คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลงแบบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างทำให้สัญญาเดิมสิ้นผล จำเลยไม่มีสิทธิปรับสัญญา
จำเลยผู้ว่าจ้างเป็นผู้เสนอขอยกเลิกข้อกำหนดเดิมในสัญญา โดยเสนอขอเปลี่ยนแปลงแบบรูปรายการก่อสร้างใหม่ ทำให้สัญญาในส่วนที่จะทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบรูปรายการก่อสร้างใหม่ยังไม่เกิด เพราะคู่สัญญายังไม่สามารถหาข้อยุติและยังไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับเรื่องการยืดเวลาการก่อสร้าง และนับแต่วันที่จำเลยขอเปลี่ยนแปลงแบบรูปรายการก่อสร้างงานเฉพาะในส่วนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง โจทก์ผู้รับจ้างต้องหยุดทำการก่อสร้าง เนื่องจากต้องรอดูผลจากจำเลยว่าจะอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงหรือไม่ งานในงวดที่ 4 และงวดสุดท้ายจึงไม่จำต้องผูกพันตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างเดิม การที่จำเลยใช้สิทธิปรับโจทก์ตามเงื่อนเวลาในสัญญาฉบับเดิมจึงไม่ถูกต้อง โจทก์มีเหตุผลในการส่งมอบงานล่าช้าซึ่งมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์มิได้ผิดสัญญาจำเลยจึงไม่มีสิทธิปรับและหักเงินค่าจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายอาคารชุด: การเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างและข้อกำหนดสัญญาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยก่อสร้างอาคารชุดให้มีจำนวนชั้นเพิ่มขึ้นจาก 27 ชั้น เป็น 30 ชั้น แม้โจทก์มิได้ซื้อห้องชุดสูงสุด แต่สิทธิของโจทก์ย่อมถูกกระทบจากการที่มีห้องชุดเพิ่มขึ้นและมีผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้มีผู้ร่วมใช้ทรัพย์สิน ส่วนกลางของอาคารชุดเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้โจทก์ขาดความสะดวกสบายในการใช้ทรัพย์สินส่วนกลาง สำหรับผนังกั้นห้องภายในซึ่งก่อสร้างโดยใช้วัสดุแผ่นยิปซัมย่อมไม่แข็งแรงคงทนถาวรเทียบเท่าผนังก่ออิฐฉาบปูนตามที่ระบุในสัญญานอกจากนั้นอาคารชุดดังกล่าวไม่มีเสารองรับน้ำหนักภายในตัวอาคาร แต่ใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปประกอบขึ้นแทนเสาตามแบบแปลน อาจทำให้อาคารไม่มีความมั่นคงแข็งแรงและย่อมกระทบถึงห้องชุดพิพาทที่โจทก์ซื้อเพราะเป็นส่วนหนึ่งของอาคารด้วยและตามเอกสารแนบท้าย SPECIFICATIONของอาคารหรือรายละเอียดของโครงการ ซึ่งสัญญาจะซื้อขายอาคารชุดพิพาทข้อ 1(ก) ให้ถือว่าเอกสารแนบท้ายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วยระบุว่า โครงการจะมีหน่วยจัดการควบคุมดูแลและรักษาความปลอดภัย สโมสรพักผ่อนหย่อนใจ สวน และลานระเบียง จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าว หากไม่ปฏิบัติตามย่อมทำให้อาคารชุดมีสภาพไม่น่าอยู่ขาดความปลอดภัย ความสะดวกสบายและความสวยงามการไม่ปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยข้างต้นล้วนเป็นการผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญทั้งสิ้น ชอบที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้
ตามข้อสัญญาโจทก์ต้องบอกกล่าวแก่จำเลยล่วงหน้า 3 เดือนก่อนที่บอกเลิกสัญญาเฉพาะในกรณีที่จำเลยก่อสร้างอาคารชุดไม่แล้วเสร็จ แต่เมื่อจำเลยก่อสร้างแล้วเสร็จแต่ผิดจากแบบแปลนและข้อสัญญา โจทก์หาจำต้องบอกกล่าว เลิกสัญญาล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างและการบอกเลิกสัญญา: การผิดสัญญาที่ไม่สำคัญ
การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยก่อสร้างผิดจากแบบแปลนที่ตกลงกันเดิมนั้น มิใช่เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงอันจะต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารนั้น
การที่จำเลยก่อสร้างบ้านของโจทก์มีส่วนสูงน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในแบบแปลนและที่ได้ตกลงแก้ไขกันประมาณ .16 ถึง .18 เมตร หาทำให้บ้านนั้นเป็นอันไร้ประโยชน์แก่โจทก์ไม่ การผิดสัญญาของจำเลยจึงมิใช่การผิดสัญญาในข้อสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ หากการผิดสัญญาดังกล่าวของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด โจทก์ก็มีเพียงสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นให้แก่โจทก์ได้เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างหลังสัญญา สิทธิปรับล่าช้า และอายุความคดี
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างสะพานตามแบบแปลนต่อท้ายสัญญา โจทก์สร้างสะพานผิดแบบแปลนโดยแจ้งให้จำเลยทราบถึงสาเหตุที่จำเป็นแล้วและวิศวกรของจำเลยก็เห็นด้วย เมื่อกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงแบบแปลนการก่อสร้างได้ตามที่จำเลยเสนอ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อสร้างสะพานผิดแบบแปลน
