พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานเปลี่ยนแปลงเอกสารในคดีอาญา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในคดีอาญาจำเลยย่อมนำสืบตามข้ออ้างของตน ซึ่งอาจเป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเอกสารใดๆ ได้ทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะประมวลวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีข้อจำกัดห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในบางกรณีไว้ดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
( วินิจฉัยทำนองเดียวกับคำพิพากษาฎีกาที่ 1210/2511 )
( วินิจฉัยทำนองเดียวกับคำพิพากษาฎีกาที่ 1210/2511 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ พยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารได้ตามกฎหมาย
การรับสภาพหนี้นั้น ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือเสมอไปเพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)บัญญัติว่า ถ้าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยทำหนังสือรับสภาพให้ก็ตาม หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นก็ใช้ได้ ดังนั้นการรับสภาพหนี้จึงไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จึงนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามหนังสือรับสภาพหนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ไม่รับฟ้อง: คดีเพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดิน & คดีสัญญาจะซื้อขาย, การเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร
สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา380วรรคสองบังคับให้ต้องมีมาแสดงตรงตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94โจทก์คงมีเพียงเอกสารซึ่งมีข้อความระบุว่าจำเลยที่5เป็นผู้ค้ำประกันและผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันค่าเช่าซื้อให้แก่ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้ตามสัญญาหรือผู้เช่าซื้อตายหรือล้มละลายหรือหนี้เหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้เช่าต้องเสียหายผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ตลอดจนค่าเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งสิ้นซึ่งเป็นสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อมาแสดงต่อศาลเท่านั้นหาใช่สัญญาค้ำประกันมูลหนี้การซื้อขายตามฟ้องมาแสดงต่อศาลไม่การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่5ทำสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาเอกสารจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา94(ข)จึงต้องฟังว่าโจทก์ไม่มีเอกสารสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องมาแสดงต่อศาลโจทก์จึงฟ้องร้องให้จำเลยที่5รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่1ไม่ได้ ฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดินซึ่งจำเลยที่2ถึงที่6รับโอนเกินส่วนไปคืนแก่จำเลยที่1หากจำเลยทั้งหกไม่ดำเนินการก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทนนั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอีกเรื่องหนึ่งดังนี้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องของโจทก์ในคำฟ้องส่วนนี้นั้นเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18และมาตรา228(3)ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหากเสร็จไปแต่ประเด็นบางข้อโจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้เมื่อศาลพิพากษาคดีดังกล่าวแล้วตามบทบัญญัติวรรคสามของมาตรา228แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่1ในนามของตนเองให้จำเลยที่2ถึงที่6โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วคืนให้แก่จำเลยที่1โดยปลอดจำนองเพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายและหากจำเลยทั้งหกไม่ยอมปฏิบัติตามก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนหาได้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำฟ้องในคดีก่อนซึ่งโจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาไม่ยอมโอนสิทธิการครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายจึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่1โอนสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วแก่โจทก์คำฟ้องคดีนี้จึงไม่ซ้ำเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิเช่าที่ไม่มีข้อตกลงเรื่องค่าตอบแทน การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร
สัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทซึ่งระบุว่า จำเลยซึ่งเช่าตึกพิพาทจากโจทก์ร่วมได้โอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์เป็นผู้เช่าต่อไปเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306ซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ เมื่อสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าตอบแทนไว้ ดังนั้น การที่จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่ามีค่าตอบแทนและโจทก์ยังค้างชำระค่าตอบแทนดังกล่าวบางส่วน และถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญานั้น จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาพักร้อนและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างทำงานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารได้
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าเมื่อพนักงานของจำเลยผู้ใดทำงานครบกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีขึ้นไปจึงจะมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้แต่ละปีตามจำนวนวันที่กำหนดไว้และเมื่อมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้แล้วหากลาออกจากงานหรือมีการเลิกจ้างจำเลยก็จะจ่ายค่าจ้างสำหรับวันลาหยุดพักผ่อนประจำปีให้ซึ่งจะกระทำในกรณีจำเป็นและต้องได้รับอนุมัติจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยก่อนแต่กรณีของโจทก์ทั้งสองปรากฏว่ายังทำงานไม่ครบหนึ่งปีไม่มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีจึงไม่มีกรณีที่กรรมการผู้จัดการของจำเลยจะอนุมัติให้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ได้แม้ตามเอกสารที่จำเลยทำขึ้นจะมีข้อความว่าจำเลยได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ก็ตามจำเลยก็มีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์นั้นความจริงแล้วเป็นการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ไม่เพราะกรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างนั้นกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือต่อกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1384/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงนอกสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ศาลไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารสัญญา
สัญญาจะซื้อขายที่ดินกำหนด เวลาการชำระราคาที่ดินไว้แน่นอนแล้ว จะขอนำสืบว่ามีข้อตกลงให้ผ่อนชำระราคาที่ดินนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาไม่ได้ เพราะเป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารสัญญาซื้อขายด้วยพยานบุคคลขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
สัญญาจะซื้อขายระบุว่า ส. ขายที่พิพาทให้โจทก์ในราคา14,000 บาท เงินจำนวนนี้ผู้ขายได้รับจากโจทก์ไปครบถูกต้องแล้วแต่วันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าในวันทำสัญญาจะซื้อขายผู้ขายได้รับเงินค่าที่พิพาทเพียง 2,500 บาท รวมกับเงินที่ผู้ขายและจำเลยที่ 1 กู้โจทก์ไปสองคราวจำนวน 1,300 บาท เป็นเงินเพียง 3,800บาทนั้น เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญากู้ยืมเงินที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงจริง การต่อสู้หักล้างเอกสารต้องมีเหตุผลชัดเจน
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยให้การต่อสู้ว่าต้นเงินกู้จำนวนตามฟ้องนั้นเป็นเงินมัดจำค่าซื้อที่ดินที่โจทก์วางไว้กับจำเลยตามสัญญาซื้อขายที่ดิน
แต่เนื่องจากขณะทำสัญญาไม่มีแบบพิมพ์สัญญาซื้อขาย จึงเอาแบบพิมพ์สัญญากู้มากรอกข้อความแทน เช่นนี้ เป็นการต่อสู้เพื่อนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญากู้ มิใช่เพื่อนำสืบหักล้างเอกสารสัญญากู้อันจะเข้าข้อยกเว้นให้นำสืบพยานบุคคลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ดังกล่าว จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ลอยๆ ว่าตนเป็นเพียงผู้รับรองต่อโจทก์ว่าจะเป็นผู้จัดให้มีการซื้อขายที่ดินกันให้สำเร็จเรียบร้อยเท่านั้น มิได้แสดงเหตุที่จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้แต่อย่างใด เช่นนี้ถือว่าจำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ
แต่เนื่องจากขณะทำสัญญาไม่มีแบบพิมพ์สัญญาซื้อขาย จึงเอาแบบพิมพ์สัญญากู้มากรอกข้อความแทน เช่นนี้ เป็นการต่อสู้เพื่อนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญากู้ มิใช่เพื่อนำสืบหักล้างเอกสารสัญญากู้อันจะเข้าข้อยกเว้นให้นำสืบพยานบุคคลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ดังกล่าว จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ลอยๆ ว่าตนเป็นเพียงผู้รับรองต่อโจทก์ว่าจะเป็นผู้จัดให้มีการซื้อขายที่ดินกันให้สำเร็จเรียบร้อยเท่านั้น มิได้แสดงเหตุที่จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้แต่อย่างใด เช่นนี้ถือว่าจำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามกฎหมายในสัญญากู้ยืม หากไม่ได้ระบุอัตรา ต้องคิดร้อยละ 7.5 ต่อปี และห้ามเปลี่ยนแปลงใจความเอกสาร
สัญญากู้ยืมเงินที่ระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยกันตามกฎหมาย แต่ไม่ได้กำหนดอัตราว่าเท่าใดนั้น ต้องคิดดอกเบี้ยกันร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีและถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้ ซึ่งผู้ให้กู้จะนำสืบเป็นว่าได้ตกลงดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีไม่ได้
เอกสารซึ่งมีข้อความระบุว่าเป็นการชำระค่าดอกเบี้ยอย่างเดียวชัดแจ้งแล้ว ย่อมจะนำสืบตีความว่าเป็นการชำระต้นเงินด้วยไม่ได้เช่นกัน
เอกสารซึ่งมีข้อความระบุว่าเป็นการชำระค่าดอกเบี้ยอย่างเดียวชัดแจ้งแล้ว ย่อมจะนำสืบตีความว่าเป็นการชำระต้นเงินด้วยไม่ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางต้องมีนิติกรรมที่ใช้บังคับได้ทั้งสองอัน การอ้างนิติกรรมต่างจากที่จดทะเบียนเป็นข้อเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก หมายถึงบุคคลสองฝ่ายมิได้มีเจตนาที่จะผูกพิติสัมพันธ์กันอย่างไรเลย หากแต่แสร้งทำเป็นนิติกรรมขึ้นเพื่อลวงบุคคลภายนอก กฎหมายจึงยอมให้บุคคลทั้งสองฝ่ายน้นอ้างอิงความไม่สมบูรณืของนิติกรรมนั้น เพื่อแสดงว่าเป็นโมฆะได้ ส่วนวรรคสองหมายถึงบุคคลสองฝ่ายตกลงกันทำนิติกรรมอันหนึ่ง แต่ไม่แสดงเจตนาออกเช่นนั้น แสร้งทำเป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่ง เพื่ออำพรางนิติกรรมที่เขาแสดงเจตนาอันแท้จริงผูกนิติสัมพันธ์กันขึ้นนั้น กฎหมายจึงให้บังคับตามเจตนาอันแท้จริงที่เขาผูกนิติสัมพันธ์กันนั้นได้
ในกรณีที่จำเลยได้แสดงเจตนาตกลงกับโจทก์และจดทะเบียนแสดงเจตนานั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของจำเลยไปให้โจทก์เป็นการขายฝากแล้วนั้น จำเลยจะขอสืบพยานว่าพฤติการณ์เป็นจำนองโดยไม่มีสัญญาจำนองอันแท้จริงอีกอันหนึ่งเลยหาได้ไม่ เพราะเป็นการขอสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)
ในกรณีที่จำเลยได้แสดงเจตนาตกลงกับโจทก์และจดทะเบียนแสดงเจตนานั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของจำเลยไปให้โจทก์เป็นการขายฝากแล้วนั้น จำเลยจะขอสืบพยานว่าพฤติการณ์เป็นจำนองโดยไม่มีสัญญาจำนองอันแท้จริงอีกอันหนึ่งเลยหาได้ไม่ เพราะเป็นการขอสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)