คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เป็นธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง และการทำบัญชีรับ-จ่ายใหม่เพื่อให้เป็นธรรม
โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นที่ดินสองแปลงจากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนและศาลชั้นต้นอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยที่ 3 จะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดที่ดิน โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใดเพราะโจทก์ไม่ต้องวางเงินชำระค่าซื้อที่ดินและเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดให้โจทก์อีก ดังนั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทนก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในวันที่ศาลสั่งอนุญาต จึงคิดดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายรับ-จ่ายก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคนได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 318ถึง 322 นั้นเป็นเพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่มิใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตลอดไปจนกว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณโดยถือว่าเงินจำนวนที่หักได้ใช้แทนนั้น ยังมิได้ชำระให้โจทก์จนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 3 โดยคำนวณดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวมาถึงวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา เป็นการไม่ถูกต้อง กรณีจึงยังไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 3 รวม 13 แปลง ชำระหนี้โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่เพียงใด ดังนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายรับ จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินรวม 13 แปลง พอชำระหนี้โจทก์แล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยที่ 3 ตามสิทธิของแต่ละฝ่ายและเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อีก 6 แปลงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6574/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกร่วมเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม
ในการที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายนั้น เพราะผู้ตายมีมรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท มีเหตุขัดแย้งในการแบ่งปันมรดก และผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย หากการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก และตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ก็ได้ หรือหากศาลไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมจะตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้
ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ต่อมายื่นคำร้องขอให้ตั้ง ฮ.เป็นผู้จัดพการมรดกร่วมกับผู้ร้องโดยผู้คัดค้านจะไม่ได้ขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในทางพิจารณาว่าการจัดการมรดกอาจเกิดความไม่เป็นธรรมได้เพราะผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายอยู่เดิม อ้างว่าผู้ตายไม่มีมรดก และผู้คัดค้านไม่มีสิทธิรับมรดก จึงเป็นการสมควรที่ศาลจะตั้ง ช.เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้ เพื่อให้การจัดการมรดกได้เป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม และการที่ศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องต่อมานั้น เป็นการพิจารณาว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียหรือไม่ ช.มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมหรือไม่ ดังนี้ เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านมิใช่คู่ความรายเดียวกัน ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นคนละประเด็นกันจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้เป็นธรรม และดอกเบี้ยเงินค่าทดแทน
พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบ-ศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตดุสิต เขตบางเขน เขตพญาไท และเขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530 หมดอายุวันที่ 16 มิถุนายน 2535 ส่วน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ...พ.ศ. 2535 ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2535 มีระยะห่างกันเพียง 2 เดือน และกำหนดเขตที่จะทำการสำรวจเพื่อเวนคืนและท้องที่ที่จะเวนคืนเป็นเขตและท้องที่เดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ.2530 สิ้นอายุแล้วที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีสภาพเปลี่ยนแปลงอย่างไร และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ดำเนินการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน เมื่อจำเลยที่ 1 เคยสำรวจที่ดินโจทก์และทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนแน่นอนแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จำเลยที่ 1 ต้องดำเนินการสำรวจหรือกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินโจทก์ดังกล่าวขึ้นใหม่
ขณะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขาย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนกับโจทก์ได้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง สัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนี้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืน จึงต้องบังคับตามว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) ประกอบกัน ที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนอยู่ในย่านที่เจริญแล้ว แม้การเวนคืนที่ดินจะมีเหตุและวัตถุประสงค์เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างทางพิเศษระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่ง อันเป็นกิจการสาธารณูปโภคของรัฐก็ตามแต่รัฐก็เก็บเงินค่าตอบแทนจากการใช้บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการดำเนินธุรกิจอยู่ด้วย เมื่อศาลฎีกาคำนึงถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบกันแล้ว เห็นว่าที่จำเลยทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนยังไม่เป็นธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนดังกล่าวเพิ่มขึ้นได้
เมื่อฝ่ายจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามที่โจทก์ขอ
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 10 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535จำเลยทั้งสองต้องชำระค่าทดแทนที่ดินให้หมดภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ดังนั้น วันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตาม มาตรา26 วรรคสาม คือ วันที่ 15 เมษายน 2536

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่เป็นธรรม แม้การบอกกล่าวไม่ถูกต้อง การจ่ายเงินชดเชยถือเป็นการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ มิใช่อยู่ที่วิธีการบอกกล่าวเลิกจ้าง ถ้านายจ้างเลิกจ้างโดยมีเหตุเพียงพอแล้ว แม้วิธีการบอกกล่าวเลิกจ้างจะมิชอบ ก็หาทำให้กลายเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิได้บอกกล่าวล่วงหน้า แต่ได้จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้อีก 1 เดือน เงินจำนวนนี้ เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างและโจทก์ไม่ได้ทำงาน กับจำเลยแล้วจึงไม่ใช่ค่าจ้าง ถือได้ว่าการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นการ จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง 13 วัน แต่โจทก์มีคำขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 1 เดือน และโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่เป็นธรรม แม้การบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ถูกต้อง หากมีการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวแล้ว
การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ มิใช่อยู่ที่วิธีการบอกกล่าวเลิกจ้าง ถ้านายจ้างเลิกจ้างโดยมีเหตุเพียงพอแล้ว แม้วิธีการบอกกล่าวเลิกจ้างจะมิชอบ ก็หาทำให้กลายเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิได้บอกกล่าวล่วงหน้า แต่ได้จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้อีก 1 เดือน เงินจำนวนนี้ เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างและโจทก์ไม่ได้ทำงาน กับจำเลยแล้วจึงไม่ใช่ค่าจ้าง ถือได้ว่าการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นการ จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง 13 วัน แต่โจทก์มีคำขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 1 เดือน และโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: การเลิกจ้างที่เป็นธรรม แม้เปลี่ยนฐานข้อหาเป็นละเมิด ศาลวินิจฉัยเป็นฟ้องซ้ำได้
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 35 โจทก์อาจยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ หรือแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อหน้าศาลก็ได้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยด้วยวาจาต่อศาลแรงงานกลางโดยอ้างสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายและเงินอื่น ๆกับให้ยกเลิกคำสั่งของจำเลยที่เลิกจ้างโจทก์ ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรม คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยอีกโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ และมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินประเภทต่าง ๆ กับขอให้เพิกถอนคำสั่งฉบับเดียวกัน และสั่งให้โจทก์เข้าทำงานตามเดิม หรือให้ชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งแม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นการละเมิด ก็เป็นเรื่องที่เกิดจากการเลิกจ้างของจำเลยอันเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391-394/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่เป็นธรรมและการหักเงินบำเหน็จด้วยค่าชดเชยตามระเบียบบริษัท
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะประสพการขาดทุนจำนวนมากติดต่อกันแม้ไม่ได้ประกาศให้ทราบล่วงหน้าก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จฯยอดเงินที่พนักงานจะได้รับคือยอดเงินที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ลบด้วยเงินทุกชนิดที่จำเลยต้องจ่ายให้พนักงานตามกฎหมายก่อนเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องถูกลบด้วยค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายตามกฎหมายเมื่อค่าชดเชยมีจำนวนสูงกว่าเงินบำเหน็จโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391-394/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากขาดทุนและการหักเงินบำเหน็จด้วยค่าชดเชย ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะประสพการขาดทุนจำนวนมากติดต่อกันแม้ไม่ได้ประกาศให้ทราบล่วงหน้าก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว. ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จฯยอดเงินที่พนักงานจะได้รับคือยอดเงินที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ลบด้วยเงินทุกชนิดที่จำเลยต้องจ่ายให้พนักงานตามกฎหมายก่อนเงินบำเหน็จของโจทก์จึงต้องถูกลบด้วยค่าชดเชยซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายตามกฎหมายเมื่อค่าชดเชยมีจำนวนสูงกว่าเงินบำเหน็จโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีก.(ที่มา-ส่งเสิรมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเพิ่มเติม: หลักฐานการคำนวณรายรับที่สมเหตุสมผลและเป็นธรรมตามข้อเท็จจริง
บริษัทโจทก์เริ่มดำเนินกิจการโรงแรม ส. มาตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2511 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2514 แล้วให้บริษัท ร. เช่าดำเนินกิจการโรงแรมต่อมา ปรากฏว่าบริษัทยื่นรายการ เสียภาษีการค้าไว้ไม่ตรงกับความเป็นจริง และในเดือนพฤษภาคม 2514 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่บริษัทโจทก์ดำเนินกิจการโรงแรม ส. ได้ยื่นรายการเสียภาษีไว้ 20,295 บาท แต่ในเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2515 รวม 6 เดือน บริษัท ร. ดำเนินกิจการโรงแรม ดังกล่าวมีรายรับเดือนละ60,945 บาท ถึง 73,320 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาห่างกันเพียง 7 เดือน แต่มีรายรับเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวดังนี้ จึงเห็นได้ว่ามีเหตุที่พนักงานประเมินภาษีของกรมสรรพากรจำเลยจะใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87ประเมินภาษีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเอาแก่บริษัทโจทก์ และใช้อำนาจตามมาตรา 87ทวิ(7) กำหนดรายรับของบริษัทโจทก์เสียใหม่ได้
การที่พนักงานประเมินภาษีของกรมสรรพากรจำเลยใช้หลักเกณฑ์คำนวณว่าบริษัทโจทก์ยื่นรายการเสียภาษีการค้าขาดไปร้อยละเท่าไร จากการเทียบเคียงกับรายได้ของบริษัท ร. ซึ่ง เป็น สถานที่เดียวกัน จำนวนห้องเท่ากัน เจ้าหน้าที่และคนงานจำนวนเท่ากันโดยวิธีส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและคุม ยอดรายรับประจำวันของบริษัท ร. ในต้นเดือนครั้งหนึ่งกลางเดือนครั้งหนึ่ง และปลายเดือนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคำนวณ ถัวเฉลี่ยหารายรับประจำเดือนแล้วเอารายรับถัวเฉลี่ยจำนวนนี้มา เป็นเกณฑ์กำหนดรายรับของบริษัทโจทก์ เพื่อเรียกเก็บภาษีย้อนหลังไปอันเป็นการคำนวณรายรับตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กองตรวจภาษีอากรได้วางไว้ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ(7) โดยถูกต้อง และให้ความเป็นธรรมแก่บริษัทโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 297/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประมูลและการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ข้อตกลงยื่นประมูลสูงกว่ามิใช่การลวงล่อ
สัญญาให้ค่าตอบแทนโดยมีข้อตกลงให้โจทก์ยื่นประมูลสูงกว่าจำเลยเพื่อที่จำเลยจะได้รับประมูลนั้น.เป็นแต่เพียงล่อให้ผู้ให้ประมูลเห็นว่าจำเลยเป็นผู้ให้ราคาต่ำที่สุดเท่านั้น เป็นนโยบายของการประมูล ไม่ใช่ล่อลวงให้หลงเชื่อผู้ให้ประมูลย่อมต้องใช้วิจารณญาณของตนประกอบด้วยและมีสิทธิที่จะให้หรือไม่ให้ผู้ประมูลขั้นต่ำสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีเป็นเพียงพาณิชโยบาย ใช้บังคับกันได้
of 2