ตามสัญญาโจทก์จะต้องสร้างสะพานให้แล้วเสร็จและส่งมอบแก่จำเลยภายในวันที่ 27 มีนาคม 2522 เวลา 16.30 นาฬิกา แต่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 5 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายการก่อสร้างได้และประธานกรรมการตรวจการจ้างนัดตรวจงานในวันเดียวกันเวลา16.00 นาฬิกา และ ต่อมาจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 12 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างสะพานต่อไปตามสัญญา หนังสือทั้งสองฉบับนี้จำเลยมีถึงโจทก์ภายหลังที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยมิได้กล่าวถึงกำหนดระยะเวลาก่อสร้างที่สิ้นสุดลงแล้ว กลับอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไปการที่จำเลยอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไปทั้งๆ ที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้วนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยมิได้มีเจตนายึดถือเอากำหนดเวลาสิ้นสุดการก่อสร้างตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะปรับโจทก์เพราะโจทก์ก่อสร้างล่าช้าเกินกำหนดเวลา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าปรับคืนบางส่วน โจทก์มิได้ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่น ทั้งแก้ฎีกาเป็นทำนองว่าพอใจตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้คืนค่าปรับทั้งหมดให้แก่โจทก์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้ยกปัญหาในเรื่องนี้ตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ต้องถือว่าปัญหาเรื่องนี้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยฎีกาในปัญหาเรื่องนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8605/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างและคู่สัญญาตกลงกันใหม่
โจทก์และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารคลับเฮาส์โดยโจทก์เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2542 เรื่อยมาจนถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2542 จำเลยที่ 2 ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบแปลนใหม่ผิดไปจากเดิมหลายประการ ซึ่งมีทั้งการเพิ่มเหล็กเพิ่มคอนกรีตและต้องทุบงานที่ก่อสร้างไปแล้วบางส่วนทิ้งเพื่อทำให้ตามแบบที่แก้ไข ทำให้โจทก์ต้องเสียเวลา เนื่องจากขณะนั้นลงมือก่อสร้างไปแล้วเกือบเดือน ทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโจทก์จึงแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่จำเลยที่ 2 ก็บอกให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า การก่อสร้างจะต้องล่าช้าออกไปจนไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 ตามกำหนดเวลาเดิมอย่างแน่นอน ตามพฤติการณ์จึงถือได้ว่า คู่กรณีเจตนาให้มีการเปลี่ยนแปลงในข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา โดยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป การทำงานล่าช้ากว่ากำหนดจึงมิใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่อาจบอกเลิกสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนด เว้นแต่จะได้บอกกล่าวโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแล้วจำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้
โจทก์ได้เสนอราคางานที่เพิ่มเติมต่อจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2542 และแจ้งจำเลยที่ 2 ถึงการขาดสภาพคล่องทางการเงินอันเนื่องมาจากการแก้ไขเพิ่มเติมแบบซึ่งโจทก์ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปก่อนขอให้จำเลยที่ 2 หาทางช่วยเหลือโดยจัดสรรเงินให้เพื่อเร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2542 เมื่อจำเลยที่ 2 รับเอกสารดังกล่าวแล้วบอกกว่าจะจัดการให้ภายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 แต่ในที่สุดจำเลยที่ 2 ก็ไม่ชำระการทิ้งงานของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าก่อสร้างส่วนที่เพิ่มขึ้นตามแบบแปลนใหม่ทั้งๆ ที่โจทก์ได้ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียว ต้องรับผิดในค่าเสียหายของโจทก์ในส่วนของงานที่เพิ่มเติมและอื่นๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8308/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพิ่มเติมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้าง และผลของการไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์
ในครั้งแรกที่มีการรังวัดการเวนคืนที่ดินและคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ตารางละ 35,000 บาท โจทก์พอใจและไม่ได้อุทธรณ์ภายในกำหนด ทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาล ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างทำให้ต้องเวนคืนเนื้อที่ดินเพิ่มขึ้น เมื่อโจทก์เห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินในเนื้อที่ที่ต้องเวนคืนเพิ่มขึ้นใหม่นี้ไม่เป็นธรรม โจทก์ก็สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนนี้เพิ่มต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย แต่โจทก์จะอ้างความเสียหายจากเนื้อที่ที่ต้องเวนคืนเพิ่มขึ้นใหม่มาเป็นเหตุอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินจากการเวนคืนโดยการดำเนินการของจำเลยในครั้งแรกที่โจทก์พอใจไปแล้วด้วยไม่ได้