คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องมีเจตนาชัดเจน การสั่งให้ทำงานวันเสาร์ตามระเบียบเดิมไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
โจทก์มีคำสั่งให้ลูกจ้างบางแผนกไม่ต้องทำงานในวันเสาร์ในลักษณะวันเสาร์เว้นวันเสาร์สลับกันไปอันเป็นอำนาจบริหารจัดการของโจทก์ซึ่งกระทำได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อผลประโยชน์ของโจทก์และอนุญาตแก่ลูกจ้างเป็นบางแผนกเท่านั้นอีกทั้งโจทก์มิได้ประกาศให้วันเสาร์เว้นวันเสาร์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ การที่โจทก์อนุญาตให้ลูกจ้างไม่ต้องทำงานในวันเสาร์มีลักษณะเป็นการชั่วคราวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยให้วันเสาร์เว้นวันเสาร์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ฉะนั้น การที่โจทก์ประกาศให้ลูกจ้างของโจทก์มาปฏิบัติงานในทุกวันเสาร์ จึงเป็นการออกคำสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในวันทำงานตามปกติ ซึ่งลูกจ้างทุกคนของโจทก์จะต้องปฏิบัติตามอยู่แล้วตามที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง การที่ลูกจ้างของโจทก์ทำงานในวันเสาร์จึงเป็นการทำงานในวันทำงานตามปกติ ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238-7239/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษโดยไม่ได้รับความยินยอม ไม่อาจเลิกจ้างได้
จำเลยประกอบกิจการขายเครื่องประดับเพชรพลอย โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นลูกจ้างมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายมีอำนาจบังคับบัญชาและให้คำแนะนำแก่พนักงานขายซึ่งมีจำนวนประมาณ 150 คน จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายและมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองไปทำหน้าที่ในการขายและช่วยเหลือการขายของพนักงาน การที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขาย ซึ่งโจทก์ทั้งสองทำงานในตำแหน่งดังกล่าวและมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายทั้งให้ลดเงินเดือนโจทก์ทั้งสอง เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษแก่โจทก์ทั้งสอง เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวได้ตามลำพังเนื่องจากมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง คำสั่งของจำเลยที่ให้ยกเลิกตำแหน่งของโจทก์ทั้งสองและให้ไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามนัย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ทั้งสอง แม้โจทก์ทั้งสองไม่ยินยอมปฏิบัติตาม คำสั่งดังกล่าวก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนต่อคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยในกรณีร้ายแรง หรือโจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7920/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า และต้องเป็นไปตามข้อตกลงสภาพการจ้างตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือก็ตาม แต่ข้อตกลงการจ้างก็มีลักษณะเป็นสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 แล้ว นอกจากนี้ยังมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับผู้แทนสหภาพแรงงานระบุว่าสภาพการจ้างอื่นที่ไม่ใช่เรื่องผลต่างค่าจ้างขั้นต่ำกับเรื่องการปรับค่าจ้างประจำปีและโบนัสทั้งสองฝ่ายตกลงให้คงเดิมด้วย ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19 วรรคสอง
แม้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใดได้ก็ตาม แต่การสั่งดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20 การที่จำเลยย้ายโจทก์จากตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องไปเป็นพนักงานธรรมดาในแผนกตัดเม็ดกระสวยซึ่งเป็นการย้ายโจทก์ไปทำงานในตำแหน่งต่ำกว่าเดิม ทั้งต้องทำงานเป็นกะหมุนเวียนสับเปลี่ยนเวลาเข้าทำงานและออกจากงานตลอดเวลา ไม่มีเวลาทำงานที่แน่นอนเช่นเดิม จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ยิ่งกว่า คำสั่งของจำเลยที่ให้ย้ายโจทก์ไปทำงานที่แผนกตัดเม็ดกระสวยจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพการจ้าง สวัสดิการรักษาพยาบาล การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และอำนาจบริหารกิจการของนายจ้าง
การที่จำเลยจัดให้มีสวัสดิการพยาบาลประจำเรือกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทำงานถือได้ว่าเป็นสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 แม้จำเลยกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียวและไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลใช้บังคับ เพราะกรณีดังกล่าว พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มิได้บังคับให้ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสภาพการจ้างนี้
จำเลยย้ายพยาบาลประจำเรือกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวไปประจำแท่นผลิตแล้วจัดเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับบัญชา 7 คน ที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการพยาบาลเบื้องต้นมาทำหน้าที่แทน และจัดให้มีเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เพื่อติดต่อด้านการรักษากับแพทย์และพยาบาลตลอดเวลา ซึ่งแพทย์และพยาบาลสามารถเดินทางมาถึงเรือในกรณีฉุกเฉินได้ภายใน 15 ถึง 20 นาที ดังนี้แม้จะไม่มีพยาบาลอยู่ประจำบนเรือเช่นเดิม แต่ก็มิได้ทำให้ลูกจ้างได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลน้อยลงกว่าเดิม จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่จำเลยมีอำนาจกระทำได้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการสะสมวันหยุดพักผ่อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จำเลยต้องนำสืบพยานหลักฐาน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อบังคับในการทำงานกำหนดว่า วันหยุดพักผ่อนประจำปีผู้ปฏิบัติงานจะสะสมไม่ได้ และผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยจะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปี โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ จากจำเลย เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับแก่คดีแรงงานด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานเห็นว่า พยานจำเลยที่นำสืบมาไม่มีเหตุผลให้รับฟังดีกว่าพยานโจทก์ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยให้อำนาจนาย ส.บอกเลิกจ้างโจทก์มิใช่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ดังจำเลยให้การ โดยศาลแรงงานได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัยคำเบิกความของโจทก์และพยานโจทก์ประกอบพฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนทั้งสิ้น กรณีจึงมิใช่ศาลแรงงานหยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาตัดสินคดี
เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏเพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิด แต่จำเลยไม่นำสืบ การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ หรือไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอม เช่นนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ปรากฏในสำนวนขึ้นมาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำวินิจฉัยศาลแรงงานกลาง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เงินเบี้ยเลี้ยงที่โจทก์ได้รับคือเงินประจำตำแหน่ง มิใช่เงินเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อจำเลยย้ายโจทก์ไปอยู่แผนกอื่นจึงมีอำนาจตัดไม่จ่ายให้ได้ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเงินส่วนนี้เป็นเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ เพื่อให้เห็นว่าการตัดเบี้ยเลี้ยงของโจทก์เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมาดังกล่าว เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีเแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำวินิจฉัยศาลแรงงานกลาง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เงินเบี้ยเลี้ยงที่โจทก์ได้รับคือเงินประจำตำแหน่ง มิใช่เงินเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อจำเลยย้ายโจทก์ไปอยู่แผนกอื่นจึงมีอำนาจตัดไม่จ่ายให้ได้ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเงินส่วนนี้เป็นเบี้ยเลี้ยงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ เพื่อให้เห็นว่าการตัดเบี้ยเลี้ยงของโจทก์เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมาดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ได้รับความยินยอม เป็นเหตุเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ลูกจ้างทำหน้าที่เลขานุการกรรมการผู้จัดการของนายจ้าง ทำงานวันจันทร์ถึงวันเสาร์ระหว่างเวลา 8.30 นาฬิกาถึง 17 นาฬิกา เป็นประจำและได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานเป็นพนักงานต้อนรับผู้โดยสารบนรถยนต์โดยสารและมีฐานะเป็นลูกจ้างรายวันค่าจ้างวันละ 73 บาท ต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ในวันจันทร์ อังคาร และพุธ ตั้งแต่เวลาประมาณ 9 นาฬิกาถึง 18 นาฬิกาหรือกว่านั้น จึงเป็นคำสั่งเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้ตกลงยินยอมด้วย คำสั่งจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นธรรม การเลิกจ้างขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ประกาศของจำเลยเรื่องการลาออกเนื่องจากเกษียณอายุกำหนดให้พนักงานตั้งแต่หัวหน้าแผนกขึ้นไปที่มีอายุครบ 60 ปี เกษียณอายุในวันสิ้นรอบปีบัญชีของจำเลย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 10 การที่จำเลยออกระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับต่อมากำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณเมื่ออายุครบ 45 ปี เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหญิง และจำเลยมิได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 13 ถึงมาตรา 19 ระเบียบและข้อบังคับฉบับหลังจึงไม่มีผลบังคับเพราะขัดกับมาตรา 20 จำเลยจะให้โจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกของจำเลยออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุก่อนโจทก์มีอายุครบ 60 ปีหาได้ไม่ การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องเป็นธรรมและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การเลิกจ้างก่อนเกษียณอายุเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ประกาศของจำเลยเรื่องการลาออกเนื่องจากเกษียณอายุกำหนดให้พนักงานตั้งแต่หัวหน้าแผนกขึ้นไปที่มีอายุครบ 60 ปีเกษียณอายุในวันสิ้นรอบปีบัญชีของจำเลย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 10 การที่จำเลยออกระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับต่อมากำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณเมื่ออายุครบ 45 ปี เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหญิง และจำเลยมิได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 13ถึงมาตรา 19 ระเบียบและข้อบังคับฉบับหลังจึงไม่มีผลบังคับเพราะขัดกับมาตรา 20 จำเลยจะให้โจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกของจำเลยออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุก่อนโจทก์มีอายุครบ 60 ปีหาได้ไม่ การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.
of 2