พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำสั่งห้ามเผยแพร่เอกสาร/นัดชุมนุมในสถานประกอบการ และระยะเวลาการฟ้องร้องฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน
นายจ้างออกคำสั่งห้ามลูกจ้างชุมนุมและเผยแพร่เอกสารในบริเวณที่ทำการของนายจ้างโดยมิได้รับอนุญาตจากนายจ้างก่อน เมื่อปรากฏจากคำปรารภของคำสั่งนั้นว่าการเผยแพร่เอกสารหรือการนัดชุมนุมของพนักงานลูกจ้างได้เคยกระทำมาก่อนแล้ว ซึ่งเอกสารที่เผยแพร่หรือการนัดชุมนุมที่เคยมีบางครั้งทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่พนักงานและก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบริเวณที่ทำการของนายจ้าง ดังนี้เห็นได้ว่า นายจ้างประสงค์จะห้ามมิให้ลูกจ้างกระทำการดังกล่าวอีกต่อไป หากกระทำจะถือเป็นความผิดทุกครั้ง จึงเป็นคำสั่งที่มีผลต่อเนื่องตลอดเวลา ตราบใดที่นายจ้างยังห้ามอยู่ สหภาพแรงงาน ฯ ของลูกจ้างย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องกล่าวหาว่านายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ได้อยู่ตราบนั้น การนับเวลาหกสิบวันตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124 จะเริ่มนับแต่วันที่ออกคำสั่งเป็นวันเริ่มต้นเพียงวันเดียวเป็นยุติไม่ได้
สหภาพแรงงานก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน การเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวย่อมเป็นสิทธิขั้นมูลฐาน แต่การที่สหภาพแรงงานจะกระทำกิจกรรมสองประการนั้นในสถานที่ประกอบกิจการหรือบริเวณสถานประกอบกิจการของนายจ้างควรจะมีข้อกำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าควรเผยแพร่ในเรื่องใด ลักษณะใด เมื่อไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ การที่นายจ้างผู้เป็นเจ้าของอาคารสถานที่ประกอบกิจการออกคำสั่งให้ส่งข้อความในเอกสารหรือแจ้งเรื่องลักษณะให้นายจ้างพิจารณาอนุญาตก่อนจึงเป็นวิธีการที่ดี เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงาน ฯ โจทก์กับนายจ้างให้ดียิ่งขึ้น คำสั่งของนายจ้างจึงเป็นคำสั่งที่ชอบ ไม่เป็นการขัดขวางการดำเนินการของโจทก์ ไม่เป็นการเข้าไปแทรกในกิจการของโจทก์ เพราะถ้าโจทก์กระทำในที่อื่นนอกสถานที่บริเวณของนายจ้างย่อมทำได้ การออกคำสั่งของนายจ้างจึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความหมายในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(4) (5) ไม่
สหภาพแรงงานก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน การเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวย่อมเป็นสิทธิขั้นมูลฐาน แต่การที่สหภาพแรงงานจะกระทำกิจกรรมสองประการนั้นในสถานที่ประกอบกิจการหรือบริเวณสถานประกอบกิจการของนายจ้างควรจะมีข้อกำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าควรเผยแพร่ในเรื่องใด ลักษณะใด เมื่อไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ การที่นายจ้างผู้เป็นเจ้าของอาคารสถานที่ประกอบกิจการออกคำสั่งให้ส่งข้อความในเอกสารหรือแจ้งเรื่องลักษณะให้นายจ้างพิจารณาอนุญาตก่อนจึงเป็นวิธีการที่ดี เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงาน ฯ โจทก์กับนายจ้างให้ดียิ่งขึ้น คำสั่งของนายจ้างจึงเป็นคำสั่งที่ชอบ ไม่เป็นการขัดขวางการดำเนินการของโจทก์ ไม่เป็นการเข้าไปแทรกในกิจการของโจทก์ เพราะถ้าโจทก์กระทำในที่อื่นนอกสถานที่บริเวณของนายจ้างย่อมทำได้ การออกคำสั่งของนายจ้างจึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความหมายในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(4) (5) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมของสหภาพแรงงานในสถานประกอบการ นายจ้างมีสิทธิควบคุมดูแลได้หากไม่มีข้อตกลง
การเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมของสหภาพแรงงานในสถานประกอบกิจการของนายจ้างนั้นหากไม่มีข้อกำหนดในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ก็ควรมีการควบคุมบ้างพอสมควรเกี่ยวกับเรื่องลักษณะการใช้ถ้อยคำและสถานที่เพราะสถานประกอบกิจการเป็นของนายจ้างซึ่งมีสิทธิขาดบริบูรณ์ในสถานที่นั้นการที่นายจ้างออกคำสั่งห้ามมิให้สหภาพแรงงานเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมภายในสถานที่ของตนโดยกำหนดให้สหภาพแรงงานส่งข้อความในเอกสารหรือแจ้งเรื่องลักษณะที่จะดำเนินงานให้นายจ้างพิจารณาอนุญาตก่อนจึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่และไม่เป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานตามความหมายของพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา121(4)(5) ตราบใดที่คำสั่งห้ามของนายจ้างดังกล่าวยังมีผลอยู่ตลอดเวลาถือว่าการฝ่าฝืนย่อมมีตลอดมาทุกวันโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องกล่าวหานายจ้างผู้ฝ่าฝืนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้อยู่ตราบนั้นการนับเวลา60วันตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา124จึงจะเริ่มนับแต่วันที่มีคำสั่งเป็นวันเริ่มต้นเพียงวันเดียวหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามเผยแพร่เอกสาร-ชุมนุมในที่ทำงาน: ศาลฎีกาตัดสินชอบด้วยกฎหมายหากมีเจตนาเสริมสร้างความสัมพันธ์และควบคุมความเรียบร้อย
นายจ้างออกคำสั่งห้ามลูกจ้างชุมนุมและเผยแพร่เอกสารในบริเวณที่ทำการของนายจ้างโดยมิได้รับอนุญาตจากนายจ้างก่อนเมื่อปรากฏจากคำปรารภของคำสั่งนั้นว่าการเผยแพร่เอกสารหรือการนัดชุมนุมของพนักงานลูกจ้างได้เคยกระทำมาก่อนแล้วซึ่งเอกสารที่เผยแพร่หรือการนัดชุมนุมที่เคยมีบางครั้งทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่พนักงานและก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบริเวณที่ทำการของนายจ้างดังนี้เห็นได้ว่านายจ้างประสงค์จะห้ามมิให้ลูกจ้างกระทำการดังกล่าวอีกต่อไปหากกระทำจะถือเป็นความผิดทุกครั้งจึงเป็นคำสั่งที่มีผลต่อเนื่องตลอดเวลาตราบใดที่นายจ้างยังห้ามอยู่สหภาพแรงงานฯของลูกจ้างย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องกล่าวหาว่านายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้อยู่ตราบนั้นการนับเวลาหกสิบวันตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา124จะเริ่มนับแต่วันที่ออกคำสั่งเป็นวันเริ่มต้นเพียงวันเดียวเป็นยุติไม่ได้. สหภาพแรงงานก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกันการเผยแพร่เอกสารและนัดชุมนุมเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวย่อมเป็นสิทธิขั้นมูลฐานแต่การที่สหภาพแรงงานจะกระทำกิจกรรมสองประการนั้นในสถานที่ประกอบกิจการหรือบริเวณสถานประกอบกิจการของนายจ้างควรจะมีข้อกำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าควรเผยแพร่ในเรื่องใดลักษณะใดเมื่อไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้การที่นายจ้างผู้เป็นเจ้าของอาคารสถานที่ประกอบกิจการออกคำสั่งให้ส่งข้อความในเอกสารหรือแจ้งเรื่องลักษณะให้นายจ้างพิจารณาอนุญาตก่อนจึงเป็นวิธีการที่ดีเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงานฯโจทก์กับนายจ้างให้ดียิ่งขึ้นคำสั่งของนายจ้างจึงเป็นคำสั่งที่ชอบไม่เป็นการขัดขวางการดำเนินการของโจทก์ไม่เป็นการเข้าไปแทรกในกิจการของโจทก์เพราะถ้าโจทก์กระทำในที่อื่นนอกสถานที่บริเวณของนายจ้างย่อมทำได้การออกคำสั่งของนายจ้างจึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความหมายในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา121(4)(5)ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารสำเนาที่เจ้าพนักงานรับรองโดยไม่ได้รับอนุญาต และการเผยแพร่เอกสารดังกล่าวเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยถ่ายภาพจากเอกสารที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ ภาพถ่ายเอกสารที่จำเลยถ่ายมานั้น เจ้าพนักงานไม่ได้รับรองด้วยจึงไม่ใช่เอกสารราชการ แต่เป็นเพียงเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(7) การที่จำเลยกรอกข้อความรายการต้องหาคดีต่าง ๆ เพิ่มเติมลงไปในภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าพนักงานผู้รับรองความถูกต้องของเอกสารนั้น แล้วนำเอกสารดังกล่าวไปแจกจ่ายแก่บุคคลอื่น แม้ข้อความที่กรอกเพิ่มเติมในเอกสารจะเป็นความจริง ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคสอง และ 268 แต่ไม่เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมตาม มาตรา 265, 268