พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันเปลี่ยนแปลงเมื่อเปลี่ยนตำแหน่ง: โจทก์ยินยอมให้ผู้ค้ำประกันใหม่มาแทนที่ ทำให้ผู้ค้ำประกันเดิมหลุดพ้นความรับผิด
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือรับรองจะชดใช้ความเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายตอนที่จำเลยที่ 1 เข้าทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งคนการ ต่อมาโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ไปทำงานในตำแหน่งพนักงานเก็บเงินในห้องอาหารและได้ให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกันเพิ่มเติมจากหนังสือรับรองของจำเลยที่ 3 และไม่ปรากฏในทางปฏิบัติของโจทก์ว่าลูกจ้างโจทก์ต้องมีหนังสือรับรองตอนเข้าทำงานและต้องทำหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งแต่อย่างใด ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 3 ต้องผูกพันตามหนังสือรับรองโดยให้จำเลยที่ 4 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 แทน จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ในกรณีจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินจากห้องอาหารโจทก์
ฎีกาในปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
ฎีกาในปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง หากยังทำงานต่อเนื่องและได้รับค่าจ้าง
เมื่อคณะรัฐมนตรีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยก็ได้แต่งตั้งให้โจทก์ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยได้รับเงินเดือนเท่าเดิม มิได้ปลดโจทก์ออกจากงาน แต่เป็นการสั่งให้โจทก์พ้นตำแหน่งเดิมแล้วให้ไปทำงานตำแหน่งหน้าที่ใหม่ในฐานะเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย การทำงานของโจทก์ต่อเนื่องกัน ไม่มีระยะเวลาอันเป็นช่องว่างที่แสดงว่าโจทก์ต้องออกจากงานไปชั่วคราวแล้วกลับแต่งตั้งเข้ามาใหม่จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องนายอำเภอในฐานะตำแหน่งหน้าที่ แม้ผู้ดำรงตำแหน่งเปลี่ยนไปแล้ว ก็ยังฟ้องได้ตามกฎหมาย
การฟ้องนายอำเภอบ้านค่ายอันมีตำแหน่งหน้าที่การงานในอำเภอแน่นอนเพียงคนเดียวในอำเภอนั้น ถึงแม้นายอำเภอบ้านค่ายจะไม่ใช่นิติบุคคล หรือบุคคลที่ดำรงตำแหน่งนายอำเภออยู่เดิมได้ตายไปแล้วก็ตาม แต่ตำแหน่งนายอำเภออันเป็นตำแหน่งหน้าที่การงานยังคงอยู่ โจทก์จึงฟ้องนายอำเภอบ้านค่ายในทางตำแหน่งหน้าที่ราชการเป็นจำเลยได้ (อ้างฎีกา 824/2504)
โจทก์ฟ้องนายอำเภอบ้านค่ายโดย ข. ในฐานะผู้รักษาราชการแทนเป็นจำเลยที่ 3 โดยบรรยายฟ้องว่า นายอำเภอบ้านค่ายขณะ ข. ดำรงตำแหน่งอยู่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 นำเอาที่ดินของสามีจำเลยที่ 1 ซึ่งขายให้โจทก์แล้ว กับที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดต่อกันอีกหนึ่งแปลงไปออกใบแทน ส.ค.1 และรังวัดออก น.ส.3 และทำนิติกรรมขายให้แก่จำเลยที่ 2 ไป ดังนี้ แม้คำฟ้องและคำขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยอื่นใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิด 20,000 บาทให้โจทก์ นายอำเภอบ้านค่ายหรือผู้รักษาราชการแทนต่อมาจะไม่ต้องรับผิดชอบด้วย เพราะนายอำเภอไม่ใช่เทศภิบาลปกครองท้องที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 ไม่ใช่นิติบุคคลก็ตาม แต่ฟ้องและคำขอให้ทำลายใบแทน ส.ค.1 น.ส.3 และนิติกรรมซื้อขายที่นายอำเภอบ้านค่ายโดยฐ. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งได้ทำการจดทะเบียนไว้ก็หาใช่เป็นการมุ่งฟ้อง ฐ. เป็นส่วนตัวไม่ แต่เป็นการฟ้องนายอำเภอบ้านค่ายในทางตำแหน่งหน้าที่ราชการ การฟ้องเช่นนี้ ข. ในฐานะผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอบ้านค่ายไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 3 ได้ (แม้ ข. จะย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นก็จะพิพากษายกฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ไม่ได้)
