พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสมาชิกสหภาพแรงงานหลังคำสั่งลงโทษทางวินัย การเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษมีผลต่อสมาชิกภาพหรือไม่
โจทก์ถูกลงโทษไล่ออกจากการเป็นลูกจ้างของบริษัทซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่โจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่ง คำสั่งลงโทษไล่ออกจึงยังไม่เป็นที่สุดจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่เมื่อต่อมาก่อนมีคำวินิจฉัยบริษัทได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษไล่ออกดังกล่าว โดยให้ลงโทษโจทก์ด้วยการตัดเงินเดือน 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา3 เดือนแทน และให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามปกติ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษเดิมจากไล่ออกเป็นตัดเงินเดือนและถือว่าคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนเป็นที่สุดแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ถูกลงโทษเพียงตัดเงินเดือน มิได้ถูกลงโทษไล่ออก โจทก์จึงยังมีสถานะเป็นพนักงานของบริษัทมาตลอด ไม่ขาดคุณสมบัติหรือพ้นสภาพการเป็นสมาชิกและกรรมการของสมาคมหรือสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ
จำเลยเป็นนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจโจทก์เป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ การที่จำเลยมีหนังสือไปยังโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยใช้อำนาจของนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย และยืนยันว่าการใช้อำนาจดังกล่าวถูกต้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้
จำเลยเป็นนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจโจทก์เป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ การที่จำเลยมีหนังสือไปยังโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยใช้อำนาจของนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย และยืนยันว่าการใช้อำนาจดังกล่าวถูกต้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลเกี่ยวกับมาตรการทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมและการศึกษา
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนด 2 ปี นับแต่ วันพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) แล้ว ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขอรับตัวจำเลยไปดูแลแทนการส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆที่ศาลจะกำหนด ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปมีทางให้ศาลเลือกวิธีการที่เป็นผลดีแก่จำเลยมากกว่าวิธีการเดิม ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74 วรรคท้าย เมื่อจำเลยยังต้องศึกษาเล่าเรียนต่อการมอบจำเลยให้ผู้ร้องทั้งสองไปโดยวางข้อกำหนดให้ผู้ร้องระวังจำเลยไม่ให้ก่อเหตุร้ายอีก จะเป็นผลดีกว่าการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลเพื่อส่งเสริมการกลับตัวของเด็กอาชญากร โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ใหม่ที่ดีขึ้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยซึ่งมีอายุ 14 ปี กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยให้การขอให้ศาลมอบจำเลยให้บิดารับตัวไป แต่หามีบิดามารดาจำเลยมาขอรับจำเลยไป ดังคำให้การของจำเลยไม่ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยังสถานพินิจฯ มีกำหนด 3 ปี จำเลยอุทธรณ์ขอให้มอบตัวจำเลยให้บิดา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ายังไม่มีเหตุอันสมควรมอบตัวให้บิดา แต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ส่งตัวไปฝึกอบรมมีกำหนด 1 ปี + บิดามารดาของจำเลย มายื่นคำร้องอ้างว่าในระหว่างอุทธรณ์จำเลยประพฤติตัวดี น่าจะกลับตัวไปหากได้อยู่กับบิดามารดา ขอรับตัวจำเลยไปดูแลแทนการส่งตัวไปสถานพินิจฯ การที่มีบิดามารดามาขอรับตัวจำเลยไปเช่นนี้ ถือได้ว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมได้เปลี่ยนแปลงไป