พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7779/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษทางอาญาตามกฎหมายใหม่ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณา
คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแต่จำเลยที่ 1 กำลังรับโทษตามคำพิพากษาดังกล่าวอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอ้างว่า มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษเสียใหม่ให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว จึงไม่อาจแก้ไขโทษตามคำพิพากษาได้นั้นเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะอำนาจในการมีคำสั่งตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ในกรณีเช่นนี้เป็นอำนาจของศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งสำนวนดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาตามลำดับชั้นศาล แต่ศาลชั้นต้นกลับส่งสำนวนมายังศาลฎีกาอันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 198 ทวิ แต่เมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งยกคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่
เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งสำนวนดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาตามลำดับชั้นศาล แต่ศาลชั้นต้นกลับส่งสำนวนมายังศาลฎีกาอันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 198 ทวิ แต่เมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งยกคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัย – อำนาจผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาคในการเปลี่ยนแปลงโทษ – การไล่ออกชอบด้วยกฎหมาย
ตามระเบียบการประปาส่วนภูมิภาคว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัยฯ หมวด 4 การประชุมปรึกษาและการรายงาน ข้อ 21 ถึง 24 มีข้อความเพียงแต่ให้คณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยหรือไม่ และผู้กระทำผิดควรได้รับโทษสถานใด เมื่อผู้ว่าการเห็นควรให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมก็ยังสามารถทำได้ มิได้มีข้อความในข้อใดระบุไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายอันแสดงให้เห็นว่าเมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นแล้วข้อเท็จจริงต้องยุติตามสำนวนการสอบสวน และเมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นควรรับโทษสถานใดแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโทษให้น้อยลงหรือเพิ่มขึ้นได้ อีกทั้งข้อความที่ว่า ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานการสอบสวนนั้นต่อผู้ว่าการเพื่อสั่งการโดยมิชักช้า คำว่าเพื่อสั่งการย่อมมีความหมายว่าให้ผู้ว่าการพิจารณาก่อนว่ามีความเห็นตามที่คณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นหรือไม่ การพิจารณาดังกล่าวก็มิได้กำหนดไว้ว่าผู้ว่าการจะต้องเป็นผู้พิจารณาด้วยตนเอง การที่ผู้ว่าการจำเลยเกษียนสั่งอนุมัติการขยายเวลาการสอบสวนตามที่คณะกรรมการสอบสวนขอมาพร้อมกับส่งเรื่องไปให้รองผู้ว่าการ (บริหาร) พิจารณาดำเนินการต่อไป จำเลยโดยผู้ว่าการยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเสนอการลงโทษโจทก์ เมื่อรองผู้ว่าการ (บริหาร) พิจารณาแล้วก็มอบเรื่องให้กองการเจ้าหน้าที่ไปพิจารณา ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่สรุปข้อเท็จจริงตามสำนวนการสอบสวนแล้วเห็นควรเสนอผู้ว่าการเพื่อมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานเนื่องจากโจทก์ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ ก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มิได้เป็นการกระทำที่ผิดระเบียบของจำเลย คำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ชอบและเป็นธรรมต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากความผิดฐานกระทำอนาจารเป็นทำร้ายร่างกาย และข้อจำกัดในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๘ จำคุก ๖ เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษาแก้เป็นลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๙๑ จำคุก ๑ เดือน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ มิได้เพิ่มเติมโทษจำเลย จึงต้องห้ามมิให้จำเลย ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๙
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงโทษตามกฎหมายเช็คใหม่: โทษเบากว่าต้องใช้บังคับกับจำเลย
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 บังคับใช้ โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497และตามกฎหมายใหม่ มาตรา 4 กำหนดโทษผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีโทษเบากว่าจึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 500,000 บาทนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดโทษปรับจำเลยที่ 1 ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นปรับ และประเด็นความแตกต่างของข้อเท็จจริงระหว่างฟ้องกับพิจารณา
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน เป็นให้ปรับ 2,000 บาท อีกสถานหนึ่งส่วนโทษจำคุกให้รอไว้นั้น ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 การที่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(4) ให้คำนิยามคำว่า "เคหสถาน"ว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่นเรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยจะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยบุกขึ้นไปบนบ้านผู้เสียหายนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นกักขังและการจำกัดสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 20 วัน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษกักขัง 20 วัน แทนโทษจำคุก เป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาดุลพินิจในการวางโทษจำเลยของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษจากไล่ออกเป็นให้ออก มีผลนับแต่วันใด สิทธิเงินสงเคราะห์
เดิมจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม2524 โจทก์ได้ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ ต่อมาจำเลยได้ออกคำสั่งอีกฉบับหนึ่งมีความว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยมีมติว่าการลงโทษโจทก์รุนแรงเกินไป จึงให้ยกเลิกคำสั่งเดิมเสียทั้งสิ้นและให้โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2527 ดังนี้ ข้อความในคำสั่งฉบับหลังเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยได้ยกเลิกคำสั่งเดิมที่ไล่โจทก์ออกจากงานนั้นทั้งหมด ไม่ให้มีผลบังคับต่อไปโดยกำหนดโทษเป็นให้ออกจากงาน เมื่อคำสั่งเดิมได้กำหนดวันเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2524 ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษจึงต้องถือว่ามีผลบังคับตั้งแต่วันที่เลิกจ้างนั้นด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับของจำเลยนับแต่วันนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษเลิกจ้างจากไล่ออกเป็นให้ออกมีผลนับแต่วันใด สิทธิการได้รับเงินสงเคราะห์
เดิมจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม2524 โจทก์ได้ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ ต่อมาจำเลยได้ออกคำสั่งอีกฉบับหนึ่งมีความว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยมีมติว่าการลงโทษโจทก์รุนแรงเกินไป จึงให้ยกเลิกคำสั่งเดิมเสียทั้งสิ้นและให้โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2527ดังนี้ ข้อความในคำสั่งฉบับหลังเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยได้ยกเลิกคำสั่งเดิมที่ไล่โจทก์ออกจากงานนั้นทั้งหมด ไม่ให้มีผลบังคับต่อไปโดยกำหนดโทษเป็นให้ออกจากงาน เมื่อคำสั่งเดิมได้กำหนดวันเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2524 ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษจึงต้องถือว่ามีผลบังคับตั้งแต่วันที่เลิกจ้างนั้นด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับของจำเลยนับแต่วันนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์ ทำให้จำเลยไม่สามารถฎีกาขอรอการลงโทษได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด 2 กระทง รวมโทษแต่ละกระทงและลดแล้วคงจำคุก 6 เดือน ปรับ 1,500 บาทรอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 6 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ดังนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และอำนาจศาลในการปรับบทลงโทษ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งใช้ป้ายทะเบียนปลอม โดยมีจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้าย จำเลยที่ 1 มีปืนพกขนาด 11 มม. ไม่มีทะเบียนพกอยู่ที่เอว ไม่ได้ความว่า จำเลยทั้งสองพบผู้ตายโดยบังเอิญ หรือมีสาเหตุแห่งการยิงกันเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที เมื่อจำเลยที่ 1 ขับขี่รถจักรยานยนต์ตามหลังรถยนต์ของผู้ตายเข้าไปใกล้ในระยะห่างพอควร จำเลยที่ 2 ก็ใช้ปืนยิงเข้าไปในรถของผู้ตายทางด้านหลังรถทันที จากนั้นจำเลยที่ 1 ก็ขับรถจะแซงรถของผู้ตายขึ้นไปในขณะที่รถยนต์ของผู้ตายแฉลบไปทางขวามือเพราะถูกยิงเพื่อจะพากันหลบหนี เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับชนกับรถยนต์ของผู้ตาย จำเลยทั้งสองตกจากรถ จำเลยที่ 1 ได้รับบาดเจ็บ จำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนของจำเลยที่ 2 และของจำเลยที่ 1 ยิงผู้ตายอีกหลายนัดจนผู้ตายถึงแก่ความตาย พฤติการณ์ดังนี้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดหลายกรรม กรรมหนึ่งให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต อีกสองกรรมให้ลงโทษจำคุก 1 ปี 4 เดือน ศาลชั้นต้นจึงเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี เพื่อเรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยมีความผิดกรรมเดียว ซึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิต กรณีไม่จำต้องเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตโดยไม่เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปีได้ มิใช่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดหลายกรรม กรรมหนึ่งให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต อีกสองกรรมให้ลงโทษจำคุก 1 ปี 4 เดือน ศาลชั้นต้นจึงเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี เพื่อเรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยมีความผิดกรรมเดียว ซึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิต กรณีไม่จำต้องเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตโดยไม่เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปีได้ มิใช่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย