พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงหนี้ และการชำระหนี้แทนกัน สิทธิเรียกร้องระงับ
จำเลยมีความผูกพันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท กับรับผิดตามเช็คพิพาทที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่โจทก์จำนวน 500,000 บาท เพื่อค้ำประกันหนี้ของนาย ส. ต่อมามีการเจรจาตกลงกันให้จำเลยรับผิดชำระหนี้เฉพาะตามสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 1,000,000 บาท ส่วนหนี้ตามเช็คพิพาทนั้นโจทก์จะไปเรียกร้องจากนาย ส. ตามสัญญากู้ยืมเงินเอง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวไม่เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 เพราะไม่ใช่สัญญาระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างผ่อนผันให้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง เมื่อจำเลยนำแคชเชียร์เช็คจำนวน 1,000,000 บาท มาชำระให้แก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ด้วยตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คดังกล่าวแล้ว สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทจึงระงับไป กรณีดังกล่าวนี้กฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737-2751/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงหนี้และการออกเช็คไม่มีเงินรองรับ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 15,467,184 บาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันโดยโจทก์ตกลงลดหนี้แก่จำเลย 467,184 บาท ส่วนที่เหลือ 15,000,000 บาท ให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนเดือนละ 1,000,000 บาท โดยทำหลักฐานเป็นสัญญากู้ยืมเงินไว้ ถือเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ เมื่อเช็คพิพาทลงวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันถึงกำหนดชำระเงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงิน จึงถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยในขณะที่ออกเช็คไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ โดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
ศาลล่างพิพากษาว่าการออกเช็คของจำเลยทั้ง 15 ฉบับ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 และลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษซึ่งศาลถือว่ามีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อ ดังนั้น แม้ศาลล่างจะปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยนั้น ย่อมหมายความว่า ศาลล่างพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้ง 15 สำนวน สำนวนละ 6 เดือน แล้วนับโทษแต่ละสำนวนต่อกันตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เพียงแต่อ้างบทมาตราผิดพลาดไป ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
ศาลล่างพิพากษาว่าการออกเช็คของจำเลยทั้ง 15 ฉบับ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 และลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษซึ่งศาลถือว่ามีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อ ดังนั้น แม้ศาลล่างจะปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยนั้น ย่อมหมายความว่า ศาลล่างพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้ง 15 สำนวน สำนวนละ 6 เดือน แล้วนับโทษแต่ละสำนวนต่อกันตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เพียงแต่อ้างบทมาตราผิดพลาดไป ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7982/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันสัญญาจ้างแรงงาน, อายุความ, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันเมื่อมีการทำสัญญาใหม่
โจทก์รับจำเลยที่ 1 เข้าทำงานโดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานระหว่างทำงานจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพนี้มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าได้รับเงินจากลูกค้าแล้วไม่นำเงินส่งแก่โจทก์และขอชำระเงินดังกล่าวในวันทำสัญญาบางส่วน ส่วนที่เหลือจะชำระในวันรุ่งขึ้นจำนวนหนึ่งและจะผ่อนชำระอีกจำนวนหนึ่ง โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน ดังนี้ หนี้ที่จำเลยที่ 1 ตกลงชำระให้แก่โจทก์คือหนี้ที่จำเลยที่ 1 ผูกพันต่อโจทก์อยู่แล้ว มิใช่เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกลงผูกนิติสัมพันธ์กันใหม่อันมีผลให้หนี้เดิมของจำเลยที่ 1 ระงับไป การตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 ระงับไป การตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ไม่ได้เปลี่ยนสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะมีผลให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
ความรับผิดของจำเลยที่ 1 เป็นความรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่ต้นปี 2541 เมื่อมีการทุจริตเกิดขึ้น จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2543 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงโดยระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 และการที่อายุความสะดุดหยุดลงนี้ย่อมมีผลเป็นโทษแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย
ความรับผิดของจำเลยที่ 1 เป็นความรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่ต้นปี 2541 เมื่อมีการทุจริตเกิดขึ้น จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2543 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงโดยระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 และการที่อายุความสะดุดหยุดลงนี้ย่อมมีผลเป็นโทษแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันเช่าซื้อไม่ระงับ แม้มีการทำสัญญารับสภาพหนี้ใหม่ เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมารถยนต์เช่าซื้อได้รับอุบัติเหตุเสียหายทั้งคัน บริษัทผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่ยังไม่คุ้มราคาที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 1 จึงตกลงทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ยินยอมชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างรวมดอกเบี้ยชำระล่าช้า โดยตกลงผ่อนชำระเป็นรายงวด