คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปิดทางจำเป็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอเปิดทางจำเป็น: แม้ที่ดินถูกล้อมรอบ แต่หากมีทางออกสู่สาธารณะได้แล้ว สิทธิขอเปิดทางจำเป็นย่อมไม่เกิดขึ้น
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 1103 มีเนื้อที่ 11 ไร่เศษต่อมาที่ดินแปลงดังกล่าวได้แบ่งแยกออกเป็น 3 แปลง ทำให้ที่ดินของโจทก์อยู่ตรงกลาง ไม่มีทางจะออกไปสู่ถนนสาธารณะได้นอกจากจะต้องผ่านออกทางลำกระโดงสาธารณประโยชน์ที่อยู่ทางด้าน ทิศตะวันออกของที่ดินของโจทก์และจำเลย ที่ดินของจำเลยทางด้าน ทิศตะวันออกจำเลยได้ก่อสร้างคอนโดมิเนียม ด้านข้างตลอดแนว ของคอนโดมิเนียมมีลำกระโดงสาธารณะขนาดกว้างประมาณ 2 ถึง 3 เมตร เลียบยาวไปทางด้านหน้าของคอนโดมิเนียมไปถึงคลองสาธารณะ บริเวณด้านข้างของคอนโดมิเนียม จำเลยยังเว้นที่ไว้มีระยะห่าง จากรั้วที่จะสร้างขึ้น 2 เมตร ตลอดแนว เมื่อปรากฏว่าลำกระโดง ดังกล่าวยาวไปออกคลองสาธารณะได้ และชาวบ้านละแวกนั้นต่างใช้ ลำกระโดงดังกล่าวเป็นทางสัญจรไปมา และใช้ทางเดินซึ่งเป็น ดินเลียบข้างลำกระโดงเดินออกไปสู่ถนนสาธารณะตลอดมา ที่ดินของโจทก์จึงมีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารชุดกับการฟ้องเปิดทางจำเป็น: ผู้ร้องสอดไม่มีส่วนได้เสีย
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุดให้เปิดทางจำเป็น ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดอ้างว่า ผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทางเข้าออกพิพาทตลอดจนสถานที่ต่าง ๆ ในสิ่งปลูกสร้างและที่ดินของจำเลย อันเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง แม้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดังกล่าว แต่ผู้ร้องสอดไม่มีหน้าที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ตามคำฟ้องของโจทก์เพราะผู้ร้องสอดไม่มีอำนาจจัดการใด ๆ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) จึงร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7284/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะโดยปริยายจากการเปิดทางจำเป็นและการยินยอมใช้ร่วม
โจทก์ถูก ก.กับพวกฟ้องให้เปิดทางจำเป็นเพราะที่ดินของ ก.กับพวกตกอยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่นจนออกสู่ถนนสาธารณะไม่ได้ นับแต่ศาลพิพากษาให้โจทก์เปิดทางจำเป็นแล้ว ปรากฏว่าบุคคลทั่วไปได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกซอยพหลโยธิน 28 ไปสู่ถนนพหลโยธินร่วมกัน โดยโจทก์มิได้หวงห้ามมานานนับ 10 ปีแล้วถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่พิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้ว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2240/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเปิดทางจำเป็น: ที่ดินมีทางออกแม้ไม่สะดวก ไม่ถือเป็นที่ดินตกอยู่ในที่ล้อม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสอง บัญญัติยกเว้นทางออกที่ไม่ต้องห้ามในการขอเปิดทางจำเป็นไว้เฉพาะทางออกที่ต้องข้าม สระ บึง ทะเล หรือที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากเท่านั้น ดังนั้นหากที่ดินโจทก์มีทางออกที่มีโคลนเลนในเวลาฝนตก แต่ออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินโจทก์ก็มิใช่ที่ดินซึ่งตกอยู่ในที่ล้อมอันจะอ้างความจำเป็นเพื่อผ่านที่ดินของผู้อื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5332/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดทางจำเป็น: ข้อจำกัดการฎีกาประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นในศาลล่าง
ที่จำเลยฎีกาอ้างว่า ที่ดินของโจทก์เดิมเป็นที่ดินของบิดามารดาโจทก์ ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็นที่ดินของโจทก์แปลงหนึ่ง เป็นของ น. แปลงหนึ่ง และเป็นของ ธ. อีกแปลงหนึ่ง โจทก์ชอบที่จะเปิดทางพิพาทผ่านที่ดินที่เคยรวมเป็นแปลงเดียวกันมาก่อนนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลย อันเป็นการอ้างบทกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์มีทางออกอื่นเพื่อไปสู่ทางสาธารณะ การฟ้องคดีโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โดยจำเลยมิได้อ้างว่าที่ดินของโจทก์แบ่งแยกจากที่ดินแปลงอื่นอันทำให้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอันจะก่อให้เกิดประเด็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 ฎีกาของจำเลยข้อนี้ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง