คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลงตัวแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7455/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการมอบอำนาจช่วง การกระทำที่ชอบตามหนังสือมอบอำนาจเดิมย่อมไม่กระทบจากการเปลี่ยนแปลงตัวผู้รับมอบอำนาจ
น. ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์และมีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วยกระทำการดังกล่าวได้ ขณะยื่นฟ้องคดี น. มอบอำนาจช่วงให้ ว. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ดังนี้ ว. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงมีอำนาจยื่นคำฟ้องแทนโจทก์โดยชอบ แม้ภายหลังเมื่อ ว. ลาออกจากบริษัทโจทก์แล้ว น. จะมอบอำนาจช่วงให้ ช. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนและหนังสือมอบอำนาจช่วงฉบับหลังนี้ไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนก็หามีผลกระทบไปถึงการฟ้องที่ ว. ได้ดำเนินการไปแล้วโดยชอบตามหนังสือมอบอำนาจช่วงฉบับแรกซึ่งได้ปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าโดยถูกต้องครบถ้วนแล้วแต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการมอบอำนาจดำเนินคดี: การเปลี่ยนแปลงตัวผู้รับมอบอำนาจไม่ทำให้ฟ้องเสียหาย
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแทนต่อจาก ม.ผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนคนเดิม ถือเป็นสิทธิตามกฎหมายของโจทก์ที่จะกระทำในเวลาใดก็ได้ ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เสียหายและหนังสือมอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแทน โจทก์ก็ได้ยื่นต่อศาลรวมไว้ในสำนวนตั้งแต่มอบอำนาจใหม่แล้ว กรณีไม่จำต้องแก้ไขฟ้องและระบุอ้างหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ในบัญชีพยานอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการมอบอำนาจดำเนินคดี: การเปลี่ยนแปลงตัวผู้รับมอบอำนาจไม่ทำให้ฟ้องเสียหาย
ประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้เป็นเรื่อง เกี่ยวกับโจทก์มอบอำนาจให้ ม. ไม่ถูกต้อง เมื่อโจทก์มี ป. มาเบิกความยืนยันประกอบหนังสือมอบอำนาจว่าโจทก์ได้มอบอำนาจ ให้ ม.ดำเนินคดีแทน จำเลยมิได้สืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นจึงฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ม. ดำเนินคดีแทน การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแทนต่อจาก ม.เป็นสิทธิตามกฎหมายของโจทก์ที่จะกระทำในเวลาใดก็ได้ ไม่ทำให้ ฟ้องของโจทก์เสียหาย และหนังสือมอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ยื่นต่อศาลรวมไว้ในสำนวนตั้งแต่มอบอำนาจใหม่แล้วกรณีนี้ หาจำต้องแก้ไขฟ้องและระบุอ้างหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ในบัญชีพยานไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของตัวแทนและความรับผิดทางละเมิด: การเปลี่ยนแปลงตัวแทนและการฟ้องร้องที่ไม่ชัดเจน
แม้โจทก์จะมีสัญญากับบริษัท พ. ให้โจทก์แต่ผู้เดียวเป็นผู้จำหน่ายและผูกขาดการนำสินค้าของบริษัท พ. เข้ามาในประเทศไทย แต่ต่อมาบริษัท พ. ได้มอบหมายให้จำเลยเป็นตัวแทนเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวแทนโจทก์แล้ว ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยสั่งสินค้าดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ หากสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท พ. ยังมีผลบังคับและโจทก์ได้รับความเสียหายก็อาจเป็นเรื่องผิดสัญญาที่โจทก์ชอบที่จะว่ากล่าวเอากับบริษัท พ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาโดยตรง
โจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมกันใส่ร้ายโจทก์ต่อบริษัท พ. เพื่อให้บริษัท พ. ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนในประเทศไทยแทนโจทก์ แต่มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าจำเลยใส่ความโจทก์อย่างไรคำฟ้องในเรื่องนี้จึงเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสิทธิซื้อขายที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงตัวแทนขายและผลกระทบต่อการบังคับตามสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์โดยผู้มีชื่อเป็นตัวแทนจำเลย. แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่าผู้มีชื่อนั้นไม่ใช่ตัวแทนจำเลย. หากแต่เป็นผู้รับซื้อที่ดินจากจำเลยแล้วมาโอนให้โจทก์. ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจึงต่างกับข้อหาตามฟ้อง. ทั้งเมื่อจำเลยไม่ได้ตกลงขายที่ดินให้โจทก์. โจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ต่อกัน. โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ได้.
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญากันไว้ว่าจะชำระราคาและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน. เมื่อโฉนดพ้นจากการอายัด สิทธิเรียกร้องในการบังคับตามสัญญาซื้อขายย่อมเริ่มนับแต่เมื่อมีการเพิกถอนการอายัดเป็นต้นไป. หากนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนดสิบปี. คดีย่อมไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง.
จำเลยตกลงจะขายที่ดินของจำเลยตามตราจองซึ่งแบ่งแยกจากตราจองฉบับเดิมซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมหลายเจ้าของ. เมื่อตราจองของจำเลยถูกเพิกถอนกลับคืนเป็นตราจองฉบับเดิม.ก็ถือได้ว่าจำเลยตกลงขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยตามตราจองฉบับเดิมนั้น. ซึ่งจำเลยมีสิทธิขายได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน.