พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงต้องยึดถือระยะเวลาการแจ้งข้อหาใหม่ หากเปลี่ยนข้อหาเดิมเป็นข้อหาใหม่ภายหลัง
บทบัญญัติในมาตรา 9 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ที่ห้ามมิให้ผู้ว่าคดีฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 7 เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการก่อน นั้น หมายความเฉพาะคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้
ชั้นแรกพนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดที่จะพิจารณาพิพากษา พนักงานสอบสวนสอบสวนแล้วเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง พนักงานอัยการสั่งให้ฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 พนักงานสอบสวน จึงแจ้งข้อหาตามมาตรา 334 ให้จำเลยทราบ และยื่นฟ้องต่อศาลแขวงในวันเดียวกันกรณีนี้ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตั้งแต่วันแจ้งข้อหาตามมาตรา 334เมื่อได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงภายในกำหนดเวลา 72 ชั่วโมงแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องหรือขออนุญาตจาก อธิบดีกรมอัยการก่อนฟ้อง
ชั้นแรกพนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดที่จะพิจารณาพิพากษา พนักงานสอบสวนสอบสวนแล้วเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง พนักงานอัยการสั่งให้ฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 พนักงานสอบสวน จึงแจ้งข้อหาตามมาตรา 334 ให้จำเลยทราบ และยื่นฟ้องต่อศาลแขวงในวันเดียวกันกรณีนี้ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตั้งแต่วันแจ้งข้อหาตามมาตรา 334เมื่อได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงภายในกำหนดเวลา 72 ชั่วโมงแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องหรือขออนุญาตจาก อธิบดีกรมอัยการก่อนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการแทงหลายแผลระยะกระชั้นชิด และการเปลี่ยนข้อหาจากทำร้ายร่างกายเป็นพยายามฆ่า
ในขณะเมาสุรา จำเลยแทงผู้เสียหาย 5 แผล แต่ที่ลึกทะลุภายใน 3 แผล คือ ที่ชายโครงแถบซ้ายยาว 2.? เซนติเมตร กว้างครึ่งเซนติเมตร แผลบริเวณหน้าอกกว้างยาวเท่ากัน และที่หน้าท้องแถบขวา แผลยาว 3 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร อันเป็นแผลที่อยู่ในบริเวณหุ้มห่ออวัยวะภายในทั้งสิ้น มีดที่ใช้แทง ใบมีดยาว 6 นิ้ว กว้าง 4 เซนติเมตร แทงในระยะกระชั้นชิดติดกันอย่างเคียดแค้น แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า
คดีที่มีโทษจำคุกสูงกว่า 10 ปี เมื่อเริ่มพิจารณา ศาลสอบจำเลยเรื่องทนายความ จำเลยแถลงว่าจะหาทนายเอง ศาลถามคำให้การ จำเลยให้การปฏิเสธ จำเลยตั้งทนายเมื่อเริ่มสืบพยานโจทก์ แม้ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นก็ตาม ก็ยังไม่มีเหตุสมควรที่จะย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208
พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาสอบสวนจำเลยในชั้นแรกฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ต่อมาแจ้งข้อหาใหม่เป็นพยายามฆ่าผู้เสียหาย ดังนี้ ย่อมทำได้.
คดีที่มีโทษจำคุกสูงกว่า 10 ปี เมื่อเริ่มพิจารณา ศาลสอบจำเลยเรื่องทนายความ จำเลยแถลงว่าจะหาทนายเอง ศาลถามคำให้การ จำเลยให้การปฏิเสธ จำเลยตั้งทนายเมื่อเริ่มสืบพยานโจทก์ แม้ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นก็ตาม ก็ยังไม่มีเหตุสมควรที่จะย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208
พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาสอบสวนจำเลยในชั้นแรกฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ต่อมาแจ้งข้อหาใหม่เป็นพยายามฆ่าผู้เสียหาย ดังนี้ ย่อมทำได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกอาวุธปืนแจ้งไม่ทันกำหนด - เปลี่ยนข้อหาไม่ได้
จำเลยได้รับมรดกอาวุธปืนจากบิดาจำเลย ซึ่งได้รับอนุญาตให้มีโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยมิได้ไปแจ้งความขอรับมรดกภายในกำหนดของกฎหมายและการกระทำของจำเลยอยู่ในระหว่างใช้ พ.ร.บ.อาวุธปืน2477 โจทก์จะเปลี่ยนฐานความผิดมาฟ้องขอให้ลงโทษฐานมีอาวุธปืนโดยมิได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน 2490 มาตรา 7,72 ไม่ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีวิวาททำให้ถึงแก่ความตาย โจทก์ขอเปลี่ยนฐานความผิดเป็นทำร้ายร่างกาย
ฟ้องว่าสมคบกับทำร้ายเขาถึงตาย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยมีผิดฐานวิวาทเป็นเหตุให้คนตายตามาตรา 253, ลงโทษจำเลยไม่ได้คดีฟ้องขอให้ลงโทษฐานฆ่าคน ซึ่งถือว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายไม่ถึงบาดเจ็บ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลไม่รับฎีกา คดีเปลี่ยนข้อหาจากรับของโจรเป็นลักทรัพย์
ศาลเดิมวางรับของโจรศาลอุทธรณ์วางลักทรัพย์จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจูงใจเจ้าพนักงานเพื่อกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ แม้เป็นการเปลี่ยนข้อหาความผิดก็ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144
จำเลยทั้งสองไปติดต่อกับดาบตำรวจ ช. เพื่อขอให้ช่วยเหลือ พ. กับพวก โดยเปลี่ยนข้อหาจากเดิมข้อหาร่วมกันมีแมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเป็นข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเสนอให้เงิน 70,000 บาท ย่อมเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ขอให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ดาบตำรวจ ช. ไปดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชากระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ เมื่อพันตำรวจตรี ต. ผู้บังคับบัญชาของดาบตำรวจ ช. ทราบความประสงค์ของจำเลยทั้งสองจากดาบตำรวจ ช. และวางแผนจับกุมโดยตอบตกลงและนัดหมายให้นำเงินมอบให้ และจับกุมได้พร้อมเงินของกลาง จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ขอให้ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. และพันตำรวจตรี ต. เพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144
โจทก์ฟ้องว่า ดาบตำรวจ ช. ได้จับกุม พ. กับพวกในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน จำเลยทั้งสองให้ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการปล่อยตัว พ. กับพวกซึ่งเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ แต่ในทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยทั้งสองกระทำการเพื่อจูงใจให้ดาบตำรวจ ช. ดำเนินการช่วยเหลือ พ. กับพวกโดยเปลี่ยนข้อหาให้เบาลง ก็มิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ทั้งนี้เพราะไม่ว่าจะเป็นการให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ปล่อยตัวหรือเปลี่ยนข้อหาก็ล้วนแต่เป็นการจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามที่พิจารณาได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่า ดาบตำรวจ ช. ได้จับกุม พ. กับพวกในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน จำเลยทั้งสองให้ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการปล่อยตัว พ. กับพวกซึ่งเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ แต่ในทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยทั้งสองกระทำการเพื่อจูงใจให้ดาบตำรวจ ช. ดำเนินการช่วยเหลือ พ. กับพวกโดยเปลี่ยนข้อหาให้เบาลง ก็มิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ทั้งนี้เพราะไม่ว่าจะเป็นการให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ปล่อยตัวหรือเปลี่ยนข้อหาก็ล้วนแต่เป็นการจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามที่พิจารณาได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง