พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นและการเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อพิพาท ศาลฎีกาพิจารณาตามประเด็นเดิมได้
ป.พ.พ. มาตรา 1349, 1387ป.วิ.พ. มาตรา 142, 182, 183, 243 (1)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์อยู่ในที่ปิดล้อม ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ใช้เส้นทางผ่านที่ดินของบุคคลอื่นหลายราย และผ่านที่ดินน.ส.3 ของจำเลยเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ตามเส้นทางที่ระบุว่า "ทางชักลากไม้"ตั้งแต่ปี 2508 ถึง เดือนมิถุนายน 2526 โดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าเกี่ยวข้องคัดค้านตามคำบรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า ฯลฯ 2.โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 3.ทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.1 เป็นทางจำเป็นและหรือทางภาระจำยอมหรือไม่ ฯลฯ โดยมิได้กำหนดว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ไว้ด้วยแต่ครั้นเมื่อทำคำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้เพิกถอนประเด็นข้อ 2 ข้อ 3 เสียแล้วกำหนดประเด็นสองข้อนี้เสียใหม่เป็นว่า โจทก์มีอำนาจให้จำเลยเปิดทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่เอกสารหมาย จ.ล.1 ได้หรือไม่เพียงใดตามประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่เข้าไปด้วย ซึ่งประเด็นข้อนี้เดิมศาลไม่ได้กำหนดไว้ คู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าคู่ความสละไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นนำประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ มาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว ประกอบกับคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นที่ศาลกำหนดไว้ตอนแรกครบถ้วนแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทาง-สาธารณะได้ โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทหรือทางชักลากไม้ที่ปรากฏใน น.ส.3 ผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2526 แม้จะมีทางอื่นเข้าออกได้อีกทางหนึ่ง แต่ก็เป็นทางเดินขึ้นเขามีลักษณะลาดชัน ไม่อาจใช้รถยนต์วิ่งผ่านได้และไกลกว่าทางพิพาท ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น
สภาพทางพิพาทเป็นทางที่ชาวบ้านลากไม้ กว้างประมาณ1 เมตรเศษ นอกจากร่องรอยทางเดินเท้าแล้ว ไม่มีร่องรอยทางรถยนต์ ปรากฏตามรายงานการเผชิญสืบของศาลว่าทางพิพาทก็กว้าง 1.50 เมตร ศาลชั้นต้นกำหนดความกว้างของทางพิพาทให้ 1.50 เมตร เป็นการสมควรแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์อยู่ในที่ปิดล้อม ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ใช้เส้นทางผ่านที่ดินของบุคคลอื่นหลายราย และผ่านที่ดินน.ส.3 ของจำเลยเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ตามเส้นทางที่ระบุว่า "ทางชักลากไม้"ตั้งแต่ปี 2508 ถึง เดือนมิถุนายน 2526 โดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าเกี่ยวข้องคัดค้านตามคำบรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า ฯลฯ 2.โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 3.ทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.1 เป็นทางจำเป็นและหรือทางภาระจำยอมหรือไม่ ฯลฯ โดยมิได้กำหนดว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ไว้ด้วยแต่ครั้นเมื่อทำคำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้เพิกถอนประเด็นข้อ 2 ข้อ 3 เสียแล้วกำหนดประเด็นสองข้อนี้เสียใหม่เป็นว่า โจทก์มีอำนาจให้จำเลยเปิดทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่เอกสารหมาย จ.ล.1 ได้หรือไม่เพียงใดตามประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่เข้าไปด้วย ซึ่งประเด็นข้อนี้เดิมศาลไม่ได้กำหนดไว้ คู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าคู่ความสละไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นนำประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ มาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว ประกอบกับคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นที่ศาลกำหนดไว้ตอนแรกครบถ้วนแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทาง-สาธารณะได้ โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทหรือทางชักลากไม้ที่ปรากฏใน น.ส.3 ผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2526 แม้จะมีทางอื่นเข้าออกได้อีกทางหนึ่ง แต่ก็เป็นทางเดินขึ้นเขามีลักษณะลาดชัน ไม่อาจใช้รถยนต์วิ่งผ่านได้และไกลกว่าทางพิพาท ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น
สภาพทางพิพาทเป็นทางที่ชาวบ้านลากไม้ กว้างประมาณ1 เมตรเศษ นอกจากร่องรอยทางเดินเท้าแล้ว ไม่มีร่องรอยทางรถยนต์ ปรากฏตามรายงานการเผชิญสืบของศาลว่าทางพิพาทก็กว้าง 1.50 เมตร ศาลชั้นต้นกำหนดความกว้างของทางพิพาทให้ 1.50 เมตร เป็นการสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นศาล และการเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อสู้ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเรื่องอายุความเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในการชี้สองสถาน และจำเลยไม่ได้คัดค้าน จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้จำเลยจะฎีกาว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้รับมอบอำนาจมิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจหาได้ไม่เพราะไม่ใช่ประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อต่อสู้หลังให้การรับแล้ว และการงดสืบพยานในคดีแพ่ง
ประเด็น ตัดสิน จำเลยให้การรับตามฟ้องโจทก์ว่าได้อยู่ในที่ของโจทก์โดยอาศัยสัญญาเช่าจริงดังนี้ จำเลยจะกลับขอนำสืบว่าสัญญาเช่านั้นเป็นหนังสือปลอมหาได้ไม่เพราะเป็นการเปลี่ยนประเด็นใหม่
กรณีที่ไม่ใช่เป็นอุทธรณ์ย่อ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ย่อ ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าไม่ใช่อุทธรณ์ย่อก็มีอำนาจตัดสินคดีให้เสร็จไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่
ข้อฎีกาที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ในชั้นศาลล่างนั้นศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
กรณีที่ไม่ใช่เป็นอุทธรณ์ย่อ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ย่อ ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าไม่ใช่อุทธรณ์ย่อก็มีอำนาจตัดสินคดีให้เสร็จไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่
ข้อฎีกาที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ในชั้นศาลล่างนั้นศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้