พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปรียบเทียบงดฟ้องร้องทางศุลกากร: อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและขอบเขตความรับผิดของเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมศุลกากรได้มีความเห็นตามที่เจ้าหน้าที่เสนอมาว่า ม. ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารถยนต์ใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่นได้นำเข้ารถยนต์โดยสำแดงรุ่นผิดไปจากรถยนต์โตโยต้า ซอเรอร์ เป็นรถยนต์โตโยต้า มาร์คทู ต่อมา ม. ขอยกรถยนต์คันดังกล่าวให้ตกเป็นของแผ่นดินเพื่อตกลงระงับคดีตามมาตรา 27 หรือ 27 ทวิ ของ พ.ร.บ. ศุลกากร จึงให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง แม้จำเลยที่ 10 จะมีความเห็นให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมโดยมิได้มีความเห็นชี้ขาดก่อนว่าการกระทำของ ม. จะเป็นความตามมาตรา 27 หรือว่าจะเป็นความผิดตามมาตรา 27 ทวิ ฐานใดฐานหนึ่ง เพื่อพิจารณาก่อนว่าความผิดที่ ม. กระทำจะตรงหรือไม่ตรงด้วยข้อหาความผิดที่จะเปรียบเทียบได้ก็ตาม ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ เพราะอำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ม. ผู้นำเข้ารถยนต์จะมีความผิดฐานใด เป็นอำนาจของศาล
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามมาตรา 102 ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องร้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่มีผู้มีอำนาจได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ ดังนั้น การที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องได้มีมติให้รับทำความตกลงระงับคดีโดยรับรถยนต์ของกลางไว้เป็นของแผ่นดินตามข้อเสนอของผู้ต้องหา จึงย่อมเป็นการเปรียบเทียบที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ในการประชุมของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะมีแต่เลขานุการคณะกรรมการเป็นผู้รายงาน โดยจำเลยที่ 10 และที่ 11 จะทราบข้อเท็จจริงและมิได้ทักท้วงหรือชี้แจงแสดงเหตุผลในที่ประชุมเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่การประชุม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่จะถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิด เพราะที่ประชุมจะมีมติอย่างไรย่อมต้องเป็นไปตามความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมิได้มีเพียงจำเลยที่ 10 และที่ 11 เท่านั้น การมีมติจึงเป็นมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง มิใช่ความเห็นส่วนตัวของจำเลยที่ 10 และที่ 11 ดังนี้ แม้การมีมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกค่าอากรที่ขาดจากข้าราชการที่กระทำผิดวินัยได้ก็ตาม ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 รับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ได้
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามมาตรา 102 ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องร้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่มีผู้มีอำนาจได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ ดังนั้น การที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องได้มีมติให้รับทำความตกลงระงับคดีโดยรับรถยนต์ของกลางไว้เป็นของแผ่นดินตามข้อเสนอของผู้ต้องหา จึงย่อมเป็นการเปรียบเทียบที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ในการประชุมของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะมีแต่เลขานุการคณะกรรมการเป็นผู้รายงาน โดยจำเลยที่ 10 และที่ 11 จะทราบข้อเท็จจริงและมิได้ทักท้วงหรือชี้แจงแสดงเหตุผลในที่ประชุมเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่การประชุม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่จะถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิด เพราะที่ประชุมจะมีมติอย่างไรย่อมต้องเป็นไปตามความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมิได้มีเพียงจำเลยที่ 10 และที่ 11 เท่านั้น การมีมติจึงเป็นมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง มิใช่ความเห็นส่วนตัวของจำเลยที่ 10 และที่ 11 ดังนี้ แม้การมีมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกค่าอากรที่ขาดจากข้าราชการที่กระทำผิดวินัยได้ก็ตาม ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 รับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ได้