แต่หนังสือสัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นมิได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และมิใช่เป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนี้ หนังสือรับสภาพหนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระหนี้และวิธีการชำระหนี้ จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่ เมื่อหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังไม่ระงับ หนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อย่อมไม่ระงับเช่นกัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้าประกันยังไม่หลุดพ้นความรับผิด เพระโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินที่ค้างชำระตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งเป็นจำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระที่จำเลยที่ 2 ต้องรับชำระแก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหักล้างข้ออ้างของจำเลย & การเปลี่ยนแปลงหนี้: โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ประเด็นนิติกรรมอำพรางได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับหนังสือพิมพ์จากโจทก์ไปจำหน่ายแล้วค้างชำระราคา ขอให้บังคับจำเลยชำระ จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เคยรับหนังสือพิมพ์จากโจทก์ แต่ ส. เป็นผู้รับจากโจทก์ไปจำหน่าย และโจทก์กับ ส. ได้ประนีประนอมยอมความกันโดย ส. ได้ทำสัญญากู้เอกสารหมาย จ. 3 ให้โจทก์ไว้และส. จะผ่อนชำระให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ ดังนี้ โจทก์มีสิทธินำสืบถึงความเป็นมาของสัญญากู้เอกสารหมาย จ. 3 ว่าการที่โจทก์ยอมให้ ส. ทำสัญญากู้ไว้กับโจทก์เพราะจำเลยขอร้องให้ช่วยทำแทนจำเลย ส. จึงเป็นตัวแทนของจำเลย เพื่อหักล้างข้ออ้างของจำเลยได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะประเด็นข้อพิพาทมิใช่เกิดจากคำฟ้องฝ่ายเดียว ย่อมเกิดจากคำให้การได้ด้วย ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 และจำเลยเท่านั้นมีหน้าที่รับหรือปฏิเสธข้ออ้างของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 177 วรรคสอง ฉะนั้น การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีมีข้ออ้างบางประการขึ้นมานั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องบรรยายฟ้องเพิ่มเติม แถลงรับ หรือปฏิเสธข้ออ้างเช่นว่านั้นของจำเลยซ้อนขึ้นมาอีก ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยรับหนังสือพิมพ์จากโจทก์ไปจำหน่ายแต่ ส. ได้ยอมผูกพันตนเข้าทำสัญญากู้เอกสารหมาย จ. 3 เป็นหนี้โจทก์และจะผ่อนชำระจึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่หนี้ของจำเลยระงับพิพากษายกฟ้องโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ว่าสัญญากู้เอกสารหมาย จ.3 เป็นนิติกรรมอำพรางดังที่โจทก์นำสืบและไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงหนี้เงินกู้: การเข้ามาของบุคคลใหม่ในฐานะผู้รับเรือน ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม
ช. ผู้สั่งจ่ายเช็คทำเอกสารหมาย จ.3 รับรองว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กู้เป็นผู้ทรงเช็คจริง แต่ขณะนี้ยังขัดข้อง ช. ยอมเป็นผู้รับเรือน ยอมรับผิดที่จะต้องใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่ง โดยขอผัดชำระหนี้ไปภายในเดือนกรกฎาคม 2505 เมื่อผู้รับเรือนใช้หนี้รายนี้เสร็จแล้ว หนี้สินเดิมจึงจะเสร็จสิ้นกัน ไม่มีข้อความตอนใดว่า การที่ช. ยอมเข้ามาเป็นผู้รับเรือนและยอมใช้หนี้เงินกู้รายนี้เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่งแล้ว จะให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 หลุดพ้น ดังนี้ สัญญาตามเอกสารหมาย จ.3 จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลบที่ 1 มาเป็น ช. หนี้เงินกู้จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและฎีกาที่ 349
แม้ ช. จะได้ออกเช็คให้โจทก์ผู้ให้กู้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็ค หนี้จึงไม่ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายและแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
หลังจากที่จำเลยที่ 1 นำช. เข้ามาผูกพันกับหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 กู้ไปจากโจทก์แล้ว การติดต่อทวงถามหนี้ได้เป็นไปเพียงระหว่างโจทก์กับ ช. เท่านั้น โจทก์กับ ช. ตกลงผ่อนการชำระหนี้แก่กัน ช. ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ 4 ครั้ง ดังนี้ พฤติการณ์ของ ช. หาใช่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้แต่ประการใดไม่
แม้ ช. จะได้ออกเช็คให้โจทก์ผู้ให้กู้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็ค หนี้จึงไม่ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายและแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
หลังจากที่จำเลยที่ 1 นำช. เข้ามาผูกพันกับหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 กู้ไปจากโจทก์แล้ว การติดต่อทวงถามหนี้ได้เป็นไปเพียงระหว่างโจทก์กับ ช. เท่านั้น โจทก์กับ ช. ตกลงผ่อนการชำระหนี้แก่กัน ช. ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ 4 ครั้ง ดังนี้ พฤติการณ์ของ ช. หาใช่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้แต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7229/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน: ศาลวินิจฉัยที่มาของหนี้ได้ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงมูลหนี้จากหนี้เดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินและรับเงินสดไปจากโจทก์ จำเลยให้การและนำสืบต่อสู้ว่าจำเลยเคยนำเช็คไปขายลดแก่กลุ่มของโจทก์ ต่อมากลุ่มของโจทก์อ้างว่าจำเลยยังเป็นหนี้ประมาณ 700,000 บาท หากจำเลยยอมทำสัญญากู้จะลดยอดหนี้ให้เหลือ 500,000 บาท จำเลยจึงลงชื่อในสัญญากู้เงินโดยไม่เคยได้รับเงิน ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยถึงรายละเอียดที่มาแห่งมูลหนี้ในการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่โต้แย้งกันนั้นได้ ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จริง ไม่ว่ามูลหนี้จะเป็นการกู้ยืมเงินสดหรือเป็นหนี้เงินที่ค้างชำระจากการขายลดเช็ค สัญญากู้ก็มีผลบังคับได้