่วงเวลาดังกล่าว