คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เผยแพร่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์แจ้งความและขอบเขตความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ การทำซ้ำ vs. การเผยแพร่
เจตนารมณ์ของกฎหมายในการร้องทุกข์ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทราบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและประสงค์จะให้มีการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ร. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และต่อมาได้นำเจ้าพนักงานตำรวจค้นร้านที่เกิดเหตุและจับจำเลยส่งพนักงานสอบสวน จากนั้น ร. จึงได้ร้องทุกข์อีกครั้ง โดยการร้องทุกข์ครั้งหลังมีข้อความระบุถึงตัวผู้กระทำผิดและลักษณะของความผิดชัดเจนถือได้ว่าคดีนี้มีการร้องทุกข์โดยชอบและทำให้การสอบสวนในเวลาต่อมาชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุของผู้เสียหายโดยนำเอางานซึ่งมีลิขสิทธิ์ตามฟ้องไปบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูล แล้วแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาภาพและเสียง แพร่ภาพ เนื้อร้อง และทำนองทางจอมอนิเตอร์ และแพร่เสียงทางลำโพงสำหรับลูกค้า ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 28, 29 และ 69 แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทำซ้ำซึ่งงานดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ หรือสิ่งบันทึกเสียง ซึ่งไม่ใช่เรื่องการกระทำผิดเกี่ยวกับการแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณชน เพราะงานที่ถูกบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูลนั้นเป็นงานที่ถูกทำซ้ำขึ้นใหม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การเผยแพร่งานที่บรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต่อสาธารณชนจึงไม่ใช่ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2), 28 (2) และไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะขอให้ลงโทษจำเลยในเรื่องการเผยแพร่งานซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชน อันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (3) ด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายตรานี้ไว้ในคำฟ้องแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่ต่อสาธารณชนงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ละเมิดลิขสิทธิ์: การใช้โปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ใช่การเผยแพร่
การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และนำออกให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปนั้น มิใช่การกระทำให้ปรากฏซึ่งสิ่งที่เป็นงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อสาธารณชนโดยการแสดง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดตามความหมายของคำว่า "เผยแพร่ต่อสาธารณชน" ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปเพื่อค้าหากำไร เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไปจึงมิใช่การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้าอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ตามฟ้อง ดังนี้ แม้โจทก์จะมีพยานหลักฐานมานำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้ความตามฟ้องของโจทก์ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: นับจากวันโฆษณาเผยแพร่ต่อสาธารณชน
หลังจากศาลตั้งผู้ทำแผนแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่าสองฉบับเพื่อเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยเช่นกัน ฉะนั้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำรับขอชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง ต้องถือเอาวันที่ได้มีการโฆษณาคำสั่งต่อสาธารณชนเป็นสำคัญหากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษากับวันโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกันต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง
คำสั่งโฆษณาตั้งผู้ทำแผนคดีนี้ต้องถือเอาวันที่ได้ลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลังซึ่งได้นำเผยแพร่ต่อสาธารณชนครั้งแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 ไม่ใช่วันที่ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันหรือวันที่ได้ลงในราชกิจจานุเบกษาที่ยังไม่ได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะได้ส่งแบบฟอร์มยื่นคำขอรับชำระหนี้พร้อมประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในหนึ่งเดือนให้เจ้าหนี้ทราบเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545 ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/24 วรรคสอง ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลาย เป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวกับกำหนดวันที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 13 มิถุนายน 2545 ยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิบัตร: การพิสูจน์ความสมบูรณ์, อายุความ, และการเผยแพร่ก่อนขอรับสิทธิบัตร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าของโจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าสิทธิบัตรโจทก์ไม่สมบูรณ์และฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว ภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบในประเด็นว่า สิทธิบัตรโจทก์สมบูรณ์หรือไม่ย่อมตกแก่จำเลยทั้งสี่ แต่เมื่อโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนหลายประเด็นประกอบกับโจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างนำพยานหลักฐานเข้าสืบด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์เพราะเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์นั้น เป็นการฟ้องตามมาตรา 64 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ไม่ใช่การฟ้องเนื่องจากมูลละเมิด เมื่ออายุความเกี่ยวกับอำนาจฟ้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ลงโฆษณาเผยแพร่และผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ามาก่อนเป็นเวลาหลายปี แล้วต่อมาจึงนำผลิตภัณฑ์ของโจทก์ดังกล่าวไปขอรับสิทธิบัตรรูปแบบผลิตภัณฑ์ ถือไม่ได้ว่าแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าดังกล่าวเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำไปยื่นรับคำขอสิทธิบัตรได้ตามพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 56 และ 57 สิทธิบัตรโจทก์จึงไม่สมบูรณ์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับโจทก์ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์จากการเผยแพร่ก่อนขอรับสิทธิบัตร และอายุความฟ้องแย้งตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าของโจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าสิทธิบัตรโจทก์ไม่สมบูรณ์และฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว ภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบในประเด็นว่า สิทธิบัตรโจทก์สมบูรณ์หรือไม่ย่อมตกแก่จำเลยทั้งสี่ แต่เมื่อโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนหลายประเด็นประกอบกับโจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างนำพยานหลักฐานเข้าสืบด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่ การที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์เพราะเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์นั้น เป็นการฟ้องตามมาตรา 64 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522ไม่ใช่การฟ้องเนื่องจากมูลละเมิด เมื่ออายุความเกี่ยวกับอำนาจฟ้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ลงโฆษณาเผยแพร่และผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ามาก่อนเป็นเวลาหลายปีแล้วต่อมาจึงนำผลิตภัณฑ์ของโจทก์ดังกล่าวไปขอรับสิทธิบัตรรูปแบบผลิตภัณฑ์ ถือไม่ได้ว่าแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าดังกล่าวเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำไปยื่นรับคำขอสิทธิบัตรได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56และ 57 สิทธิบัตรโจทก์จึงไม่สมบูรณ์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าเช่นเดียวกับโจทก์ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: นับจากวันเผยแพร่จริง ไม่ใช่วันลงในราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 28 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ และที่มาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91 ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่า "วันโฆษณา"ตามมาตรา 91 นั้น หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันก่อนแล้วจึงลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา การนับวันโฆษณาจึงต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา แต่ราชกิจจานุเบกษาพิมพ์เสร็จและนำออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2532 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน อันเป็นวันโฆษณา คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามความหมายในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 หาใช่วันที่ในราชกิจจานุเบกษาอันเป็นการลงล่วงหน้าไม่ เพราะวันดังกล่าวยังไม่มีการพิมพ์โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดชื่อเสียงจากข้อความเท็จ: การเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จทำให้เสียชื่อเสียงและเกียรติยศ ถือเป็นการละเมิดที่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงของโจทก์ทั้งด้านการเมืองและด้านการประกอบอาชีพ โดยขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นรองหัวหน้าพรรคประชากรไทยและประกอบอาชีพเป็นแพทย์ การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ โจทก์ขอคิดค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 500,000 บาท เป็นการบรรยายฟ้องโดยแสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่า การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงของโจทก์ ทั้งในด้านการเมืองและการประกอบอาชีพแพทย์ ส่วนจำนวนค่าเสียหายของโจทก์ แม้จะขอรวมกันมาโดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่า ค่าเสียหายต่อชื่อเสียงในด้านการเมืองเป็นจำนวนเท่าใด ด้านประกอบอาชีพแพทย์เป็นจำนวนเท่าใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์โดยพาดหัวว่า บ.มินิแบร์โวยบุญเทียมทำแสบ ดอง เรื่องเที่ยวบินขนผลิตภัณฑ์ และมีข้อความต่อไปว่า บุญเทียม เขมาภิรัตน์ ถูกโวย อีกแล้ว บริษัทมินิแบร์ผู้ผลิตตลับลูกปืนร้องเรียนกระทรวงอุตสาหกรรมถูกบุญเทียมเตะถ่วงอนุมัติเที่ยวบินพิเศษขนผลิตภัณฑ์ส่งขายนอกการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้ไม่มั่นใจในการลงทุนในไทย เผยผจญปัญหามาปีเศษแล้ว และมีข้อความต่อไปว่า การขออนุมัติเที่ยวบินพิเศษนี้ กรมการบินพาณิชย์จะเสนอต่อนายแพทย์บุญเทียม เขมาภิรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ติดขัดที่ นายแพทย์บุญเทียมกว่าจะลงนามเห็นชอบก็จวนถึงเวลาที่มินิแบร์ได้เตรียมการบินไว้แล้ว ซึ่งโจทก์กล่าวในฟ้องว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จำเลยให้การยอมรับว่าได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ข้อความดังกล่าวไม่เป็นหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ การเสนอข่าวของจำเลยเป็นการชอบธรรมอันอยู่ในวิสัยซึ่งบุคคลในฐานะเช่นจำเลยกระทำได้ไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์เป็นความจริงเท่ากับยอมรับว่าไม่เป็นความจริง จำเลยพิมพ์โฆษณาข้อความซึ่งไม่เป็นความจริง ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโจทก์เก็บเรื่องการขออนุมัติเที่ยวบินพิเศษเพื่อขนผลิตภัณฑ์ของบริษัทมินิแบร์ จำกัด และถ่วงเวลาไว้ ไม่รีบอนุมัติเที่ยวบินโดยเร็ว เป็นการกลั่นแกล้งบริษัทมินิแบร์ จำกัด ให้ได้รับความเสียหาย มิใช่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันอยู่ในวิสัยของบุคคลในฐานะเยี่ยงจำเลยพึงกระทำ จึงเป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 423 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4008/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์ ผู้พิมพ์/โฆษณาต้องรับผิดชอบต่อข้อความที่เผยแพร่ แม้มิได้เป็นผู้เขียน
การที่หนังสือพิมพ์เสนอข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ว่า .....โจทก์ประพฤติปฏิบัติตนอย่างคนไร้ศีลธรรม ......โจทก์มีส่วนพัวพันเป็นผู้จ้างวานฆ่าผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มีนิสัยชอบใช้อำนาจบาตรใหญ่ ......ฯลฯ.....นั้น หาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ เมื่อข้อความนั้นไม่เป็นความจริง ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 และการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แม้ผู้กล่าวหรือไขข่าวมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริงแต่หากควรรู้ได้ก็ต้องรับผิด
แม้มูลกรณีเดียวกันนี้ศาลในคดีส่วนอาญาจะได้พิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์แล้วก็ตาม การที่ศาลในคดีส่วนแพ่งยังพิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์อีกด้วยนั้น ก็เป็นทางแก้เพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 447 หาใช่เป็นการลงโทษจำเลยสองครั้งในความผิดเดียวกันไม่แต่เมื่อจำเลยได้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์แล้ว ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะแก้ไขให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดี จึงไม่จำเป็นที่จะต้องโฆษณาต่อไปอีก
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา แม้จะมิใช่เจ้าของหนังสือพิมพ์และมิได้เป็นผู้เขียนหรือมีส่วนรู้เห็นในการเขียนข้อความอันเป็นละเมิดก็ตาม จำเลยก็ต้องรับผิดชอบในข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ตนคัดเลือกนำลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งหมดเพราะตนเป็นผู้จัดการไขข่าวให้แพร่หลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่ข้อความดูหมิ่นผู้อื่นผ่านหนังสือพิมพ์เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
ฟ้องว่า จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์ช่องสังคมอยุธยา โดยทิดแก้ว ว่า "วันก่อนเกินผ่านตลาดหัวรอได้ยินเสียเจ๊แต๋ว มาดามของคุณประสิทธิ์ มานะประเสริฐศักดิ์ บก. แหลมทอง ตะโกนลั่นกลางตลาดว่า ถ้าคนที่ชื่อสุชาติ บุญเกษม เดินผ่านหน้าร้านเมื่อไร จะถอดรองเท้าตบหน้าสักที เสียเท่าไหร่ก็ยอม จริงหรือเปล่าจ๊ะเจ๊ "ทิดแก้ว" กลัวจะไม่จริงดังปากว่าเท่านั้นแหละ แฮะ ๆ" ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328 ข้อความดังนี้เป็นข้อความดูหมิ่น เพราะทำให้ผู้เสียหายบังเกิดความอับอาย เป็นการดูหมิ่นด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 เป็นการอ้างบทมาตราที่ผิด ศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 393 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์ จำเลยต้องรับผิดเฉพาะการกล่าวต่อบุคคลอื่น ไม่ใช่การทำให้ผู้อื่นนำไปเผยแพร่
จำเลยกล่าวข้อความหมิ่นประมาทผู้อื่นต่อบรรณาธิการหนังสือพิมพ์แล้วบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นำข้อความนั้นไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ และนำออกโฆษณาโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ ใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใดต่อบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ให้พิมพ์ข้อความนั้นแต่ประการใด ดังนี้ จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 326 เท่านั้น หาผิดตามมาตรา 328 ด้วยไม่
of 3