โจทก์ฟ้องนายอำเภอบ้านค่ายโดย ข. ในฐานะผู้รักษาราชการแทนเป็นจำเลยที่ 3 โดยบรรยายฟ้องว่า นายอำเภอบ้านค่ายขณะ ข. ดำรงตำแหน่งอยู่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 นำเอาที่ดินของสามีจำเลยที่ 1 ซึ่งขายให้โจทก์แล้ว กับที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดต่อกันอีกหนึ่งแปลงไปออกใบแทน ส.ค.1 และรังวัดออก น.ส.3 และทำนิติกรรมขายให้แก่จำเลยที่ 2 ไป ดังนี้ แม้คำฟ้องและคำขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยอื่นใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิด 20,000 บาทให้โจทก์ นายอำเภอบ้านค่ายหรือผู้รักษาราชการแทนต่อมาจะไม่ต้องรับผิดชอบด้วย เพราะนายอำเภอไม่ใช่เทศภิบาลปกครองท้องที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 ไม่ใช่นิติบุคคลก็ตาม แต่ฟ้องและคำขอให้ทำลายใบแทน ส.ค.1 น.ส.3 และนิติกรรมซื้อขายที่นายอำเภอบ้านค่ายโดยฐ. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งได้ทำการจดทะเบียนไว้ก็หาใช่เป็นการมุ่งฟ้อง ฐ. เป็นส่วนตัวไม่ แต่เป็นการฟ้องนายอำเภอบ้านค่ายในทางตำแหน่งหน้าที่ราชการ การฟ้องเช่นนี้ ข. ในฐานะผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอบ้านค่ายไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 3 ได้ (แม้ ข. จะย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นก็จะพิพากษายกฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ไม่ได้)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8286/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีผลบังคับเฉพาะการทำงานในตำแหน่งที่ระบุ หากเปลี่ยนตำแหน่งเพิ่มความเสี่ยง ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
คำฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดระเบียบและฝ่าฝืนวิธีการขายรถยนต์ของโจทก์โดยขายรถยนต์ให้ลูกค้าได้เงินมาแล้วไม่ส่งมอบโจทก์จนครบถ้วน อันเป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับที่ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้เงินคืน ส่วนรายละเอียดว่าเป็นการผิดระเบียบข้อใดสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ไม่เคลือบคลุม
ตามสัญญาค้ำประกันข้อ 1 ระบุให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งสมัครเข้าทำงานในบริษัทโจทก์ตามใบสมัครงานลงวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์หรือกระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ในขณะทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคลตามที่จำเลยที่ 2 ระบุในสัญญาค้ำประกันข้อ 1 แม้ว่าสัญญาค้ำประกันข้อ 4 ระบุว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมและตกลงด้วยว่าหากโจทก์โยกย้าย แต่งตั้ง สับเปลี่ยน หรือถอดถอนจำเลยที่ 1 ไปทำงานกับบริษัทในเครือหรือสำนักงานสาขาแห่งใดให้ถือว่าสัญญาค้ำประกันนี้มีผลบังคับได้เช่นเดิมตลอดไป ก็มีความหมายเพียงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่กับโจทก์หรือบริษัทในเครือของโจทก์ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคลตามที่ค้ำประกันไว้เท่านั้น เมื่อโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ย้ายจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่แผนกบุคคลไปทำหน้าที่พนักงานขาย อันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้นเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน และจำเลยที่ 1 ทำให้เกิดความเสียหาย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญาค้ำประกันข้อ 1 ระบุให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งสมัครเข้าทำงานในบริษัทโจทก์ตามใบสมัครงานลงวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์หรือกระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ในขณะทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคลตามที่จำเลยที่ 2 ระบุในสัญญาค้ำประกันข้อ 1 แม้ว่าสัญญาค้ำประกันข้อ 4 ระบุว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมและตกลงด้วยว่าหากโจทก์โยกย้าย แต่งตั้ง สับเปลี่ยน หรือถอดถอนจำเลยที่ 1 ไปทำงานกับบริษัทในเครือหรือสำนักงานสาขาแห่งใดให้ถือว่าสัญญาค้ำประกันนี้มีผลบังคับได้เช่นเดิมตลอดไป ก็มีความหมายเพียงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่กับโจทก์หรือบริษัทในเครือของโจทก์ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคลตามที่ค้ำประกันไว้เท่านั้น เมื่อโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ย้ายจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่แผนกบุคคลไปทำหน้าที่พนักงานขาย อันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้นเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน และจำเลยที่ 1 ทำให้เกิดความเสียหาย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์