พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การเพิกถอนชื่อใน น.ส.3 ที่ไม่ถูกต้องกระทบสิทธิผู้ครอบครองจริง
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แปลงหนึ่งมี น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งไม่มีหนังสือเอกสารสิทธิ โดยได้มาจากการให้ต่างตอบแทนจาก ป. และจำเลยที่ 1เพื่อชำระหนี้เงินยืม โจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวตลอดมา เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครอง โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367ส่วนจำเลยที่ 1 ก็หมดสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวตามมาตรา 1378 การที่จำเลยที่ 1 ยังคงมีชื่อใน น.ส.3 มีผลให้จำเลยที่ 1 ยังได้รับคำรับรองของทางราชการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตาม ป.ที่ดินมาตรา 4 ทวิ และจำเลยที่ 1 ยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายในฐานะที่มีชื่อในทะเบียนที่ดินว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1373สิทธิของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับตามกฎหมายจึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์ตามความเป็นจริงโดยตรง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อของจำเลยที่ 1 ออกจาก น.ส.3 ได้ กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการโต้แย้งตัวทรัพย์ คือ ที่ดินที่ครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองตามน.ส.3 ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยกระทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจำเลยที่ 2ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวตาม น.ส.3 ซึ่งไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิครอบครองของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2543)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2543)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิและการเพิกถอนชื่อออกจาก น.ส.3
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แปลงหนึ่งมี น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งไม่มีหนังสือเอกสารสิทธิ โดยได้มาจากการให้ต่างตอบแทนจาก ป. และจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้เงินยืม โจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวตลอดมา เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครอง โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 ส่วนจำเลยที่ 1 ก็หมดสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวตามมาตรา 1378 การที่จำเลยที่ 1 ยังคงมีชื่อใน น.ส.3 มีผลให้จำเลยที่ 1 ยังได้รับคำรับรองของทางราชการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และจำเลยที่ 1 ยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายในฐานะที่มีชื่อในทะเบียนที่ดินว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373สิทธิของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับตามกฎหมายจึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์ตามความเป็นจริงโดยตรง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้อง ขอให้เพิกถอนชื่อของจำเลยที่ 1 ออกจาก น.ส.3 ได้ กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการโต้แย้งตัวทรัพย์ คือ ที่ดินที่ครอบครอง เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองตาม น.ส.3 ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยกระทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจำเลยที่ 2 ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวตาม น.ส.3 ซึ่งไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิครอบครองของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อออกจากโฉนดที่ดิน: สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน & อายุความ
คดีก่อนอัยการเป็นโจทก์ฟ้องเพื่อประโยชน์ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562อันเป็นการฟ้องแทนจำเลยซึ่งห้ามมิให้ฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นบุพการีคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรกที่พิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์เมื่อประเด็นพิพาทในคดีนี้มีเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเท่านั้นคดีก็ไม่ต้องสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยอีกต่อไป คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งแปลงแต่ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมแทนโจทก์ด้วยและขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ถือกรรมสิทธิ์รวมออกจากโฉนดจึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30และไม่พ้นอายุความห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240ซึ่งใช้เฉพาะสำหรับกรณีฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และการโต้แย้งสิทธิในที่ดินมรดก รวมถึงข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 แสดงให้เห็นว่า โจทก์ที่ 3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาท อันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้น หาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด
ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจาก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 3 และ ท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง นอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่ 3 เท่านั้น มิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน
ที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคน คดีจึงไม่ขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่า โจทก์ที่ 3 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังฎีกาอีกว่า ท.ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ที่ 1และที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่ 3 ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่ 3 และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดิน-พิพาท ฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 แล้ว โจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจาก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 3 และ ท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง นอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่ 3 เท่านั้น มิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน
ที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคน คดีจึงไม่ขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่า โจทก์ที่ 3 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังฎีกาอีกว่า ท.ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ที่ 1และที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่ 3 ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่ 3 และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดิน-พิพาท ฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 แล้ว โจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อจากน.ส.3ก. กรณีสิทธิร่วม และการยกคำขอเนื่องจากฎีกาต้องห้าม
