คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลงวิธีการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้เปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้ อายุความ 5 ปี เริ่มนับแต่วันผิดนัดชำระหนี้แต่ละงวด
เมื่อจำเลยทั้งสองทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์แล้วการที่จำเลยที่1นำเงินไปชำระให้โจทก์และโจทก์รับเงินดังกล่าวไว้แสดงว่าโจทก์เองก็ยอมตกลงด้วยตามหนังสือรับสภาพหนี้หนังสือรับสภาพหนี้จึงผูกพันโจทก์ หนังสือรับสภาพหนี้ได้กำหนดเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้ใหม่โดยการผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ สิทธิเรียกร้องโจทก์จึงมีกำหนด อายุความ5ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33การที่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตั้งแต่งวดแรกที่ต้องเริ่มชำระตั้งแต่วันที่15มีนาคม2520โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แต่ละงวดได้ตั้งแต่ครบกำหนดที่จำเลยทั้งสองต้องชำระหนี้ในงวดนั้นๆ สิทธิเรียกร้องในหนี้งวดใดที่พ้นอายุความ5ปีนับย้อนหลังแต่วันฟ้องขึ้นไปจึงเป็นอันขาดอายุความ เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีในวันที่4พฤศจิกายน2535สิทธิเรียกร้องในหนี้งวดที่อยู่ภายในกำหนดอายุความ5ปีนับย้อนหลังแต่วันฟ้องที่ ไม่ขาดอายุความนั้นเมื่อคำนวณแล้วเป็นหนี้ไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาทโจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การบัญชีจากสิทธิเป็นเงินสดสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุมิได้บัญญัติว่าการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์สิทธิ์หรือเกณฑ์เงินสด แต่เป็นที่เห็นได้ว่า คำว่า'กิจการที่กระทำ' ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่ง ประมวลรัษฎากรนั้น ย่อมหมายความถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นมาเป็นเงินได้แล้ว กล่าวคือ ต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นในภายหน้า การคำนวณกำไรสุทธิโดยใช้เกณฑ์เงินสดจึงชอบที่จะทำได้
ตามหลักการบัญชีไม่มีข้อห้ามว่า เมื่อใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งแล้วจะเปลี่ยนไปใช้อีกเกณฑ์หนึ่งไม่ได้ การที่โจทก์เปลี่ยนจากเกณฑ์สิทธิมาใช้เกณฑ์เงินสดสำหรับเบี้ยประกันชีวิตตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2520 เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน จึงชอบที่จะทำได้ และถือได้ว่าวิธีการทำบัญชีของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปีหลัง ๆ เป็นการยึดถือหลักความสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นไปตามหลักการบัญชีที่ถูกต้องเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนำเบี้ยประกันชีวิตที่ยังไม่ได้รับมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่เปลี่ยนแปลงวิธีการบังคับคดี โดยให้ถือคำพิพากษาฉบับหลังสุดเป็นหลัก
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวิธีการบังคับคดี โดยระบุว่าให้รังวัดแบ่งที่พิพาทขายให้โจทก์ เนื้อที่ 2 งาน ซึ่งหมายความว่า ที่ดิน 2 งาน เมื่อคิดหน้าที่ดินที่ถูกตัดถนนแล้วยังเหลือเท่าใดก็โอนให้โจทก์ไปเท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่กล่าวนี้ย่อมเป็นที่สุด และต้องรังวัดที่พิพาทเป็นจำนวนเนื้อที่ 2 งานโดยรวมเนื้อที่ที่ถูกกันไว้เป็นถนนเข้าด้วย เหลือเท่าใดจึงโอนให้โจทก์ไปเท่านั้น ตามที่โจทก์แถลงไว้ต่อศาล ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินว่า การแบ่งแยกโฉนดพิพาทออกให้มีเนื้อที่ 2 งาน รวมทั้งเนื้อที่ที่ถูกเวนคืน 63 ตารางวาด้วย จึงเป็นการถูกต้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว โจทก์จะมาร้องใหม่อีกขอให้รังวัดที่พิพาทออกเป็น 263 ตารางวา แล้วกันส่วนที่ถูกเวนคืน 63 ตารางวาออกนั้น ไม่อาจทำได้ เพราะนอกจากจะขัดกับคำแถลงของโจทก์เองแล้ว ศาลฎีกายังได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วอีกด้วย
เมื่อการบังคับคดีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ก็จำต้องถือคำพิพากษาฉบับหลังที่สุดเป็นหลักดำเนินการบังคับคดีต่อไป