คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนฐานะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดคำนวณบำนาญสำหรับข้าราชการที่เคยได้รับบำนาญแล้ว และได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นข้าราชการใหม่ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการบอกเลิกบำนาญ
โจทก์เข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2463 แล้วลาออกเมื่อวันที่1 สิงหาคม 2477 โดยได้ไปเป็นผู้ช่วยจัดทำตำราและสอนกฎหมายซึ่งเป็น ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2477 นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2477 ถึง พ.ศ.2502โจทก์ได้รับบำนาญจากทางราชการตลอดมา แต่ต่อมาได้คืนบำนาญสำหรับปี พ.ศ.2501 และ 2502 เนื่องจากในวันที่ 1 มกราคม 2500ได้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2499 ออกใช้บังคับ และโดยผลของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ นี้ โจทก์ได้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนย้อนหลังไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2477 แม้การที่กฎหมาย เปลี่ยนฐานะของโจทก์จากการเป็นลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะถือไม่ได้ว่าเป็นการกลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2494 เพราะไม่มีการกลับเข้ารับ ราชการใหม่ แต่โดยที่โจทก์เป็นผู้ได้รับบำนาญอยู่ก่อนที่โจทก์จะได้รับการ เปลี่ยนฐานะจากลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เมื่อมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะคิดเวลาราชการของโจทก์ทั้งสองครั้งติดต่อกัน เพื่อคำนวณ เงินบำนาญได้หรือไม่ กรณีก็ต้องวินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือเทียบกับมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2494 ซึ่งตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้าราชการผู้ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งการ รับราชการครั้งเก่าและครั้งใหม่ติดต่อกันสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ จะต้อง บอกเลิกรับบำนาญเสียก่อนภายใน 30 วัน นับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อไม่มีวันกลับเข้ารับราชการใหม่ ก็ควรจะต้องถือว่าหากโจทก์ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งสองครั้งติดต่อกัน โจทก์ก็ต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันประกาศใช้บังคับของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2499 เมื่อโจทก์ มิได้บอกเลิกรับบำนาญภายในกำหนด จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำนาญทั้งเวลาราชการครั้งก่อนและครั้งหลังติดต่อกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องแจ้งเปลี่ยนฐานะการครอบครองจากผู้รับจำนองเป็นผู้ครอบครองเพื่อตนเอง
ซื้อที่ดินมีโฉนดมาโดยทำสัญญาซื้อขายกันเอง แล้วครอบครองที่ดินมาเกิน 10 ปีแล้วนั้น ถ้าได้ความว่า ในหน้าโฉนดยังมีการจำนองติดอยู่ และผู้ที่ขายที่ดินให้คือผู้ที่รับจำนองมาจากเจ้าของเดิม ดังนี้ รูปเรื่องแสดงอยู่ในตัวว่า ฝ่ายผู้ซื้อรับโอนมาเพียงสิทธิจำนองจากผู้รับจำนอง และเข้าครอบครองที่นี้ ในฐานะผู้รับจำนองเท่านั้น ฝ่ายผู้ซื้อจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ซึ่งเป็นการเปลี่ยนฐานะการครอบครองเดิม จะต้องแสดงเจตนาแจ้งให้เจ้าของที่ดินในโฉนดทราบเสียก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสำนักพระคลังข้างที่หลังการเปลี่ยนฐานะและผลของการโอนสิทธิหน้าที่
สำนักพระคลังข้างที่ย่อมมีอำนาจฟ้องร้องบังคับตามสิทธิต่าง ๆ ซึ่งกรมพระคลังข้างที่มีอยู่ก่อนเวลาที่ได้โอนกิจการมาให้สำนักพระคลังข้างที่ตามพระราชกฤษฎีกาข้างบนนั้นได้ การเปลี่ยนชื่อและฐานะของกรมพระคลังข้างที่มาเป็นสำนักพระคลังข้างที่นั้นไม่มีผลทำให้สิทธิและหน้าที่ที่โอนให้กันนั้นมีลักษณเป็นการโอนหนี้และแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลแพ่งฯ