พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำให้การขัดแย้งเดิม ไม่สร้างประเด็นใหม่ ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยซื้อมาจากจำเลยจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จำเลยไม่เคยขายให้โจทก์แต่ตอนหลังจำเลยกลับให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คำให้การจำเลยในตอนหลังจึงขัดกับคำให้การตอนแรกเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดเป็นประเด็นไว้ก็ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6949/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำให้การและการนำสืบพยาน: การเปลี่ยนแปลงคำให้การไม่ถือเป็นการขัดแย้งหากยังคงอยู่ในประเด็นข้อพิพาทเดิม
จำเลยให้การตอนแรกว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินและรับเงินจากโจทก์ตามฟ้อง สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม ลายมือชื่อช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย โจทก์ทำขึ้นเอง เป็นคำให้การที่แสดงการปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์ รวมทั้งอ้างเหตุแห่งการนั้นว่าสัญญากู้ที่โจทก์อ้างเป็นเอกสารปลอม ส่วนที่จำเลยให้การตอนหลังว่า หากศาลฟังว่าสัญญากู้เป็นเอกสารที่แท้จริง โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น ก็มิใช่เป็นคำให้การที่ยอมรับหรือถือว่าจำเลยได้กู้เงินจากโจทก์จริง จึงมิได้ขัดแย้งกันเองหรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องโจทก์ คำให้การของจำเลยจึงแสดงโดยชัดแจ้งว่าปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมด จำเลยย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบตามคำให้การได้ และนำพยานบุคคลเข้าสืบหักล้างสัญญากู้ตามฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทำสัญญากู้และรับเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบยอมรับว่าทำสัญญากู้จริงถือว่าสละประเด็นเรื่องสัญญากู้ปลอมแล้ว อันเป็นการเจือสมกับที่โจทก์นำสืบให้ฟังได้ว่ามีการทำสัญญากู้กันจริง แม้จะแตกต่างกับคำให้การแต่ก็เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่เป็นการนอกเหนือจากคำให้การ ส่วนที่จำเลยนำสืบถึงการที่โจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนซื้อที่ดินกันแล้วขายแบ่งกำไรกันเพื่อให้เห็นที่มาของสัญญากู้เงินว่าเป็นมาอย่างไรจำเลยย่อมนำสืบเรื่องดังกล่าวได้ เพราะเป็นรายละเอียดเกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว จำเลยหาจำต้องระบุในคำให้การไม่
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทำสัญญากู้และรับเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบยอมรับว่าทำสัญญากู้จริงถือว่าสละประเด็นเรื่องสัญญากู้ปลอมแล้ว อันเป็นการเจือสมกับที่โจทก์นำสืบให้ฟังได้ว่ามีการทำสัญญากู้กันจริง แม้จะแตกต่างกับคำให้การแต่ก็เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่เป็นการนอกเหนือจากคำให้การ ส่วนที่จำเลยนำสืบถึงการที่โจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนซื้อที่ดินกันแล้วขายแบ่งกำไรกันเพื่อให้เห็นที่มาของสัญญากู้เงินว่าเป็นมาอย่างไรจำเลยย่อมนำสืบเรื่องดังกล่าวได้ เพราะเป็นรายละเอียดเกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว จำเลยหาจำต้องระบุในคำให้การไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงคำให้การ และข้อต่อสู้เรื่องป้องกันตัวที่ไม่สมเหตุสมผล
จำเลยต้องหาว่าพยายามฆ่าผู้อื่น ชั้นพิจารณาจำเลยนำสืบว่าจำเลยถูกผู้เสียหายกับพวกทำร้ายก่อนจึงต้องแทงผู้เสียหายเพื่อป้องกันตัวเมื่อจำเลยมิได้ซักค้านความข้อนี้ไว้ให้ปรากฏในขณะสืบพยานโจทก์ แต่เพิ่งจะมานำสืบเป็นข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นสืบพยานจำเลย ข้อนำสืบจึงเป็นพิรุธ ข้อต่อสู้ที่จำเลยอ้างว่าต้องแทงผู้เสียหายเพื่อป้องกันตัวจึงฟังไม่ขึ้น.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การในคดีแพ่งต้องชัดเจน หากเปลี่ยนคำให้การขัดแย้งกับที่เคยต่อสู้ไว้ ศาลไม่รับฟัง
ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าที่โจทก์ขอให้ขับไล่ ครั้งแรกจำเลยให้การว่าซื้อไม่ได้เช่า แม้ต่อมาจะร้องขอเพิ่มเติมคำให้การว่าที่ที่โจทก์ขับไล่นั้นจำเลยได้อาศัยอยู่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯแต่ในคำร้องนั้นจำเลยก็ไม่ได้ถือว่าได้เช่าที่ดินมาเพื่อใช้เป็นเคหะจำเลย อ้างแต่เพียงว่าได้ปลูกห้องแถวอยู่อาศัยการซื้อที่ดินปลูกห้องแถวอยู่อาศัยมิได้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ แต่อย่างใด ประเด็นมีแต่เพียงว่าจำเลยซื้อหรือเช่าการเช่าเพื่ออยู่อาศัยไม่มีใครอ้าง ที่จำเลยว่าปลูกห้องแถวอยู่อาศัยก็มิได้ว่าปลูกโดยอาศัยสัญญาเช่า จึงไม่มีข้อที่จะต้องพิจารณาว่าได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯหรือไม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าที่โจทก์ขอให้ขับไล่ ครั้งแรกจำเลยให้การว่าซื้อไม่ได้เช่า แม้ต่อมาจะร้องขอเพิ่มเติมคำให้การว่าที่ที่โจทก์ขับไล่นั้นจำเลยได้อาศัยอยู่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯแต่ในคำร้องนั้นจำเลยก็ไม่ได้ถือว่าได้เช่าที่ดินมาเพื่อใช้เป็นเคหะจำเลย อ้างแต่เพียงว่าได้ปลูกห้องแถวอยู่อาศัยการซื้อที่ดินปลูกห้องแถวอยู่อาศัยมิได้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ แต่อย่างใด ประเด็นมีแต่เพียงว่าจำเลยซื้อหรือเช่าการเช่าเพื่ออยู่อาศัยไม่มีใครอ้าง ที่จำเลยว่าปลูกห้องแถวอยู่อาศัยก็มิได้ว่าปลูกโดยอาศัยสัญญาเช่า จึงไม่มีข้อที่จะต้องพิจารณาว่าได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดก: สิทธิการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายและข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงคำให้การ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่านาและสวนพิพาท ซึ่งเป็นของผู้ตายตกเป็นมรดกแก่โจทก์ ผู้เป็นป้า.
จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นผู้รับมรดก เพราะผู้ตายเป็นบุตรจำเลย แต่มารดาผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาจำเลยนั้น ไม่ได้ จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยจึงขอให้ถือว่าเป็นฟ้องแย้ง ขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าผู้ตายเป็นบุตรจำเลย ดังนี้ วินิจฉัยว่าฟ้องแย้งเป็นคนละส่วนจากฟ้องเดิม ศาลย่อมไม่รับเป็นฟ้องแย้ง.
จำเลยยื่นคำให้การในชั้นแรกว่า นาและสวนพิพาทอันตกเป็นมรดกนั้น เป็นของผู้ตาย ภายหลังยื่นคำให้การเพิ่ม เติมว่า นาและสวนพิพาทเป็นของมารดาผู้ตาย จำเลยครอบครองมาตั้งแต่มารดาผู้ตาย,ตาย ดังนี้ ขัดกับคำให้การ เดิม ศาลย่อมไม่อนุญาตให้เพิ่มเติมคำให้การเช่นนี้./
จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นผู้รับมรดก เพราะผู้ตายเป็นบุตรจำเลย แต่มารดาผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาจำเลยนั้น ไม่ได้ จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยจึงขอให้ถือว่าเป็นฟ้องแย้ง ขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าผู้ตายเป็นบุตรจำเลย ดังนี้ วินิจฉัยว่าฟ้องแย้งเป็นคนละส่วนจากฟ้องเดิม ศาลย่อมไม่รับเป็นฟ้องแย้ง.
จำเลยยื่นคำให้การในชั้นแรกว่า นาและสวนพิพาทอันตกเป็นมรดกนั้น เป็นของผู้ตาย ภายหลังยื่นคำให้การเพิ่ม เติมว่า นาและสวนพิพาทเป็นของมารดาผู้ตาย จำเลยครอบครองมาตั้งแต่มารดาผู้ตาย,ตาย ดังนี้ ขัดกับคำให้การ เดิม ศาลย่อมไม่อนุญาตให้เพิ่มเติมคำให้การเช่นนี้./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานนอกประเด็นในคดีแบ่งสินสมรส การเปลี่ยนแปลงคำให้การต้องทำตามขั้นตอน
โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสจากจำเลย จำเลยต่อสู้ว่าเป็นสินส่วนตัวหรือสินเดิม เพราะได้มาก่อนเป็นภรรยาโจทก์ครั้นถึงวันพิจารณา จำเลยแถลงว่าทรัพย์ที่อ้างว่าเป็นสินส่วนตัวหรือสินเดิมนั้น จำเลยได้มาภายหลัง เมื่อขาดจากเป็นสามีภรรยากับโจทก์แล้วและจะขอสืบพยานตามที่แถลงไว้ดังนี้ เป็นเรื่องขัดกับข้อเท็จจริงที่จำเลยต่อสู้ไว้ จึงเป็นเรื่องขอสืบนอกประเด็น ศาลย่อมไม่ยอมให้สืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำให้การในคดีอาญา, การพิจารณาพยานหลักฐาน, และความรับผิดทางอาญาต่อความเสียหายและหมิ่นประมาท
ปล่อยโคให้เข้ากินข้าวกล้าของเขาเป็นผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ค่าเขาฝากคนอื่น 2 คน แม้จะเป็นคนละคราวก็เป็นผิดฐานโฆษนาหมิ่นประมาท วิธีพิจารณาอาชญา ในคดีอาชญาย่อมให้โอกาศแก่จำเลยเปลี่ยนข้อต่อสู้ได้เต็มที่ ธรรมนูญศาล อำนาจศาลฎีกา เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงให้แน่นอน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจชี้ขาดข้อเท็จจริงเสียเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การเปลี่ยนแปลงคำให้การขัดแย้งกัน ทำให้ประเด็นการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้รับการวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกมีใจความสำคัญว่า ที่ดินพิพาทส่วนที่จำเลยที่ 2 ครอบครองเดิมเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ส. บิดาภริยาของจำเลยที่ 2 ได้หักล้างถางพงเข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของโดยปลูกบ้านอยู่อาศัยมาตั้งแต่ปี 2450 จนกระทั่งปี 2502 ส. จึงยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ครอบครองต่อมา คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทต่อจาก ส. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทคนก่อน โดย ส. เป็นผู้แผ้วถางที่ดินพิพาทซึ่งในขณะนั้นยังเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า แล้วเข้าครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี 2450 ก่อนที่ทางการจะออกโฉนดที่ดินในปี 2464 การที่จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่าที่ดินพิพาทส่วนดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครองปรปักษ์จึงขัดกับคำให้การและฟ้องแย้งในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ทั้งสามฟ้องและจำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะรับวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้