พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โอนการจ้างไม่ใช่เลิกจ้าง: สิทธิค่าชดเชยเมื่อมีการเปลี่ยนนายจ้าง
การที่โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้วเข้าเป็นลูกจ้างของบริษัท ส. นั้น โจทก์ได้ทำงานรับจ้างต่อไป ตามเดิม ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่างๆ จากนายจ้างคนใหม่เช่นที่เคยได้รับอยู่เดิมและได้นับระยะเวลาการทำงานระหว่างเป็นลูกจ้างของจำเลยกับเป็นลูกจ้างของบริษัท ส.ติดต่อกัน ดังนี้ เห็นได้ว่ามิได้มีการเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีการจ้างต่อไปตามเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวนายจ้างจากจำเลยเป็นบริษัทส. เท่านั้น จึงเป็นเรื่องโอนการจ้างหาใช่เลิกจ้างไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยจากจำเลย
แม้การโอนการจ้างนี้จะเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับบริษัท ส. ก็ถือได้ว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทำในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยโดยปริยายเพราะกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบผูกพันต่อโจทก์ในเรื่องการว่าจ้างทำงานในโรงงานแห่งนี้ หากจำเลยดำเนินการตามสัญญาเช่าไม่ได้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็ต้องรับโจทก์เป็นลูกจ้างต่อไป
แม้การโอนการจ้างนี้จะเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับบริษัท ส. ก็ถือได้ว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทำในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยโดยปริยายเพราะกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบผูกพันต่อโจทก์ในเรื่องการว่าจ้างทำงานในโรงงานแห่งนี้ หากจำเลยดำเนินการตามสัญญาเช่าไม่ได้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็ต้องรับโจทก์เป็นลูกจ้างต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14420-14423/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายลูกจ้างไปบริษัทอื่นถือเป็นการเปลี่ยนนายจ้าง ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หากไม่ยินยอมถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กรณีจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 หรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญ ว่ามีเหตุอันจำเป็นหรือสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างหรือไม่ เมื่อบริษัท น. และบริษัท ป. เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลย การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างสั่งโอนย้ายโจทก์ทั้งสี่จากบริษัทจำเลยไปทำงานที่บริษัท น. และบริษัท ป. จึงเป็นการเปลี่ยนตัวนายจ้างไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสี่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 577 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ยินยอมไปทำงานที่บริษัท น. และบริษัท ป. จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่โดยโจทก์ทั้งสี่ไม่มีความผิด เป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุสมควร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49