คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลงเงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหลังทำสัญญาถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่า โจทก์จะต้องก่อสร้างผนังด้านหลังชั้น 2 กว้าง 10 เมตร สูง 7 เมตร ทำระเบียงชั้น 2 ด้านหน้า พร้อมทั้งเสาหินอ่อน 2 ต้น ขนาดกว้าง 10 เมตร สูง 3 เมตร โดยไม่คิดค่าแรงเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือระบุให้โจทก์กระทำการดังกล่าว จึงเป็นการกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้นอกเหนือไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ การที่โจทก์หยุดการทำงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8114-8868/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพการจ้างตามปกติวิสัยและผลของการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายโบนัสโดยไม่ได้รับความยินยอม
โจทก์ทั้งหมดและจำเลยมีการตกลงเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างทุกปีตลอดมาจนเป็นปกติวิสัยโดยไม่ได้ยึดถือหรือคำนวณจากผลประกอบการหรือกำไรสุทธิเป็นเกณฑ์ แต่ยึดอายุงานและความขยันหมั่นเพียรไม่ขาด สาย ป่วย ลา เกินกำหนด เป็นสำคัญ จึงถือได้ว่าเป็นสภาพการจ้างที่ตกลงกันโดยปริยายซึ่งมีผลผูกพันโจทก์ทั้งหมดดังกล่าวและจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม จำเลยจะออกประกาศ ระเบียบหรือกฎเกณฑ์ใดให้ขัดหรือแย้งกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัสนั้นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง เมื่อจำเลยออกประกาศเรื่องการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2544 ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ทั้งหมดมากกว่าสภาพการจ้างเดิม ประกาศของจำเลยฉบับดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับแก่โจทก์รายใดจึงขึ้นอยู่กับโจทก์รายนั้น ๆ ให้ความยินยอมรับเอาเงินโบนัสตามประกาศของจำเลยเป็นสำคัญ
เงินโบนัสประจำปีมีประเพณีปฏิบัติกำหนดจ่ายภายในวันสิ้นปี จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน ดังนั้น โจทก์รายที่ยังไม่ได้รับเงินโบนัส และโจทก์รายที่ได้รับเงินโบนัสประจำปีไปแล้วบางส่วน เมื่อถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสประจำปี จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ดังกล่าว การที่จำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัด แม้ได้ความว่าจำเลยได้ปิดประกาศเรื่องการจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างทราบอันอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติการขอชำระหนี้ก็ตาม แต่ตามประกาศนั้นกำหนดเงินโบนัสที่จะจ่ายน้อยกว่าสิทธิที่โจทก์แต่ละรายจะพึงมีสิทธิได้รับตามข้อตกลงในส่วนที่เป็นสภาพการจ้าง การที่โจทก์เหล่านั้นปฏิเสธจึงมีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับเงินโบนัสประจำปีพิพาท เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปีตามวันที่กำหนดย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกสัญญาเช่าซื้อและการผิดสัญญา การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขชำระเบี้ยประกันภัยโดยฝ่ายเดียวเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาได้
สัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยผู้เช่าซื้อมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงตามบันทึกโดยอาศัยเหตุอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้ในบันทึกนี้ การจะยกเลิกข้อตกลงนั้นจึงต้องมีเหตุอื่น ๆ อันจะเป็นหลักแห่งข้ออ้างในการเลิกข้อตกลง และเหตุอื่น ๆ นั้น น่าจะเป็นหรือเกิดจากการกระทำของคู่สัญญา ในคดีนี้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำการผิดเงื่อนไขข้อสัญญาแต่ประการใด ระยะเวลาให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยนั้นระบุไว้ในสัญญาโดยชัดแจ้ง การเปลี่ยนระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัยของจำเลยนั้นเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบโดยไม่มีเหตุอันควรจะอ้าง จึงรับฟังไม่ขึ้น เมื่อจำเลยไม่ชำระเบี้ยประกันเป็นการผิดข้อตกลงตามสัญญา จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือเตือนให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขโดยมิได้รับความยินยอมถือเป็นการผิดสัญญา
โจทก์เสนอขายที่ดินในโครงการโดยมีแผนผังประกอบการขายด้วย จำเลยเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขาย ก็เพราะ เชื่อว่าโจทก์จะสร้างสาธารณูปโภคตามแผนผัง แต่ต่อมาภายหลังโจทก์ไปยื่นคำขออนุญาตทำการค้าที่ดินระบุว่า ขายตารางวาละ 300 บาท ไม่มีการจัดทำสาธารณูปโภคอย่างอื่น เว้นแต่ทำถนน เท่านั้น การกระทำของโจทก์เช่นนี้ ย่อมเป็นการปฏิเสธการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้แก่จำเลย จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ และการที่โจทก์ปฏิเสธการชำระหนี้ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จำเลยย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ การที่จำเลยขอเงินค่าที่ดินคืนจากโจทก์ จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแล้ว โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218-220/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขโบนัสโดยไม่ยินยอมขัดต่อสภาพการจ้าง แม้เป็นการปฏิบัติตามนโยบายรัฐ
แม้จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมติของคณะรัฐมนตรีในการดำเนินการบริหารรัฐวิสาหกิจ แต่การที่จำเลยหักเงินโบนัส ของโจทก์สืบเนื่องมาจากจำเลยได้ปฏิบัติตามหนังสือของกระทรวงการคลังที่ขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศโดย ให้จำเลยชักชวนพนักงานเสียสละปรับลดเงินโบนัสด้วยความสมัครใจ มิใช่เป็นมติของคณะรัฐมนตรีที่สั่งการให้ปรับลดเงินโบนัส การที่ จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสและได้จ่ายเงินโบนัสตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัส ซึ่งไม่เป็นคุณแก่พนักงานของจำเลยโดยพนักงานไม่ยินยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายส่วนแบ่งกำไรโดยไม่ได้รับความยินยอมถือเป็นการผิดสัญญา
ขณะโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลย ตกลงกับโจทก์ว่าจะให้ส่วนแบ่งกำไรแก่โจทก์ในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ แม้ข้อตกลงนี้เดิมไม่ได้ ทำเป็นหนังสือไว้ แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกตามเอกสารพิพาทถึงโจทก์ แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายส่วนแบ่งกำไรตามหลักเกณฑ์ตามบันทึกดังกล่าวตลอดมาถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยจำเลยจึงไม่มีสิทธิแต่ฝ่ายเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงการจ่ายส่วนแบ่งกำไรให้แก่โจทก์ใหม่โดยคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ตกลงไว้และแบ่งกำไรให้เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ ซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจาก โจทก์ก่อนได้ คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ได้ตกลงกันไว้และแบ่งกำไรให้แก่โจทก์เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ โจทก์มิได้ยินยอมด้วย และเงินส่วนแบ่งกำไรนี้มิใช่เงินโบนัส เพราะเงินโบนัสมีข้อตกลงอยู่ต่างหากแล้วการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงดังกล่าวในปีถัดไปจากปี 2538 ไปได้แล้วและที่ว่า ผลประโยชน์ตอบแทนการขายของโจทก์หรือที่เรียกว่าส่วนแบ่งกำไร หมายถึงโบนัสของฝ่ายขาย จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9403-9495/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างโดยปริยาย การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และหน้าที่ปฏิบัติตามข้อตกลง
การตกลงอันจะก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งรวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นหาได้จำต้องเฉพาะการตกลงโดยชัดแจ้งไม่อาจมีการตกลงโดยปริยายก็ได้ จำเลยเคยจ่ายเงินพิเศษแก่ลูกจ้างปีละ15วันแล้วได้เปลี่ยนมาเป็นการจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแทนลูกจ้างของจำเลยหาได้ทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้านประการใดไม่ตรงกันข้ามกลับยอมรับเอาผลการเปลี่ยนแปลงโดยยอมรับเอาคูปองค่าอาหารแทนเงินพิเศษตลอดมาจึงมีผลผูกพันจำเลยและลูกจ้าง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างคนละ190บาทต่อเดือนนั้นคูปองค่าอาหารที่จ่ายให้มีลักษณะเป็นสวัสดิการอันเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่งเมื่อลูกจ้างยอมรับเอาและจำเลยก็ได้จ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างตลอดมาจึงเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518บัญญัติให้ทำเป็นหนังสือมี2กรณี คือกรณีแรกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไปจะต้องจัดให้มีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา10วรรคแรกซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในกรณีนี้จะต้องมีข้อความดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา11ส่วนกรณีที่สองข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องของนายจ้างหรือลูกจ้างและสามารถตกลงกันได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา18ซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวนอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือแล้วนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงานแล้วแต่กรณีจะต้องลงลายมือชื่อและต้องนำไปจดทะเบียนอีกด้วย จำเลยผู้เป็นนายจ้างตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารโดยมิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องและมิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือดังนี้จำเลยจะยกเบิกการจ่ายคูปองค่าอาหารซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยที่มิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13หาได้ไม่ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าก่อนที่จำเลยจะยกเลิกจ่ายคูปองค่าอาหารจำเลยได้ตกลงกับตัวแทนลูกจ้างแล้วนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟังมาว่าไม่ได้มีการเจรจาสองฝ่ายให้ยกเลิกการจ่ายคูปองค่าอาหารอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินโบนัสและคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างแยกต่างหากจากกันแม้จำเลยจะเพิ่มเงินโบนัสแก่ลูกจ้างแต่การที่จำเลยยกเลิกการจ่ายคูปองอาหารอันเป็นผลให้ลูกจ้างไม่ได้รับคูปองอาหารย่อมไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจำเลยจะแก้ไขยกเลิกโดยลำพังโดยที่มิได้ดำเนินการตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518หาได้ไม่ คำพิพากษาศาลแรงงานกล่าวไว้ในส่วนของคำวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าอาหารแก่โจทก์แต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายอาหารแก่โจทก์นั้นเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยและเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารแก่ลูกจ้างเดือนละ190บาทซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจึงให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแก่โจทก์ทุกคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5506/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาจ้างแรงงานและการรับโอนสิทธิภายใต้ข้อตกลงสภาพการจ้าง
ตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518เป็นกรณีต่อเนื่องมาจากมาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้องโดยให้มีผลผูกพันนายจ้างกับลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือลูกจ้างที่มีส่วนในการเลือกผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องนั้น และเห็นได้ว่าความในมาตรา 20 เป็นเรื่องห้ามนายจ้างมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 และต่อมาตกลงกันได้ตามมาตรา 18 และ 22 เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากข้อเรียกร้องดังกล่าวมา กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 20 นายจ้างและลูกจ้างย่อมมีสิทธิทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จเสียใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.1 ได้ เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานระดับบริหารและได้ทำข้อตกลงให้ยกเลิกระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานระดับบริหารของบริษัทซึ่งมีผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ ข้อตกลงดังกล่าวนี้จึงใช้บังคับได้และมีผลผูกพันโจทก์
ในปี 2522 บริษัท จ. และบริษัทในเครือออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.1 และการโอนย้ายโจทก์ระหว่างบริษัทในเครือของบริษัท จ.กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องกันไปเสมือนได้ทำอยู่ในบริษัทเดียวกัน และคงให้สิทธิต่าง ๆ เช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์โอนมาเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 5 ก็ได้ระบุไว้เช่นกัน จำเลยที่ 1 จึงรับโอนโจทก์มาพร้อมสิทธิต่าง ๆ ของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเรื่องเงินบำเหน็จตามเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งใช้บังคับได้สิทธิของโจทก์มีเพียงใด จำเลยที่ 1 ก็คงรับโอนมาเพียงนั้น เอกสารหมาย ล.1จึงผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี และขอบเขตการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขคำสั่งทุเลาการบังคับ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินตามจำนวนที่ต้องชำระตามฟ้องมาส่งศาลเพื่อนำฝากประจำที่ธนาคาร และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือมีคำสั่งศาลเป็นอย่างอื่น ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินไม่เต็มตามฟ้องแก่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ว่ามีความจำเป็นและประสงค์จะนำเงินที่นอกเหนือไปจากการคุ้มครองประโยชน์ไปใช้จ่ายคำร้องนี้ถือเป็นคำร้องอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264ไม่ใช่เรื่องการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง จึงไม่เป็นการสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับ และไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2), 247
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระเงินเต็มตามฟ้อง ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยอมรับยังคงอุทธรณ์กันอยู่ ถือว่ายอดหนี้ยังไม่ยุติ การที่ศาลให้ฝากเงินไว้ต่อไปก็คงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม กรณีไม่ถือว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่อาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 262 และเมื่อคดีปรากฏด้วยว่า ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามจำเลยถอนเงินจากธนาคารระหว่างอุทธรณ์ การที่จำเลยขอนำเงินฝากจากธนาคารไปใช้จ่ายจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการทุเลาการบังคับที่ได้เคยมีคำสั่งไว้ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4778/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตวัตถุประสงค์บริษัทจำกัด และผลของการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 3 เป็นบริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ภายในขอบวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง เมื่อบริษัทจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้า และเพื่อทำการกู้ยืมเงินค้ำประกันและรับรองทั้งบุคคลหรือนิติบุคคลเพื่อกิจการค้าของบริษัท ดังนั้นการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยมิได้กระทำเพื่อกิจการค้าของบริษัท เป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิด
แม้ตามสัญญาชักสวนลดเช็คข้อ 1 จะระบุว่า เช็คที่จำเลยที่ 1 เสนอให้โจทก์ชักส่วนลดต้องเป็นเช็คของธนาคารในประเทศไทย สั่งจ่ายให้จำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้สินค้าที่จำเลยที่ 1 ขายให้แก่ผู้สั่งจ่ายก็ตาม แต่ตามสัญญาข้อ 7 ให้สิทธิโจทก์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญา และไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 หลุดพ้นหรือลดน้อยลงเมื่อจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาชักส่วนลดเช็คของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและตามสัญญาค้ำประกันยินยอมให้โจทก์มีสิทธิ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดใด ๆ ของสัญญาชักส่วนลดเช็ค โดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 4 ทราบ และให้ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ตกลงยินยอมด้วย ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากข้อผูกพันและความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ดังนั้นแม้โจทก์จะรับเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายนำมาชักส่วนลดก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้ตกลงยินยอมด้วย จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาชักส่วนลดเช็คกับโจทก์รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหนังสือชักส่วนลดเช็คท้ายฟ้องและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้กับโจทก์รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหนังสือสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง ดังนั้นสัญญาชักส่วนลดเช็คและสัญญาค้ำประกันถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง การที่ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าว จึงหาเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
of 2