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค1แสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาทอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้นหาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจากน.ส.3ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าโจทก์ที่3และท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่งกรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท.ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามแต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่1และที่2เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่3ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องนอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ.ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้แต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่3เท่านั้นมิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่1และที่2ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน ที่โจทก์ที่1และที่2ฎีกาว่าโจทก์ที่3ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคนคดีจึงไม่ขาดอายุความนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่3ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่าโจทก์ที่3ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่1และที่2ยังฎีกาอีกว่า ท. ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกันปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งดังนั้นโจทก์ที่1และที่2จึงต้องห้ามฎีกา ที่จำเลยฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่3ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใดๆแก่โจทก์ที่3และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคหนึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่1และที่2ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท. ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่พ.ศ.2519แล้วโจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด1ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองนั้นปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้องเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดิน แม้คำสั่งศาลถึงที่สุดแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้
ฟ้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินยุติการจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน หากจดแก้ไขแล้วให้ทำการให้กลับคืนสภาพเดิม มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่า หากมีการแก้ไขชื่อจากบุคคลอื่นในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยก็ขอให้ศาลเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดิน เมื่อปรากฏว่าได้มีการแก้ไขชื่อในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยแล้ว ศาลจึงพิพากษาให้เพิกถอนชื่อของจำเลยออกจากโฉนดที่ดินได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือที่ปรากฏในคำฟ้อง แม้ศาลมีคำสั่งว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีก็มีสิทธิที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ฎีกาขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นได้ถูกศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับไปแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232-3233/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยได้กรรมสิทธิ์แต่ไม่สามารถขอให้เพิกถอนชื่อโจทก์จากโฉนดได้
จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จะขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจัดการเพิกถอนชื่อโจทก์แล้วใส่ชื่อจำเลยหาได้ไม่เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9592/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อผู้เสียชีวิตออกจากบัญชีบุคคลที่ถูกกำหนดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า "ให้สำนักงานทบทวนรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตามวรรคหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนรายชื่อผู้นั้นออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ซ. ซึ่งเป็นผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดถึงแก่ความตาย สภาพบุคคลของ ซ. ย่อมสิ้นไปไม่อาจเกี่ยวข้องทางกายภาพกับกิจกรรมการก่อการร้ายหรือสนับสนุนแก่การก่อการร้ายได้ต่อไปอีก ถือได้ว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ผู้ร้องมีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนชื่อ ซ. ออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9591/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดจากบัญชีดำผู้ก่อการร้ายเมื่อเสียชีวิต พฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า "ให้สำนักงานทบทวนรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตามวรรคหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนรายชื่อผู้นั้นออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด" การที่ ม. ซึ่งเป็นผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดถึงแก่ความตายย่อมทำให้พฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายของ ม. หมดสิ้นไป จึงเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายของบุคคลที่ถูกกำหนดเปลี่ยนแปลงไป ศาลย่อมมีคำสั่งให้เพิกถอนชื่อ ม. ออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9590/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดจากบัญชีดำก่อการร้ายหลังเสียชีวิต พฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ใดมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย หรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือดำเนินการแทนหรือตามคำสั่งหรือภายใต้การควบคุมของบุคคลนั้น ให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาส่งรายชื่อผู้นั้นให้พนักงานคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาส่งรายชื่อผู้นั้นให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องฝ่ายเดียว ขอให้ศาลมีคำสั่งเป็นบุคคลที่ถูกกำหนด และถ้าปรากฏแก่ศาลว่ามีพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ดังต่อไปนี้ ให้ศาลมีคำสั่งตามที่ขอ
(1) ผู้นั้นมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย หรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือ
(2) ผู้นั้นดำเนินการแทนหรือตามคำสั่งหรือภายใต้การควบคุมของบุคคลที่ถูกกำหนดตาม (1) หรือตามมาตรา 4
ให้สำนักงานทบทวนรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตามวรรคหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนรายชื่อผู้นั้นออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด
ตามบทบัญญัติวรรคสองดังกล่าว เห็นได้ว่า ถ้าพฤติการณ์ของบุคคลที่ถูกกำหนดตามวรรคหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรมมีอำนาจพิจารณาส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนรายชื่อผู้นั้นออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดได้ สำหรับคดีนี้ ป. ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลที่ถูกกำหนด เนื่องจากมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายโดยร่วมอยู่ในขบวนการก่อการร้ายจนศาลออกหมายจับไว้หลายคดี การที่ ป.ถึงแก่ความตาย ย่อมทำให้พฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายของ ป. หมดสิ้นไป จึงเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายของบุคคลที่ถูกกำหนดเปลี่ยนแปลงไปตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง ศาลย่อมมีคำสั่งเพิกถอนชื่อ ป. ออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด
(1) ผู้นั้นมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย หรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือ
(2) ผู้นั้นดำเนินการแทนหรือตามคำสั่งหรือภายใต้การควบคุมของบุคคลที่ถูกกำหนดตาม (1) หรือตามมาตรา 4
ให้สำนักงานทบทวนรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตามวรรคหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนรายชื่อผู้นั้นออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด
ตามบทบัญญัติวรรคสองดังกล่าว เห็นได้ว่า ถ้าพฤติการณ์ของบุคคลที่ถูกกำหนดตามวรรคหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรมมีอำนาจพิจารณาส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนรายชื่อผู้นั้นออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดได้ สำหรับคดีนี้ ป. ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลที่ถูกกำหนด เนื่องจากมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายโดยร่วมอยู่ในขบวนการก่อการร้ายจนศาลออกหมายจับไว้หลายคดี การที่ ป.ถึงแก่ความตาย ย่อมทำให้พฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายของ ป. หมดสิ้นไป จึงเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายของบุคคลที่ถูกกำหนดเปลี่ยนแปลงไปตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง ศาลย่อมมีคำสั่งเพิกถอนชื่อ ป. ออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด