คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอนการจำนอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3845/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: เจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ และสิทธิในการร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้คัดค้าน
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่มีผู้ขอรับชำระหนี้ต่อศาล แม้จะมีความเห็นควรให้ได้รับชำระหนี้ แต่ความเห็นของผู้คัดค้านนั้นไม่มีผลบังคับ เพราะศาลอาจพิจารณาวินิจฉัยและมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้น จึงย่อมไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้าน ต่อเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้อย่างไรแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
ข้อฎีกาของผู้ร้องที่ว่า ตามคำสั่งของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยให้ธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อเป็นกรณีเดียวกับที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้แก้ไขความเห็นของผู้คัดค้านโดยให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. แต่เมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านว่าก่อนที่ผู้ร้องฟ้องให้จำเลยล้มละลายเพียง 21 วัน ซึ่งอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจดทะเบียนจำนองที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมให้ไว้แก่ธนาคาร ก. ตามพฤติการณ์เป็นการทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ขอให้ผู้คัดค้านพิจารณายกคำร้องขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. ซึ่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้มีคำวินิจฉัยว่า ในปัญหาเรื่องการเพิกถอนการจำนองนั้น เนื่องจากธนาคาร ก.ผู้รับจำนอง ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินและให้สินเชื่อแก่บุคคลทั่วไป การที่ลูกหนี้ (จำเลย)กู้เงินประจำเพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคาร ก.โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันซึ่งเป็นเรื่องปกติทางการค้าของธนาคาร จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนการโอนตามมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้ว ผู้คัดค้านวินิจฉัยให้ธนาคาร ก.ได้รับชำระหนี้ .. ย่อมแสดงว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าว ผู้คัดค้านเห็นไม่สมควรเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าวและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 และมีคำขอให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองตามสัญญจำนองที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.และให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องต่อไป จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินรายนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านแล้ว ผู้ร้องทั้งสองชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามมาตรา 146แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้
การเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115เพียงแต่ลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสุจริตของเจ้าหนี้ผู้ถูกเพิกถอน
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2537 ธนาคาร ก.ได้ให้จำเลยกู้เงินโดยจำเลยจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 67669 และ 67670 ไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ของตนเองให้แก่ธนาคาร ก. แต่จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายในวันที่ 6 ตุลาคม2537 ธนาคาร ก.จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในขณะมีการจดทะเบียนจำนอง ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 115 การที่จำเลยนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไปทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้กับธนาคาร ก.ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ย่อมจะทำให้ธนาคาร ก.เจ้าหนี้รายนี้แต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นการแสดงถึงเจตนาของจำเลยว่ามุ่งหมายให้ธนาคาร ก.ผู้รับจำนองได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ๆ
ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน ขอให้เพิกถอนการจำนองโดยผลของกฎหมายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 การที่ผู้คัดค้านนำสืบหักล้างเพียงว่าธนาคาร ก.และจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้มาก่อน จึงไม่ขอเพิกถอนการจำนองให้ตามที่ผู้ร้องร้องขอนั้น เมื่อจำเลยกับธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้และต้องด้วยเงื่อนไขที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้ และผู้คัดค้านมีคำสั่งไม่ดำเนินการเพิกถอนการจำนองให้ผู้ร้อง จึงถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยหรือการกระทำของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 146 และกรณีตามคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลก็ปรากฏว่ามีการขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองรายนี้โดยสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องที่ขอไว้กับผู้คัดค้านต่อไป เท่ากับว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 จึงชอบที่ศาลจะสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3845/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการจำนอง - ล้มละลาย - เจ้าหนี้ - มุ่งหมายให้ได้เปรียบ - มาตรา 115
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่มีผู้ขอชำระหนี้ต่อศาล แม้จะมีความเห็นควรให้ได้รับชำระหนี้ แต่ความเห็นของผู้คัดค้านนั้นไม่มีผลบังคับ เพราะศาลอาจพิจารณาวินิจฉัยและมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ฉะนั้น จึงย่อมไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้าน ต่อเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้อย่างไรแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153
