คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลงราคา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจะซื้อขาย: การเลื่อนโอนกรรมสิทธิ์ & การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดิน
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์โดยกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายการที่โจทก์นำสืบว่ามีการเลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์จากวันที่กำหนดไว้ในสัญญาหาใช่นำสืบว่าวันที่กำหนดโอนไว้ในสัญญาไม่ใช่วันที่ระบุไว้ในสัญญาจึงมิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อขายที่ดินด้วยการวางมัดจำ: ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ และจำเลยมีสิทธิเปลี่ยนแปลงราคาได้
ป.วิ.พ.มาตรา 94 ห้ามคู่ความนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเฉพาะเมื่อมีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้น แต่ข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินโดยมีการวางมัดจำไว้บางส่วนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลบังคับคดีกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง โดยไม่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ข้อตกลงจะซื้อจะขายดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จำเลยมีสิทธินำสืบถึงราคาที่จะซื้อจะขายที่ดินกันตามความเป็นจริงได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายที่ดิน การนำสืบหลักฐานราคาที่แท้จริงไม่ขัดต่อข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาซื้อขายที่ดินระบุราคาซื้อขายจำนวน3,000,000บาทแต่คู่ความรับกันว่าซื้อขายกันจริงในราคา9,500,000บาทดังนั้นแม้สัญญาซื้อขายมีข้อความว่าผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้วก็ตามการที่ผู้ขายนำสืบว่ายังได้รับเงินค่าที่ดินไม่ครบถ้วนตามราคาที่แท้จริงจึงไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าอากรขาออกสำเร็จแล้ว ไม่อต้องชำระเพิ่มเติมแม้มีการเปลี่ยนแปลงราคาหรือพิกัดอัตราศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ตรี วรรคแรก มีความหมายว่า ผู้ส่งของออกจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่ส่งออกก็ต่อเมื่อได้ส่งของออกสำเร็จ หากส่งของออกไม่สำเร็จก็ไม่ต้องเสียค่าภาษี ดังนั้น ในกรณีผู้ส่งของออกเสียค่าภาษีไว้ก่อนส่งของออกสำเร็จ แต่ภายหลังกลับปรากฏว่า ไม่สามารถส่งของออกได้สำเร็จผู้ส่งของออกย่อมมีสิทธิขอคืนค่าภาษีที่ชำระไปแล้วได้ตามวรรคสามของมาตราเดียวกันนี้ ส่วนการชำระภาษีนั้นผู้ส่งของออกมักจะต้องชำระก่อนที่จะส่งของออกสำเร็จ วรรคสองของมาตรา 10 ตรี จึงบัญญัติให้คำนวณค่าภาษีตามสภาพของราคาของและพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ เมื่อผู้ส่งของออกชำระค่าภาษีครบถ้วนในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้แล้ว ก็ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเพิ่มเติมหากมีการขึ้นค่าภาษีในขณะส่งของออกสำเร็จ ทั้งไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าภาษีคืนในกรณีที่มีการลดหรือยกเว้นค่าภาษีในขณะที่ส่งของออกสำเร็จ จำเลยชำระค่าอากรขาออกสินค้ายางพาราแผ่นรมควันครบถ้วนถูกต้อง ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ออกใบขนสินค้าให้จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรขาออกเพิ่มเติมเมื่อมีการขึ้นค่าภาษีในขณะส่งของออกสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกวดราคา การเปลี่ยนแปลงราคาหลังยื่นซอง และสิทธิในการริบเงินมัดจำ
แจ้งความประกาศให้ผู้ประสงค์รับเหมาก่อสร้างงานยื่นซองประกวดราคาเป็นคำเชื้อเชิญ และข้อความซึ่งระบุไว้ในแจ้งความว่า ราคาที่ผู้รับเหมายื่นซองประกวดราคาจะไม่เปลี่ยนแปลงภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็เป็นเงื่อนไขที่บังคับไม่ให้โจทก์ผู้ยื่นซองประกวดราคาเปลี่ยนแปลงราคาค่ารับเหมาก่อสร้างภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ทราบเงื่อนไขจึงยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างงานรายนี้ซึ่งเป็นคำเสนอ และตกลงจะไม่เปลี่ยนแปลงราคารับเหมาก่อสร้างภายใน 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็ไม่ทำให้คำเสนอของโจทก์เป็นคำเสนอที่มีข้อจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าสำเร็จเมื่อการจำนองที่ดินสำเร็จ แม้มีการเปลี่ยนแปลงราคาก็ตาม
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าจัดการให้จำเลยได้จำนองที่ดิน โจทก์ติดต่อกับธนาคารจนธนาคารตกลงรับจำนองในราคาสองล้านหนึ่งแสนบาทแล้ว จำเลยเปลี่ยนใจจะจำนองราคาสามล้านบาท จำเลยจึงให้ผู้อื่นไปติดต่อกับธนาคารแห่งนั้น จนธนาคารยอมรับจำนองในราคาสามล้านบาท ดังนี้ ถือว่าสัญญาจำนองสามล้านบาทที่จำเลยทำกับธนาคารนั้นเป็นผลสำเร็จของการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าสำเร็จเมื่อจำเลยได้จำนองที่ดินตามผลของการชี้ช่องของนายหน้า แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงราคา
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าจัดการให้จำเลยได้จำนองที่ดิน โจทก์ติดต่อกับธนาคารจนธนาคารตกลงรับจำนองในราคาสองล้านหนึ่งแสนบาทแล้ว จำเลยเปลี่ยนใจจะจำนองราคาสามล้านบาท จำเลยจึงให้ผู้อื่นไปติดต่อกับธนาคารแห่งนั้นจนธนาคารยอมรับจำนองในราคาสามล้านบาท ดังนี้ ถือว่าสัญญาจำนองสามล้านบาทที่จำเลยทำกับธนาคารนั้น เป็นผลสำเร็จของการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้า: ผลสำเร็จจากการชี้ช่อง แม้มีการเปลี่ยนแปลงราคาสัญญาจำนอง
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าจัดการให้จำเลยได้จำนองที่ดิน. โจทก์ติดต่อกับธนาคารจนธนาคารตกลงรับจำนองในราคาสองล้านหนึ่งแสนบาทแล้ว. จำเลยเปลี่ยนใจจะจำนองราคาสามล้านบาท. จำเลยจึงให้ผู้อื่นไปติดต่อกับธนาคารแห่งนั้นจนธนาคารยอมรับจำนองในราคาสามล้านบาท. ดังนี้ ถือว่าสัญญาจำนองสามล้านบาทที่จำเลยทำกับธนาคารนั้น เป็นผลสำเร็จของการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้จำเลย.