มีทางให้ศาลเลือกใช้วิธีการที่จะเป็นผลดีแก่จำเลยมากกว่าวิธีการเดิมที่ได้สั่งไว้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายอาญาแล้ว หาจำเป็นต้องมีการดำเนินการตามคำสั่งเดิมเสียก่อน จึงจะมีคำสั่งใหม่ได้ไม่ เมื่อศาลเห็นด้วยกับคำร้อง ก็มีอำนาจพิพากษาแก้เป็นให้มอบจำเลยให้แก่ผู้ร้อง ให้ผู้ร้องระวังจำเลยไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนดได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 212/2511 และ 1509/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลเพื่อส่งเสริมการกลับตัวของเด็กอาชญากรรม โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยซึ่งมีอายุ 14 ปี กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยให้การขอให้ศาลมอบจำเลยให้บิดารับตัวไป แต่หามีบิดามารดาจำเลยมาขอรับจำเลยไปดังคำให้การของจำเลยไม่ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยังสถานพินิจฯมีกำหนด 3 ปี จำเลยอุทธรณ์ขอให้มอบตัวจำเลยให้บิดา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ายังไม่มีเหตุอันสมควรมอบตัวให้บิดา แต่พิพากษาแก้เป็นว่าให้ส่งตัวไปฝึกอบรมมีกำหนด 1 ปี บิดามารดาของจำเลยมายื่นคำร้องอ้างว่า ในระหว่างอุทธรณ์ จำเลยประพฤติตัวดีน่าจะกลับตัวได้ หากได้อยู่กับบิดามารดา ขอรับตัวจำเลยไปดูแลแทนการส่งตัวไปสถานพินิจฯ การที่มีบิดามารดามาขอรับตัวจำเลยไปเช่นนี้ ถือได้ว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมได้เปลี่ยนแปลงไป มีทางให้ศาลเลือกใช้วิธีการที่จะเป็นผลดีแก่จำเลยมากกว่าวิธีการเดิมที่ได้สั่งไว้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายอาญาแล้ว หาจำเป็นต้องมีการดำเนินการตามคำสั่งเดิมเสียก่อนจึงจะมีคำสั่งใหม่ได้ไม่ เมื่อศาลเห็นด้วยกับคำร้องก็มีอำนาจพิพากษาแก้เป็นให้มอบจำเลยให้แก่ผู้ร้อง ให้ผู้ร้องระวังจำเลยไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนดได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 212/2511 และ 1209/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบุคคลนอกสัญญาเช่าและการเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลเกี่ยวกับคู่ความ
โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีและโจทก์ที่ 2 ได้ฟ้องในนามของตนเองด้วย ต่อมาโจทก์ที่ 1 ขอถอนฟ้อง และขอถอนใบมอบอำนาจนั้นเสีย โจทก์ที่ 2จึงขอให้ศาลเรียกโจทก์ที่ 1 เข้ามาในคดี ดังนี้แม้ศาลจะสั่งให้หมายเรียกแล้วต่อมาเมื่อโจทก์ที่ 1แถลงว่าไม่ประสงค์จะยุ่งเกี่ยวกับคดีและศาลเห็นไม่สมควรเรียกโจทก์ที่ 1 เข้ามาในคดีก็มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม โดยให้ยกคำร้องของโจทก์ที่ 2 ได้
เมื่อจำเลยได้ปลูกโรงเรือนในที่พิพาทและครอบครองมาก่อนที่โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากโจทก์ที่ 1โจทก์ที่ 2 โดยลำพังจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยเพราะจำเลยเป็นบุคคลนอกสัญญา โจทก์ที่ 2 ชอบจะว่ากล่าวเอากับโจทก์ที่ 1 เท่านั้น
เมื่อจำเลยได้ปลูกโรงเรือนในที่พิพาทและครอบครองมาก่อนที่โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากโจทก์ที่ 1โจทก์ที่ 2 โดยลำพังจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยเพราะจำเลยเป็นบุคคลนอกสัญญา โจทก์ที่ 2 ชอบจะว่ากล่าวเอากับโจทก์ที่ 1 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการเปลี่ยนแปลงคำสั่งอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา หากผู้ฟ้องมีทรัพย์สินเพียงพอชำระค่าธรรมเนียม
โดยปกติกระบวนพิจารณาใดที่ศาลได้สั่งไปแล้ว ต่อมาเห็นว่ายังไม่เหมาะสมเพื่อให้การพิจารณาได้ดำเนินไปด้วยความเที่ยงธรรมและเหมาะสม ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนคำสั่งนั้นเสียได้ แล้วสั่งใหม่ตามที่เห็นควร ในกรณีที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ว่าความอย่างคนอนาถา ในระหว่างพิจารณาปรากฎว่าโจทก์มีทรัพย์สินที่จะเสียค่าธรรมเนียมได้ศาลก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมมาเสีย คำสั่งเช่นนี้ ถือเท่ากับศาลได้เพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตให้โจทก์ว่าความอย่างคนอนาถาเสียแล้ว โจทก์จึงต้องอุทธรณ์คำสั่งนี้ภายในกำหนด 7 วัน