ข้อฎีกาของผู้ร้องที่ว่า ตามคำสั่งของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยให้ธนาคาร ก. เป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อเป็นกรณีเดียวกับผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้แก้ไขความเห็นของผู้คัดค้านโดยให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. แต่เมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันแต่ผู้คัดค้านเห็นไม่สมควรเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าวและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก. ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 และมีคำขอให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองตามสัญญาจำนองที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก. และให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องต่อไปจึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินรายนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านแล้ว ผู้ร้องทั้งสองชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้
การเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เพียงแต่ลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสุจริตของเจ้าหนี้ผู้ถูกเพิกถอน
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2537 ธนาคาร ก. ได้ให้จำเลยกู้เงินโดยจำเลยจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 67669 และ 67670 ไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ของตนเองให้แก่ธนาคาร ก. แต่จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายในวันที่ 6 ตุลาคม 2537ธนาคาร ก. จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในขณะมีการจดทะเบียนจำนอง ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 การที่จำเลยนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไปทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้กับธนาคาร ก. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ย่อมจะทำให้ธนาคาร ก. เจ้าหนี้รายนี้แต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นการแสดงถึงเจตนาของจำเลยว่ามุ่งหมายให้ธนาคาร ก.ผู้รับจำนองได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ๆ
ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน ขอให้เพิกถอนการจำนองโดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 การที่ผู้คัดค้านนำสืบหักล้างเพียงว่าธนาคาร ก. และจำเลยไม่ได้เป็น เจ้าหนี้และลูกหนี้มาก่อน จึงไม่ขอเพิกถอนการจำนองให้ตามที่ผู้ร้องร้องขอนั้น เมื่อจำเลยกับธนาคาร ก. เป็นเจ้าหนี้และต้องด้วยเงื่อนไขที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้และผู้คัดค้านมีคำสั่งไม่ดำเนินการเพิกถอนการจำนองให้ผู้ร้อง จึงถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยหรือการกระทำของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146 และกรณีตามคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลก็ปรากฏว่ามีการขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองรายนี้โดยสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องที่ขอไว้กับผู้คัดค้านต่อไป เท่ากับว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146 จึงชอบที่ศาลจะสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4363/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการจำนองเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้อื่นในคดีล้มละลาย แม้สุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
ผู้คัดค้านยอมตกลงให้จำเลยที่ 2 กู้เงินโดยจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ของตนเองและหนี้เงินกู้ของ อ. ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาค้ำประกัน ซึ่งการจำนองเป็นสัญญาที่เอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ อันเป็นหนี้อุปกรณ์ของหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธาน จึงเป็นหนี้คนละส่วนแยกจากกันได้ และกรณีเป็นการจำนองเพื่อหนี้ในอนาคตตาม ป.พ.พ.มาตรา 707สัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับ อ.ได้เกิดขึ้นแล้วก่อนการจำนอง แม้ผู้คัดค้านยังไม่จ่ายเงินให้จำเลยที่ 2 หรือ อ.ตามสัญญากู้เงินจนกว่าจะได้จดทะเบียนจำนองก็ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะการจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 หรืออ.ก็เป็นผลมาจากตามสัญญากู้เงินที่มีต่อกัน โดยมีการจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันเท่านั้น ผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันอยู่ก่อนแล้วในขณะมีการจดทะเบียนจำนอง เมื่อจำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทมาจดทะเบียนจำนองไว้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115
การจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ มิใช่สัญญาต่างตอบแทน เพราะเป็นเพียงการเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันชำระหนี้ หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ ผู้คัดค้านจึงจะบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองภายหลัง ซึ่งเป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญากู้อันเป็นหนี้ประธาน และคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการจำนองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 แม้ผู้คัดค้านจะสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องมีนิติสัมพันธ์ก่อนการโอนทรัพย์สิน
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนหรือการกระทำในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำ และการโอนหรือการกระทำนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของลูกหนี้เสียเปรียบ ที่ว่าต้องเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำนั้นหมายความว่า เจ้าหนี้กับลูกหนี้นั้นมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนอันเป็นการก่อสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ต่อไปได้
ขณะที่ลูกหนี้ทำสัญญาค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วเงินของ ว. ต่อผู้คัดค้าน ว. ยังมิได้นำตั๋วเงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้าน หนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินจึงยังไม่เกิดขึ้น อันจะเป็นผลให้ผู้คัดค้านมีความผูกพันในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้นับแต่วันทำสัญญาค้ำประกัน การที่ลูกหนี้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกัน แล้ว ว. จึงนำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้านและรับเงินจากผู้คัดค้านไป จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่แล้วก่อนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท ผู้ร้องไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: พิจารณาช่วงเวลาการทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองเพื่อพิจารณาการเพิกถอนตามมาตรา 115
จำนองเป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งมีผลเมื่อมีการจดทะเบียนการจำนองที่พิพาทมีการทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองเมื่อวันที่17 กันยายน 2529 จึงเป็นการที่ลูกหนี้ผู้จำนองเอาที่พิพาทตราไว้แก่ผู้คัดค้านในวันดังกล่าว หาใช่ถือเอาวันที่ลูกหนี้และผู้คัดค้านไปแจ้งความจำนงขอจดทะเบียนจำนองที่พิพาทในวันที่ 1 สิงหาคม 2529ไม่ และไม่ว่าจะถือเอาวันแสดงความจำนงขอจดทะเบียนจำนองหรือวันที่จดทะเบียนจำนองดังกล่าวแล้ว นับถึงวันฟ้องคือวันขอให้ล้มละลายวันที่ 31 ตุลาคม 2529 ก็ยังอยู่ในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายเช่นกัน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้เพิกถอนการจำนองที่พิพาทให้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 115 ข้อที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าวันขอให้ล้มละลายคือวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น เมื่อผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นคัดค้านมาแต่ศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นประเด็นและไม่มีสาระควรแก่การยกขึ้นวินิจฉัย ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 115 ให้ผู้ร้องเพิกถอนการกระทำได้โดยอาศัยเพียงลูกหนี้ได้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น หาได้บัญญัติถึงความสุจริตและมีค่าตอบแทนของผู้ถูกเพิกถอนไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้อื่นในคดีล้มละลาย พิจารณาจากเจตนาและพฤติการณ์
จำนองเป็นสัญญาที่เอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้มีหนี้ประธาน คือหนี้เงินกู้ยืมที่ลูกหนี้รับไปในวันกู้ยืม ส่วนจำนองเป็นแต่เพียงอุปกรณ์แห่งหนี้เงินกู้ยืมซึ่งเป็นหนี้คนละส่วนที่แยกออกจากกันได้ เมื่อเจ้าหนี้ตกลงให้กู้และมอบเงินกู้ให้ลูกหนี้รับไป การกู้ยืมก็เกิดขึ้น เจ้าหนี้จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ หลังจากนั้นลูกหนี้ได้มอบอำนาจให้ ช. ไปทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ก่อนแล้วในขณะที่มีการทำสัญญาและจดทะเบียนจำนอง สัญญาจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 714 การจำนองที่ดินพิพาทจึงมีผลบังคับนับแต่วันที่มีการทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองกัน คือวันที่ 31 มกราคม 2527เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ขอให้ล้มละลาย ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2527การที่ลูกหนี้มอบอำนาจให้ ช. จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่เจ้าหนี้ จึงเป็นการกระทำใด ๆ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย และการที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ 134 ราย รวมเป็นเงินประมาณ99,000,000 บาท แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ 711,227.45 บาท ลูกหนี้จึงมีหนี้สินรวมกันมากกว่าจำนวนทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่หลายเท่าตัว ลูกหนี้ได้จำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันเงินกู้แก่เจ้าหนี้เป็นจำนวน500,000 บาท ก่อนที่ลูกหนี้จะถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเพียง 13 วันโดยไม่ปรากฏว่ากิจการของลูกหนี้กำลังรุ่งเรือง พฤติการณ์แห่งคดีแสดงว่าลูกหนี้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ดังนี้ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนการจำนองได้ตามพ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 115.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการกระทำที่เอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่งก่อนล้มละลาย
การที่จำเลยขอกู้ยืมเงินจากผู้คัดค้าน และผู้คัดค้านตกลงยินยอมให้กู้ เมื่อผู้คัดค้านมอบเงินที่กู้ให้จำเลยรับไป การกู้ยืมก็เกิดขึ้น ผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยในทันทีนั้นเอง หลังจากนั้นการที่จำเลยจำนองที่ดินพิพาทเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่ก่อนแล้วในขณะที่มีการทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 การจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันเงินกู้แก่ผู้คัดค้านมีผลบังคับนับแต่วันที่มีการทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันคือวันที่ 31 มกราคม 2527 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย วันที่13 กุมภาพันธ์ 2527 จำเลยมอบอำนาจให้ ช. ไปทำการจำนองดังกล่าวจึงเป็นการที่จำเลยกระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย และเมื่อจำเลยเป็นหนี้เจ้าหนี้ถึง 134 ราย รวมเป็นเงินประมาณ 99,000,000 บาท แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยได้เพียง 711,227.45 บาทจำเลยมีหนี้สินรวมกันมากกว่าจำนวนทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่หลายเท่าตัว จำเลยจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันเงินกู้แก่ผู้คัดค้านเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท ก่อนที่จำเลยจะถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเพียง 13 วัน ทั้งผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบว่ากิจการของจำเลยกำลังรุ่งเรืองแต่อย่างใด พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวแสดงว่า จำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 115