พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถนิติกรรมซื้อขายที่ดินจากกลฉ้อฉล เกิน 10 ปี ฟ้องขาดอายุความ
โจทก์เป็นบุตรและเป็นผู้จัดการมรดกของมารดาอ้างมูลเหตุในฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงมารดาโจทก์ว่า เมื่อจำเลยสร้างเขื่อนชลประทานและเขื่อนเก็บน้ำแล้วน้ำจะท่วมที่ดินของมารดาโจทก์ ให้มารดาโจทก์ขายที่ดินให้จำเลย มารดาโจทก์หลงเชื่อจึงขายที่ดินให้ ซึ่งความจริงเมื่อสร้างเขื่อนเสร็จแล้วน้ำไม่ท่วมที่ดิน จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินดังกล่าว ข้ออ้างของโจทก์เท่ากับเป็นการอ้างว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลย ซึ่งจะมีผลทำให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 121 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกิน 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมแล้วจึงไม่อาจฟ้องให้เพิกถอนการโอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18368/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถนิติกรรมซื้อขายที่ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แม้มีการฟ้องคดีปล่อยทรัพย์พิพาทมาก่อน
แม้ชั้นบังคับคดีในคดีก่อน จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทที่ยึด โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่าผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) ไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง โดยอ้างเหตุแห่งการนั้นเช่นเดียวกับคำฟ้องคดีนี้ก็ตาม ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนวินิจฉัยในสาระสำคัญว่า ผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) ฟ้องจำเลยที่ 3 (จำเลยที่ 1 คดีนี้) ต่อศาลแขวงนครราชสีมาและศาลมีคำพิพากษาให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) แล้ว ถือว่าผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) เป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน การทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้อง (จำเลยที่ 4 คดีนี้) กับจำเลยที่ 3 (จำเลยที่ 1 คดีนี้) จะทำให้โจทก์เสียหายหรือไม่เพียงใดไม่มีประเด็นพิจารณาในคดีก่อน ดังนี้ คดีก่อนศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะและการกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการสมคบกันทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสี่คดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีในประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกันอันจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144